Fascioliasis
 
เกิดจาก พยาธิใบไม้ ชนิด Fasciolar hepatica ส่วนมาก พบใน สัตว์เลี้ยง พวก วัว ควาย และ แกะ ซึ่งเป็น definitive host ส่วน คน เป็น accidental host

วงจรชีวิต ตัวแก่ อาศัย อยู่ใน ท่อน้ำดี ขนาดใหญ่ ของสัตว์จำพวก วัว ควาย วางไข่ (operculated ova) ปะปน ออกมากับ อุจจาระ เมื่ออยู่ใน น้ำ ไข่จะ เจริญต่อไป เป็น ตัวอ่อน ระยะ miracidium ตัวอ่อน เหล่านี้ ว่ายในน้ำ เข้าไป อาศัย อยู่ใน หอยน้ำจืด (snail) และ เจริญ เป็น ตัวอ่อน ระยะ cercariae ระยะนี้ ตัวอ่อน ว่าย ออกจาก หอย ไปเกาะติด กับ พืชน้ำ บางชนิด และ สร้าง ซิส หุ้มตัวเอง เจริญต่อไป เป็น ตัวอ่อน ระยะ ติดต่อ metacercariae ต่อไป จนสัตว์เลิ้ยง พวก วัว ควาย มากิน พืชน้ำ เหล่านี้ เข้าไปใน ทางเดินอาหาร ตัวอ่อน metacercariae จะออกจาก ซิส และ ไชผ่าน ผนังลำไส้ เข้าสู่ ช่องท้อง ไปที่ ตับ และ เจริญเป็น ตัวแก่ ที่ท่อน้ำดี ต่อไป

การติดต่อ โดย ผู้ป่วย กิน พืชน้ำ บางชนิด อย่างดิบๆ หรือ ดื่มน้ำ ที่มี ตัวอ่อน ระยะ metacercaria เข้าไปใน ลำไส้ บริเวณ duodenum จากนั้น ตัวอ่อน ไชทะลุ ผ่านผนัง ลำไส้ เข้าสู่ ช่องท้อง และ ไปที่ตับ โดย ไชผ่าน Glisson's capsule ตัวอ่อน ฝังตัว อยู่ใน ท่อน้ำดี และเจริญเติบโต เป็น ตัวแก่ต่อไป

อาการทางคลีนิค ผู้ป่วย ด้วยโรคนี้ โดยมาก มี eosinophils ในเลือดสูง ส่วนมาก มี อาการ ปวดท้อง บริเวณใต้ ชายโครงขวา ตับ ม้าม และ ต่อมน้ำเหลือง โต หรือมี ก้อนอักเสบ ในท้อง พร้อมกับ ตัวพยาธิ ตัวพยาธิ อาจทำให้ เกิดการอุดตัน ของท่อน้ำดี (common bile duct) หรือ ไชไปที่ ถุน้ำดี ทำให ้เกิดอาการ ของถุงน้ำดี หรือ ท่อน้ำดี อักเสบเรื้อรัง อาจพบ การตกเลือด ใต้ชั้น เยื่อหุ้มตับ หรือ พบร่วมกับ hydatid cyst และ ฝีในตับ บางครั้ง ตัวอ่อน ไม่ไช ไปที่ตับ อาจเดิน เพ่นพ่าน ไปตาม อวัยวะอื่นๆ เช่น พบเป็นก้อน ใต้ผิวหนัง อาจเคลื่อนที่ ได้ พบที่ สมอง ลำไส้ใหญ่(cecum) หัวใจ กะเพาะ ไส้ติ่ง หลอดลมเล็กในปอด และ ตับอ่อน เป็นต้น

พยาธิสภาพ นอกจาก จะพบ ตัวแก่ ของพยาธิแล้ว เยื่อบุท่อน้ำดี มีการ เพิ่มจำนวน มากขึ้น (hyperplasia) และ รอบๆ ท่อน้ำดี มีเซลล์อักเสบ eosinophils, lymphocytes และ plasma cells หรือ อาจพบ มี fibrosis ร่วมด้วย โรคตับแข็ง มักไม่พบ ร่วมกับ การติดเชื้อ พยาธิชนิดนี้

การวินิจฉัยโรค โดยการตรวจหา ไข่ ของพยาธิ ชนิดนี้ จากอุจจาระหรือ duodenal content หรือ โดยการตรวจ ทางปฎิกิริยาน้ำเหลือง เช่น hemagglutination test, complement fixation test, และ enzyme-linked immunosorbent assay เป็นต้น นอกจากนี้ การมอง จากภาพรังสี ชนิด computerized tomography หรือ ส่องกล้อง ผ่านลำไส้ เข้าไปใน ท่อน้ำดี เพื่อช่วยใน การวินิจฉัยโรค