Loiasis
 
เป็นโรค ที่เกิดจาก พยาธิตัวกลม filaria ที่มีชื่อว่า Loa Loa (African eye worm) พบได้ ทางตะวันตก และ ตอนกลาง ของทวีปอัฟริกา บริเวณป่า ที่มี ฝนตกชุก ตลอดปี ตั้งแต่ ตะวันออก ของอ่าว กินี ไปจน จรด ตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศ ซูดาน และ ตะวันตก ของประเทศ อูแกนด้า คน และ ลิง baboons เป็น definitive hosts โดยมี พาหะนำเชื้อ ได้แก่ แมลงชนิด mango flies ใน genus Chrysops แมลง เหล่านี้ จะปล่อย ตัวอ่อน ระยะติดต่อ microfilaria เข้าสู่ กระแสโลหิต เมื่อมัน มากัด คน หรือ สัตว์ ตัวอ่อน เหล่านี้ เจริญเป็น ตัวแก่ ใช้เวลา นานเป็นปี และ ตรวจพบใน กระแสโลหิตไ ด้ในเวลา กลางวัน ส่วนเวลา กลางคืน พบอยู่ใน หลอดเลือดฝอย ของปอด หรือ อวัยวะอื่นๆ

อาการทางคลีนิค ผู้ป่วย ส่วนมาก ไม่มี อาการ ใดๆเลย แม้ติดเชื้อ นี้ใน ร่างกาย ขณ ะตัวแก่ เคลื่อนที่ ไปตาม เยื่อบุตา (conjunctiva) หรือ ตามผิวหนัง ผู้ป่วย จะเกิด ความรู้สึก มีการเคลื่อนที่ ใน ลูกตา แต่ไม่ปวด หรื อถ้ามีอากา รจะพบมี การปวด บวม และ คันของ หนังตา และ ผิวหนัง โดยเฉพาะ บริเวณ ข้อมือ และ ข้อเท้า ส่วมมาก พบเป็น ก้อน บวม ร้อน ไม่เจ็บ เรียกว่า calabar เป็น angioedema ของผิวหนัง มีขนาด เท่าไข่ไก่ และ เป็นๆหายๆ ผู้ป่วย บางราย มีไข้ และชา ตามเส้นประสาท บ้างเป็น ลมพิษ หรือ มีการชัก แบบ jacksonian epilepsy ส่วนมาก พบ eosinophils และ IgE สูงในเลือด

พยาธิสภาพ ตัวแก่ของพยาธิชนิดนี้สามารถพบเห็นและดึงออกมาได้ตามผิวหนังและ subcutaneous tissue ในที่ต่างๆของร่างกาย เช่น ที่ตา หนังศีรษะ นิ้วมือ และถุงไส้เลื่อน เป็นต้น ขณะที่ตัวพยาธิกำลังไชไปตามเนื้อเยื่อไม่ทำให้เกิดการอักเสบ ต่อเมื่อตัวพยาธิตาย บริเวณนั้นจะเกิดการอักเสบเป็นหนอง และต่อมากลายเป็นการอักเสบชนิด granulomatous และเกิด fibrosis ในระยะหลัง

บริเวณผิวหนังอาจพบตัว microfilaria ในหลอดเลือดฝอย โดยเฉพาะบริเวณรอบๆต่อมเหงื่อ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังเฉพาะที่ และมี fibrosis ร่วมด้วย

นอกจากนี้อาจพบ Microfilaria ในน้ำไขสันหลังได้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรค meningo-encephalitis พยาธิสภาพในเนื้อสมองจะพบตัว microfilaria อยู่ในหลอดเลือดฝอย

ในอวัยวะอื่นๆ เช่น หัวใจ ม้าม glomeruli,retina พบการอักเสบเป็นหย่อม ๆ ได้

การวินิจฉัยโรค โดยการตรวจพบ microfilaria ชนิด L.loa ในเลือดเวลากลางวัน และบ่อยครั้งที่วินิจฉัยโดยการพบตัวแก่ในลูกตาและผิวหนัง การตรวจหาตัวอ่อนและตัวแก่จากชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาพบได้ค่อนข้างลำบาก การทำ skin test หรือ complement fixation test อาจให้ผลบวกข้ามกับพยาธิ filaria ตัวอื่นๆได้มาก