Giardiasis

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อปาราสิตชนิด Giardia lambia เชื้อปาราสิตนี้พบได้ทั่วไปในโลก โดยเฉพาะ ประเทศที่อยู่ ในเขตร้อน และพบใน เด็กเป็นส่วนมาก มักพบ ระบาดเป็นครั้งคราว ในหมู่ เด็กเล็ก หรือในกลุ่ม เด็กนักเรียน บางครั้งพบ ระบาดในหมู่ นักท่องเที่ยว และปัจจุบัน พบระบาดมาก ขึ้นในกลุ่ม รักร่วมเพศและ ผู้ป่วยที่มี ภูมิคุ้มกันต่ำ (hypogammaglobulinemia) และผู้ป่วยที่มี พยาธิสภาพของ ลำไส้แบบ nodular lymphoid hyperplasia เชื้อปาราสิต ชนิดนี้มีรูปร่าง 2 แบบ คือ trophozoite และ cyst ซึ่งระยะ cyst นี้ สามารถทน ต่อภาวะ การเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิและ ความเป็น กรดด่าง ของสิ่งแวดล้อม ที่มันอาศัยอยู่ ตรวจพบระยะ cyst ได้ใน อุจจระของ ผู้ป่วยและ คนปกติทั่วไป บางคนเชื่อว่า ปาราสิตชนิด นี้ไม่ทำให้ เกิดโรคใน คน จากการ สังเกตุพบว่า ผู้ป่วยที่ตรวจ พบเชื้อปาราสิต ชนิดนี้ เมื่อได้รับ ยาฆ่าเชื้อจน ไม่พบเชื้อใน อุจจระแล้ว อาการต่างๆ ที่ปรากฎก็หายไป

วงจรชีวิตและการติดเชื้อ เกิดจาก ผู้ป่วยทาน อาหารหรือ น้ำดื่มที่มี เชื้อระยะ cyst ปะปนเข้าไปใน ทางเดินอาหาร จากนั้น trophozoites จะออกจาก cyst มาอาศัย อยู่ในลำไส้เล็ก ตอนต้น โดยเฉพาะที่ crypts ของเยื่อบุผนังลำไส้ บริเวณ duodenum และ jejunum บริเวณส่วนอื่น ของลำไส้เล็ก ก็พบ ได้เช่นกัน เชื้อระยะ Trophozoites เพิ่มจำนวน และขยายพันธุ์ โดยการแบ่งตัว ในลำไส้ และปะปน ออกมา กับอุจจระ พร้อมระยะ cyst มากน้อย ขึ้นกับอาการ ของโรค นอกจากนี้ยังพบ trophozoites ได้ที่ common bile duct และ ถุงน้ำดี (gall bladder) โดยเฉพาะ ภายในน้ำดี ได้มีผู้ตรวจ พบเชื้อ Giardia lambia ปะปนอยู่มาก และเชื่อว่า น้ำดีเป็นตัว ช่วยในการ เจริญเติบโต ของปาราสิต ชนิดนี้ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า ถุงน้ำดี ท่อทางเดินน้ำดี และเยื่อบุผิวบริเวณ crypts ของลำไส้เล็กตอนต้น เป็นที่อยู่ ประจำ ของปาราสิต ชนิดนี้ นอกจากคนแล้ว สัตว์เลี้ยงเช่น สุนัชและแมว พบเชื้อปาราสิตชนิดนี้ได้ และสามารถ ติดเชื้อ มาสู่คน การติดเชื้อ ระหว่างคนกับคน โดยเชื้อปะปน มาในอาหาร และน้ำดื่มแล้ว ยังมีรายงาน การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในหมู่รักร่วมเพศ

อาการทางคลินิก อาการที่เกิด กับเด็ก ย่อมแตกต่าง ไปจากผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับ การเจริญเติบโต ผู้ป่วยจะมี อาการปวดท้อง ในเด็กเล็ก อาการปวดท้อง มักแตกต่างกันไป อาจรู้สึก ปวดท้อง เล็กน้อย บริเวณ ยอดอก จนถึงปวดบิด (colic) บางครั้ง เกิดปวดทันที หลังทานอาหาร บางคน อาจกดเจ็บ บริเวณ ท้องพร้อมกับ มีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียรร่วมด้วย

สำหรับอาการ ท้องร่วง มักเป็นครั้งคราว หรือสลับกับ ท้องผูก ได้บ่อยๆ โดยทั่วไป อุจจระมี กลิ่มเหม็น และเหลว บางคนอาจ ถ่ายอุจจระมี มูกปนหรือ มีเลือดปนเล็กน้อย บางคน ท้องร่วงมาก อุจจระมี ไขมันเกินปกติ (steatorrhea หรือ fatty diarrhea) ใน ผู้ป่วยเด็ก อาจทำให้ การดูดซึมอาหาร ผ่านลำไส้ไม่ดี โดยเฉพาะ D-xylose เกิดภาวะทุโภชนาการ (malnutrition) มีอาการซีด โลหิตจาง น้ำหนักลด ทำให้มี การเจริญเติบโตช้า
บางรายอาจมีแค่ อาการตัวเหลือง และมีโรคถุงน้ำดี หรือท่อน้ำดีอักเสบ บางคนมี อาการเพียงรู้สึก ท้องอืด ท้องแน่น หรือมีเสียง ครืดคราด ในท้องเท่านั้น และบางคน มาด้วยอาการ คลื่นไส้ อาเจียร เพียงอย่างเดียว เมื่อรักษาด้วยยา อาการ ดังกล่าว ก็หายไป ผู้ป่วยเหล่านี้ พบว่าภูมิต้านทาน ชนิด IgA มักจะ ต่ำกว่าปกติ และสูงขึ้น เมื่อโรคหาย และพบ ภูมิต้านทาน ชนิด IgG ต่อเชื้อ G.lambia ขึ้นสูง แต่ไม่มีผล ในด้านการป้องกัน การเกิดระยะ ติดเชื้อเรื้อรัง

พยาธิสภาพ ของโรค giardiasis ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงใน villi ของเยื่อบุผิว ลำไส้เล็ก ซึ่งอาจมี การเปลี่ยนแปลง น้อยมาก จนถึง การเปลี่ยนแปลง ที่มีการ หดสั้นลง และหนาขึ้น ของ villi พร้อมกับ พบ เซลล์อักเสบ ชนิด neutrophils และ eosinophils เชื้อระยะ Trophozoites พบได้ในบริเวณ ที่มีการอักเสบ เหล่านี้ พยาธิสภาพ เช่นนี้ทำให้ การดูดซึมอาหาร ผ่านทางเยื่อบุผนัง ลำไส้เป็นไป ด้วยความลำบาก เกิดภาวะ ที่เรียกว่า malabsorption บางราย (41-47%) พบพยาธิสภาพ ในลำไส้ซึ่ง เป็นผลตามมา คือ nodular lymphoid hyperplasia

การวินิจฉัย โดยการตรวจหา cyst จากอุจจระของผู้ป่วย ในรายที่ ท้องร่วงอย่าง รุนแรงจะพบ trophozoite ในอุจจระได้ นอกจากนี้ สามารถตรวจหา เชื้อจากน้ำย่อย ในลำไส้เล็กส่วนต้น ที่ได้จากการ ใช้สายยางสวน หรือ ตรวจหาจาก น้ำดี การขูดผิวผนัง สำไส้โดยใช้ กล้องส่องลำไส้เล็ก เพื่อตรวจหา ทางเซลล์วิทยา หรือ ตัดชิ้นเนื้อผนัง ลำไส้เล็ก เพื่อตรวจหา พยาธิสภาพ และเชื้อด้วย กล้องจุลทรรศน์ นอกจากนี้ การตรวจทาง อิมมูนวิทยา เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ใช้ช่วยใน การวินิจฉัยเช่น วิธี indirect fluorescent antibody (IFA), enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) เป็นต้น