โรคที่เกิดจากพยาธิใบไม้ในลำไส้ (Intestinal flukes)

Fasciolopsiasis
 
ส่วนมาก เกิดจาก พยาธิ Fasciolopsis buski ตัวแก่ อาศัย อยู่ใน ลำไส้ส่วนต้น ของ คน สุนัข และหมู ถือเป็น พยาธิ ที่มี ขนาดใหญ่ ตัวหนึ่ง ในทางเดินอาหาร ของคน บางตัว อาจมี ขนาดยาว ถึง 7 เซนติเมตร โรคนี้ พบได้ใน ประเทศแถบ เอเซียตะวันออก โดยเฉพาะ ภาคตะวันออก ของ จีน และ ในบางท้องที่ ใน ไต้หวัน เวียตนาม บังคลาเทศ และไทย เป็นต้น ทำให้เกิด การอักเสบ เรื้อรัง ในลำไส้เล็ก อาการมี มากน้อย ขึ้นกับ ปริมาณ ของการติดเชื้อ บางราย อาจถึง ตายได้

 
ประเทศไทย มีรายงาน พบผู้ป่วย ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2484 (ค.ศ.1941) ที่อำเภอ บางขุนศรี ธนบุรี เนื่องจาก ประชากร ในแถบนี้ นิยมปลูก และกิน กระจับ กันเป็น ส่วนใหญ่ ต่อมา พบว่า แหล่งระบาด ของโรค พบที่บริเวณ ภาคกลาง ของประเทศ เช่น ธนบุรี อยุธยา อ่างทอง นครปฐม และสุพรรณบุรี ในท้องที่ เหล่านี้มี พืชน้ำ ที่เป็น แหล่งอาศัย ของตัวอ่อน ของพยาธิ ใบไม้ในสำไส้ ได้แก่ กระจับ สายบัว ผักบุ้ง ผักแว่น และ ผักตบชวา เป็นต้น มี หมูและคน เป็นแหล่ง เก็บเชื้อ ที่สำคัญ

วงจรชีวิต ไข่หลุด ปะปน ออกมา กับ อุจจาระ ของ definitive host เมื่ออยู่ใน น้ำจืด ที่ไหลนิ่ง ตัวอ่อน ระยะ miracidia เจริญ ออกมาจาก ไข่ และ ว่ายไป ตามน้ำ เข้าไป อาศัย อยู่ใน หอย ภายใน หอย ตัวอ่อน เจริญเติบโต ต่อไป เป็นตัวอ่อน ระยะต่างๆ จนได ้ตัวอ่อน ระยะ cercariae ตัวอ่อน เหล่านี้ ว่าย ออกจาก ตัวหอย มาเกาะ เป็นซิส ติดตาม พืชน้ำ ต่างๆ เจริญ เติบโต ต่อไป จนได้ ตัวอ่อน ระยะติดต่อ metacercariae จากนั้น พวก definitive host มาทาน พืชน้ำ ที่มี metacercariae เกาะอยู่ เข้าไปใน ลำไส้ส่วนต้น ตัวอ่อน metacercariae ออกจาก ซิส และไป เกาะติด เยื่อบุ ลำไส้ส่วนต้น แถว duodenum และ เจริญ เป็นตัวแก่ ต่อไป ครบวงจรชีวิต

การติดต่อ ผู้ป่วย ติดเชื้อ นี้ได ้โดยทาน พืชน้ำ ที่มี metacercariaeเข้าไปใน ลำไส้ และ เจริญเติบโต เป็น ตัวแก่ ในลำไส้เล็ก ตอนต้น ตัวแก่ จะฝังตัว อยู่ที่ เยื่อบุ ผนังลำไส้

อาการทางคลีนิค อาการ ที่มัก พบร่วม ด้วยเสมอ คือ แน่น อึดอัด ในท้อง ปวดท้อง และ ท้องเสีย ในเด็กเล็ก มักมี โลหิตจาง มีน้ำ ในช่องท้อง และ บวมทั่วตัว ในราย ที่มี การติดเชื้อ เป็นจำนวนมาก จะทำให้ เกิด อาการ อาเจียน พร้อมกับ ถ่าย ได้ตัวพยาธิ ออกมา พร้อมกัน และ ถึงกับ เสียชีวิต ได้ บางรายงาน พบว่า ผู้ป่วน มีระดับ Vitamin B12 ในเลือดต่ำ

พยาธิสภาพ โดยทั่วไป พบเป็น แผล และ มีการอักเสบ บริเวณแผล พร้อมกับมี จุดเลือดออก ทั่วไป ที่ผนัง ลำไส้เล็ก โดยเฉพาะ บริเวณ duodenum และ jejunum ในรายที่มี การติดเชื้อ เป็นจำนวนมาก อาจพบ ลำไส้ โป่งพอง และเป็น ฝี (abscesses) เล็กๆ ใต้ชั้นเยื่อ บุผนัง ลำไส้ และพบ ตัวพยาธิ ในลำไส้ใหญ่ ได้ นอกจากนี้ อาจพบ บวม ตามใบหน้า เนื่องจาก การดูดซึม เอาสารพิษ หรือ allergic metabodites เข้าสู่ กระแสโลหิต นอกจากนี้ ยังพบว่า เซลล์ตับพบ degeneration และ fat vacuole ใน cytoplasm

การวินิจฉัยโรค โดยการตรวจพบ ไข่พยาธิ ในอุจจาระ