Cysticercosis (โรคถุงพยาธิตืดหมู)
 
เป็นโรคที่เกิดจากตัวอ่อน (cysticerci) ของพยาธิตืดหมู (T. solium) ไปฝังตัวตามอวัยวะต่างๆของร่างกายคน ทำให้เกิดพยาธิสภาพต่ออวัยวะเหล่านั้น เช่น พบใน subcutaneous tissues ต่างๆ ตามกล้ามเนื้อ สมอง ลูกตา หัวใจ ตับ ปอด และเยื่อบุช่องท้องเป็นต้น

 
ในวงจรชีวิตของ T.solium ปกติระยะตัวอ่อน (cysticerci) จะเกิดใน หมู เท่านั้น แต่เนื่องจาก คุณสมบัติพิเศษ ของไข่ T. solium ที่สามารถ ฟักเป็นตัวอ่อน ได้ใน กระเพาะ หรือ ลำไส้เล็ก ของคน อาจเนื่องจาก การขย้อนกลับ ของไข่ ในกระเพาะ หรือ ลำไส้เล็ก หรือ ทานไข่ ที่ปะปน อยู่ใน อาหาร ตัวอ่อน (cysticerci) ไชทะลุ ผ่านผนัง ลำไส้เล็ก เข้าสู่ กระแสโลหิต และไป ยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

พยาธิสภาพ และอาการทางคลีนิค ในระยะแรก เมื่อ ตัวอ่อน (cysticerci) ยังมีชีวิต พบเป็นถุง บางใส สีขาว กลม ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง ราว 1 เซนติเมตร ภายในถุงพบน้ำใส สีขาวพร้อมกับ scolex ติดกับ ผนังของ ถุง รอบๆ บริเวณถุง มี เซลล์อักเสบ เพียงเล็กน้อย เมื่อตัวอ่อน ตาย เนื้อเยื่อ fibrous รอบๆ ถุงเพิ่ม มากขึ้น และมี เซลล์อักเสบ ชนิด neutrophils, eosinophils, lymphocytes, epitheloid cell และ giant cells เป็นจำนวน มากมาย มาล้อมรอบ ถุง cysticerci พร้อมกับ มี สารแคลเซี่ยม มาพอก ทำให้ สามารถ คลำพบเป็น ตุ่ม แข็ง ตามผิวหนัง หรือ เห็นได้จาก ภาพรังสี ของผู้ป่วย
 

สมอง เป็นอวัยวะ สำคัญที่พบ cysticerciได้บ่อย ผู้ป่วย อาจมี อาการ หรือ ไม่มีอาการ ทางสมอง ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่ง ของสมอง ที่ตัวอ่อนไปฝังตัวอยู่ เช่น อาจเกิดเป็น ก้อนในสมอง ทำให้เกิด อาการของ space-occupying lesion หรือ อุดทางไหลเวียน ของน้ำไขสันหลัง ทำให้เกิด พยาธิสภาพ hydrocephalus หรือ ผู้ป่วยอาจมา ด้วย อาการชัก ทางสมอง (epilepsy) นอกจากนั้น ตัวอ่อน (cysticerci) อาจพบใน เนื้อเยื่อของ ลูกตา ทำให้เกิด ตาอักเสบ หรือ พบภายใน ลูกตาได้ นอกจากนี้ อวัยวะอื่นๆ ที่มีรายงาน เช่น ไขสันหลัง ต่อมไทรอย และปีกมดลูก เป็นต้น

การวินิจฉัย: นอกจากการวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาแล้ว อาจใช้การวิเคราะห์ภาพจากรังสี เช่น CT scan หรือทำ angigrahph เป็นต้น หรือการตรวจทางปฎิกิริยาน้ำเหลือง เช่น indirect hemagglutination, complement fixation, indirect immunofluorescence และ enzyme-linked immunosorbent assay เป็นต้น