Cryptosporidiosis
 
เกิดจาก เชื้อปาราสิตที่ชื่อว่า cryptosporidium เป็น โปรโตซัว ชนิด coccidia ที่อาศัย อยู่ใน ลำไส้ ปกติ ก่อให้เกิด โรคท้องร่วง ในสัตว์ พบครั้งแรก ที่บริเวณ gastric crypts ของ เยื่อบุผิว ลำไส้หนู ต่อมา พบใน สัตว์อื่นด้วย โดยเฉพาะ สัตว์พวกกระดูกสันหลัง เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ แกะ ลิง พวกสัตว์ปีก เช่น นก ไก่ หรือ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู เป็นต้น สำหรับ ในคน มีรายงาน พบครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2519 ใน ผู้ป่วยเด็ก 1 ราย และใน ผู้ใหญ่ ที่มี ภาวะกดภูมิคุ้มกัน 1 ราย รายงาน การพบโรคนี้ มีไม่มากนัก เชื้อปาราสิต ตัวนี้ นับวันมี ความสำคัญ มากขึ้น เมื่อไม่นาน มานี้ มีรายงาน การติดเชื้อ และเป็นสาเหตุ ของโรค ท้องร่วง ในคน เพิ่มมากขึ้น ทั้งใน  คนที่มี ภูมิคุ้มกันปกติ และ ในคน ที่มี ภูมิคุ้มกันปกพร่อง เช่น โรคเอดส์ และใน ผู้ป่วย ที่ได้รับยา กดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น รายงาน ส่วนใหญ่พบ เกิดกับ เด็กเล็ก มากกว่า ผู้ใหญ่ โดยเฉพาะใน สถานเลี้ยงเด็ก

 
ประเทศไทย ได้มี การตรวจพบ โรคนี้ จากการ ตัดชิ้นเนื้อ เยื่อบุผิวใน ลำไส้เล็ก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 แต่ไม่ได้ รายงาน ในวารสาร ทางการแพทย์ จนกระทั้ง ในปี พ.ศ. 2528 ได้มี รายงาน เชื้อนี้ใน ผู้ป่วยโรค AIDS ที่มี อาการ ท้องเดิน เป็น ชาวต่างชาติ ในไทย และ ในปีต่อมา ได้มี รายงาน รวบรวมผู้ป่วย โรคนี้ใน วารสารทางการแพทย์ พบการเกิด โรคนี้ได้ใน เด็ก และ ผู้ใหญ่

วงจรชีวิต: เชื้อปาราสิตชนิดนี้อาศัยอยู่ใน host ได้หลายชนิดรวมทั้งคนด้วย มันสามารถมีวงจรชีวิตครบภายใน host ชนิดเดียวนั้น คนและสัตว์ติดเชื้อได้โดยทาน oocysts ซี่งปะปนมากับอุจจระของคนหรือสัตว์ เข้าไปในลำไส้ oocyst มีรูปร่างกลม ขนาดเล็กประมาณ 2-4 ไมครอน ภายในมี 4 sporozoites เชื่อว่า sporozoites แต่ละตัว เกาะติด อยู่กับ เยื่อบุผิว ภายใน lumen ของลำไส้ บริเวณ brush-border ตรงส่วนบน ของเซลล์ เยื่อบุผิว บางคน เชื่อว่า มีการอาศัย อยู่ภายในเซลล์ ของเยื่อบุผิว ด้วย เชื้อระยะนี้ แบ่งตัว และเจริญเติบโต เป็น trophozoites จากระยะ trophozoites มี การเจริญเติบโต ต่อไปเป็น ระยะ ไม่อาศัยเพศ (schizonts) และระยะ อาศัยเพศ (gametocytes) สำหรับ ระยะ gametocytes จะสร้าง oocysts ปะปน ออกมา กับอุจจระของ คน และสัตว์ หรือจาก oocysts นี้ ฟักออกมา เป็น sporozoites และ ติดเชื้อ กลับไปที่ ผนังลำไส้อีก

การติดต่อ: ส่วนมาก เชื่อว่า เชื้อระยะ ติดต่อ oocyst ผ่านจาก สัตว์มาสู่ คน แต่อาจมี การแพร่กระจาย จากคน สู่คน ได้ โดยผ่าน ทางปาก ทางเลือด หรือ ทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

อาการทางคลีนิค: ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการอะไร ส่วนมากมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำอย่างรุนแรง มีคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และปวดท้อง อาการดังกล่าวอาจหายเองได้ แต่บางรายอาจถึงตายก็มี

พยาธิสภาพ: สำหรับพยาธิสภาพของลำไส้เล็กเมื่อตรวจทางกล้องจุลทรรศน์พบแบบเดียวกับที่พบใน Isosporiasis ผิดกันตรงลักษณะของเชื้อปาราสิตที่พบ สำหรับ Cryptosporidiosis นั้นพบเชื้อมีขนาดกลมเล็กขนาดประมาณ 2-4 ไมครอนที่บริเวณ brush-border ของเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ ทั้งระยะ trophozoites schizonts gametocytes และ oocysts

การวินิจฉัย: โดยการตัด ชิ้นเนื้อ เยื่อบุผิว ลำไส้ ดูลักษณะ ทางพยาธิวิทยา และพบ เชื้อระยะต่างๆ ที่ brush-border ของ เซลล์เยื่อบุผิว ส่วนมาก อาศัยการตรวจหา oocyst ในอุจจระ ผู้ป่วย โดยการย้อม ด้วย ไอโอดีน Giemsa, Modified cold Kinyoun acid fast(MCK), Rapid dimethyl sulfoxide modified acid fast (DMSO), Modified Koster(MK), Safraninmethylene blue (S-MB) และ modified Ziehl-Neelsen acid fast(MZN) techniques. เป็นต้น นอกจากนี้ ยังใช้ การตรวจทาง ปฎิกิริยาน้ำเหลือง (serology) เช่น indirect immunofluorecent test หรือใช้ enzyme immunoassay เป็นต้น