โรคพยาธิเส้นด้าย
Enterobiasis (oxyuriasis)
 
เป็นโรค ที่เกิดจาก พยาธิตัวกลม มีชื่อว่า Enterobius vermicularis หรือ ครั้งหนึ่ง เคยเรียกว่า Oxyuris vermicularis (pin worm หรือ thread worm) หรือ ชาวบ้าน เรียกว่า พยาธิเข็มหมุด หรือ เส้นด้าย เป็นพยาธิ ที่อาศัย อยู่ในลำไส้ คน โรคนี้พบ ได้ทั่วไป โดยมาก ติดต่อ กันในหมู่ คนที่ทำงาน หรือ อาศัย อยู่ร่วมกัน เช่น ในครอบครัว สำนักงาน โรงเรียน หรือ หอพัก เป็นต้น มากกว่า ครึ่งของ เด็กนักเรียน (อายุ 4-12 ปี) ใน กรุงเทพมหานคร พบติดเชื้อ พยาธิ์เส้นด้าย (53.6 และ 53.27)

การติดเชื้อ-เกิดจากการกินไข่ของพยาธิชนิดนี้ที่ปะปนมากับอาหารหรือจากวัสดุของใช้ โดยติดมากับมือ ตัวอ่อน (larvae)ฟักตัวออกจากไข่ที่บริเวณลำไส้เล็กตอนต้น (duodenum) และเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวแก่เพศผู้และเพศเมีย โดยตัวแก่ใช้ส่วนปลาย (anterior end) เกาะติดกับเยื่อบุผนังลำไส้บริเวณ terminal ileum, cecum และ appendix ตัวผู้จะหายไปภายหลังจากการผสมไข่ ตัวเมียออกมาวางไข่บริเวณปากทวารหนัก (perianus) และไข่หลุดปะปนไปกับอุจจาระ หรือติดไปกับมือผู้ป่วย

อาการทางคลีนิค อาการสำคัญของผู้ป่วย คือ คันบริเวณปากทวารหนัก (puritus ani) โดยเฉพาะเวลากลางคืน เนื่องจากตัวเมียออกมาวางไข่บริเวณดังกล่าว

พยาธิสภาพ ปกติพบพยาธิ์ชนิดนี้ในลำไส้เท่านั้น พบนอกลำไส้น้อยมาก พยาธิสภาพที่เกิดกับลำไส้พบไม่ชัดเจน บางครั้งอาจพบเป็นแผลเล็กๆที่เยื่อบุผนังลำไส้ หรือพบร่วมกับไส้ติ่งอักเสบ(acute appendicitis) โดยพบตัวแก่หรือไข่อยู่ในรูไส้ติ่ง ส่วนจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบของไส้ติ่งด้วยนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ได้มีผู้พบตัวแก่จากไส้ติ่งอักเสบทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนังและฝังตัวอยู่ในแผลผ่าตัดหน้าท้องนานเป็นปี มีรายงานพบเป็นก้อนขนาดเล็กที่ผนังลำไส้ใหญ่ส่วน rectum ทำให้ปวดขณะอุจจระได้ นอกจากนี้ตัวแก่(เพศเมีย) ของ E vermicularis บางครั้งสามารถพบได้ที่ช่องคลอด มดลูก ปีกมดลูก หรือ รังไข่ของคน ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะเหล่านั้น ตลอดทางเดินของอวัยวะดังกล่าวเข้าใจว่าเป็นช่องทางเดินผ่านของตัวแก่เพศเมียเพื่อเข้าสู่เยื่อบุช่องท้อง และที่ภายในช่องท้องนี้รวมทั้งที่ผนังลำไส้อาจพบตัวแก่เพศผู้ได้ เนื่องจากไชทะลุผ่านผนังลำไส้ออกมา ทำให้เกิดช่องท้องอักเสบได้ นอกจากนี้ยังอาจพบตัวแก่ไชจากช่องคลอดเข้าไปในตัวเอมบริโอ(embryo)ของคนได้( การอักเสบที่ตับจากพยาธิ์ชนิดนี้พบได้แต่น้อย

พยาธิสภาพที่พบมักเป็นแบบ granulomatous inflammation ตรงกลางเป็นเศษเนื้อตาย ล้อมรอบด้วยเซลล์ epitheloid, giant cells และผลึก Charcot-Leyden รอบนอกพบเซลล์ eosinophils เป็นจำนวนมาก พร้อมกับพบตัวพยาธิ์ที่ตายหรือไข่พยาธิ์ปะปนในบริเวณที่อักเสบ นอกจากนี้พยาธิ์ E.vermicularis ยังเป็นตัวการทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินปัสสวะในเด็กผู้หญิงได้

การวินิจฉัยโรค โดยการตรวจพบไข่บริเวณปากทวารหนักหรืออุจจาระโดยการใช้กระดาษกาวติดรอบรูทวารหนัก และนำมาติดบนกระจกสไลด์(Cellulose tape slide preparation) ส่องหาไข่พยาธิ์เส้นด้ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ และจากการตรวจพบตัวแก่หรือไข่ในเนื้อเยื่อจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิ