Balantidiasis
(Balantidosis, balantidial dysentery หรือ ciliary dysentery)
เชื้อปาราสิต ที่ทำให้เกิดโรค นี้มีชื่อว่า Balantidium coli เป็น โปรโตซัว(protozoa) ชนิดหนึ่ง ใน ธรรมชาติ มีวงจรชีวิต 2 ระยะ คือ ระยะ trophozoite และ ระยะ cyst นับว่าเป็น เชื้อโปรโตซัว ที่มีระยะ trophozoite ในคน ที่ใหญ่ที่สุด เชื้อปาราสิต ชนิดนี้พบ ได้ตามที่ ต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะ ภูมิประเทศ ที่มีอากาศร้อนชื้น ปกติตัว Balantidium coli พบได้ใน หมู, ลิง และหนู เฉพาะใน หมูพบว่า มี การติดเชื้อ ถึงร้อยละ 65 มีรายงาน ทำให้เกิด ท้องร่วง (dysentery) ในคน ค่อนข้างน้อย ส่วนมาก พบใน กลุ่ม ประชากร ที่มี สุขอนามัยไม่สมบูรณ์
ประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2468 ถึงพ.ศ. 2471 ที่จังหวัดเชียงใหม่ นายแพทย์ Cort ได้ทำการตรวจ อุจจระของ ผู้ป่วย 8,000 ราย พบเชื้อปาราสิต ชนิดนี้เพียง 14 ราย(0.175%) เฉพาะภายใน 3 เดือน ของปี พ.ศ.2468 พบถึง 12 ราย จากนั้นมา ไม่มีรายงาน การเกิดโรค นี้ในคนอีก จนมาถึงปี พ.ศ.2505 รายงาน ผู้ป่วย 1 ราย มีอาชีพ เลี้ยงหมู ที่ จังหวัด เชียงใหม่ ผู้ป่วยได้รับ การรักษาและ หายจากโรค อย่างไรก็ตาม รายงานการเกิด โรคนี้ในคน พบ ค่อนข้าง น้อย ในปีพ.ศ.2515 ได้มี รายงาน การตรวจศพ 1 ราย ที่ กรุงเทพฯมหานคร ทราบว่า เป็นโรคนี้ ภายหลังจาก ผู้ป่วย เสียชีวิต จากการอักเสบ เป็นแผลในลำไส้ใหญ่ พบลำไส้แตก และเกิดช่องท้องอักเสบ

การติดเชื้อ เชื่อว่า ผู้ป่วยติดเชื้อนี้ ได้โดยทานอาหาร หรือน้ำดื่ม ที่มีระยะ cyst ลงในลำไส้ แต่ การติดเชื้อ ที่ แท้จริงในคน ยังไม่ทราบ แน่ชัด และการติดเชื้อ สู่คนค่อนข้างยาก ภายในลำไส้ใหญ่ trophozoites จะออกจาก cyst มาทำลาย เยื่อบุลำไส้คน โดยเฉพาะบริเวณ cecum ทำให้ลำไส้ เกิดแผล (ulcer) มากมาย แผลเหล่านี้ คล้ายกับแผล ที่เกิดจาก อะมีบา แต่ใหญ่กว่า ตัว trophozoites มีรูปร่างกลมรี ปกคลุมด้วยขน (cilia) โดยรอบ ภายในมี นิวเคลียส ขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายไต เรียกว่า macronucleus และนิวเคลียสขนาดเล็ก เรียกว่า micronucleus อยู่ภายใน ซัยโตพลาสม์ของมัน สำหรับ cyst มีขนาดเล็กกว่า มีรูปร่างกลม หุ้มด้วยผนัง 2 ชั้นใส สามารถ มองเห็น เชื้อปาราสิต เคลื่อนไหว อยู่ภายใน เส้นผ่าศูนย์กลางของ cyst ประมาณ 51-54.6 ไมครอน

พยาธิสภาพ พบเป็นแผล (ulcer) ที่ลำไส้ใหญ่โดย เฉพาะที่บริเวณ cecum นอกนั้น อาจพบได้ที่ ascending colon, sigmoid colon,rectum และไส้ติ่ง ลักษณะพยาธิสภาพ มองด้วยตาเปล่า แยกยาก จาก amoebic ulcerative colitis ภาพจาก กล้องจุลทรรศน์ พบการตายของเนื้อเยื่อ เป็น หย่อมๆ ตลอดแนวลำไส้ใหญ่ เกิดเป็นแผลที่ เยื่อบุผนังลำไส้ หลายแผล ผนังชั้น submucosa และ muscular พบบวมน้ำทั่วไป อย่างเห็นได้ชัด ตลอดจนพบ เซลล์อักเสบ ชนิดเฉียบพลัน กระจาย ไปทั่วบริเวณ โดยเฉพาะ เซลล์อักเสบชนิด neutrophils เยื่อ fibrin พบค่อนข้างน้อย ในบริเวณที่ อักเสบเหล่านี้ สามารถตรวจ พบเชื้อระยะ trophozoites ของ B. coli เป็นจำนวนมาก ตลอดทุกชั้น ของผนังลำไส้ รวมทั้งที่บริเวณ เยื่อบุผิวและ ภายในท่อน้ำเหลืองข องผนังลำไส้ นอกจาก พบในลำไส้แล้ว ยังอาจพบ ได้ที่ต่อมน้ำเหลือง ข้างเคียงได้ และอาจ เกิดพยาธิสภาพ อื่นๆตามมาเช่น ตกเลือด (hemorrhage) ลำไส้ทะลุ (perforation) และ ช่องท้องอักเสบ (peritonitis)ได้

อาการทางคลีนิค ผู้ป่วยมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และท้องร่วงมากน้อยเป็นรายๆไป บางราย ถ่ายเป็น เลือด น้ำหนักลด หรือบางคน ไม่มีอาการ แต่เป็น ตัวเก็บเชื้อ (carrier) ผู้ป่วย ส่วนมากมี ประวัติอาชีพ เลี้ยงและขายหมู

การวินิจฉัย โดยการตรวจพบ พยาธิสภาพ ของแผล และเชื้อปาราสิต ในชิ้นเนื้อพยาธิ หรือตรวจ จากอุจจระพบ เชื้อระยะ trophozoite หรือระยะ cyst