โรคติดเชื้อพยาธิไส้เดือน
(Ascariasis)
โรคที่เกิดจาก พยาธิไส้เดือน โดยมากเกิด จากพยาธิตัวกลม ชนิด Ascaris lumbricoides ตัวแก่ อาศัยอยู่ใน ลำไส้เล็ก ของคน และมี รายงานส่วนน้อย เกิดจาก Ascaris suis ซึ่งเป็น พยาธิตัวกลม ในหมู โรคนี้พบ ได้ทั่วไป โดยเฉพาะ ภูมิประเทศ ที่มีอากาศร้อน และชื้น Stoll ได้ประมาณ ไว้ว่ามี ประชากร ประมาณ 644 ล้านคน ในโลก ที่ติดเชื้อ พยาธิ ชนิดนี้ โดยเฉพาะ เด็กจะมี อัตราการ ติดเชื้อสูงกว่า ผู้ใหญ่ การติดเชื้อ พยาธิไส้เดือน ในลำไส้ มักก่อปัญหา ในด้าน โภชนาการ บางอย่าง แต่ในด้าน ทางการ แพทย์แล้ว ไม่ถึงกับ ก่อให้เกิด ภาวะ ทุพโภชนาการ แต่อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ ระหว่าง การติดเชื้อ พยาธิไส้เดือน ในลำไส้ กับการเกิด ภาวะ ทุพโภชนาการ ในเด็กยัง เป็นปัญหา ที่ต้องศึกษากัน ต่อไป โดยเฉพาะ ในประเทศเมืองร้อน และในกรณี ที่มีการติดเชื้อ รุนแรง
สำหรับประเทศไทย พยาธิไส้เดือนกลม เป็นพยาธิ ที่พบได้ ทั่วไป อัตรา การติดพยาธิไส้เดือน ในปีพ.ศ.2523 โดยเฉลี่ย ทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 4.04 โดยมี อัตราการติด พยาธิไส้เดือนกลม สูงสุด ทางภาคใต้ ของประเทศ ถือเป็น โรคพยาธิในลำไส้ ที่เกิดกับ ประชากรไทย เป็นอันดับสาม รองจาก พยาธิปากขอ และ พยาธิแส้ม้า

การติดต่อ โดยทาน ไข่พยาธิ ascaris ซึ่งปกต ิพบปะปน อยู่ตามดิน ที่ชื้นแฉะ หรือในน้ำ ไข่จะฟัก เป็นตัวอ่อน เมื่อผ่านมาถึง ลำไส้เล็ก และตัวอ่อนเหล่านี้ จะไชผ่าน ผนังลำไส ้เข้าสู่ portal vein หรือ หลอดน้ำเหลือง เพื่อไปที่ ตับและ หัวใจ จากนั้น กระแสโลหิต พัดพา เข้าสู่ปอด ตัวอ่อน จะไชทะลุ ผนังหลอดเลือดฝอย เข้าสู่ ช่องว่างใน ถุงลมปอด ที่ปอดตัวอ่อน จะเจริญเติบโต ต่อไป ระยะหนึ่ง และมี ขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อเข้าสู่ ตัวอ่อน ระยะที่สาม ซึ่งจะผ่าน ขึ้นมาตาม หลอดลม ลงสู่ หลอดอาหาร หรือถูก ไอออกมา และกลืนลงสู่ ทางเดินอาหาร ที่ลำไส้เล็ก มันจะเจริญเติบโต เป็นตัวแก่เพศผู้ และเพศเมีย มีขนาดใหญ่กว่า เดิมมาก ยาวประมาณ 15 ถึง 30 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ลำตัวประมาณ 3 ถึง 5 มิลลิเมตร โดยส่วนหัว ของมันชี้ไป ทางส่วนต้นของ ลำไส้ ทวนกระแส การเคลื่อนที่ ของลำไส้ จัดได้ว่า เป็นพยาธิตัวกลม ที่ใหญ่ที่สุด ในทางเดินอาหาร ของคน และมีอายุ ค่อนข้างสั้น ประมาณ 6 ถึง 12 เดือนเป็นอย่างมาก

อาการทางคลีนิคและพยาธิสภาพ- เนื่องจาก พยาธิ ascaris เป็นปาราสิต ที่ต้องอาศัย ในลำไส้คน และเข้ากัน ได้ดีกับ คนเรา มานานนับปีแล้ว ดังนั้น คนที่มี พยาธินี้อยู่ จึงไม่ค่อยมี อาการทางคลีนิค ปรากฏออกมา เด่นชัด นอกจากมี อาการ ปวดท้องเล็กน้อย จึงไม่พบ พยาธิสภาพ ที่ลำไส้ ผิดปกติ แต่อย่างใด

สำหรับในรายที่มีตัวแก่มากเกินไป ผู้ป่วยจะมี อาการ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน เบื่ออาหาร หรือมีไข้ ตัวแก่เหล่านี้ อาจเกี่ยวพัน กันเป็นก้อน ทำให้เกิด การอุดตัน ทางเดินอาหาร อาจเป็นแบบ อุตตันแน่น (complete obstruction) หรือ อุตตันบางส่วน (partial obstruction) โดยเฉพาะ ลำไส้เล็กบริเวณ terminal ileum หรือ ileocaecal valve ในรายที่เป็น แบบอุตตันบางส่วน ผู้ป่วยจะ มีอาการ ท้องเดิน หรือท้องผูกได้ บางครั้ง ทำให้เกิด ลำไส้พันกัน (volvulus) หรือเกิด ลำไส้กลืนกัน (intussusception) ตัวแก่บางตัว อาจไชไป ที่รูของไส้ติ่ง ทำให้ เกิด ไส้ติ่งอักเสบ (appendicitis) ส่วนสาเหตุ ทำให้เกิด ช่องท้องอักเสบ (peritonitis) จากการไช ทะลุผนังลำไส้ ของตัวแก่พบได้ไม่บ่อยนัก
บางขณะ ตัวแก่ อาจเคลื่อนตัว ทวนกระแส การเคลื่อนที่ ของลำไส้ เข้าไปใน ampulla of Vater และไป ตามท่อน้ำดี (bile duct) หรือใน ท่อตับอ่อน ทำให้เกิด อาการปวดท้อง รุนแรง ถ้าเกิด การอุดตัน ท่อน้ำดี มักจะทำให้ เกิดภาวะตัวเหลือง เกิดโรค ท่อน้ำดีอักเสบ (suppurative cholangitis) ถุงน้ำดีอักเสบ (acute cholecystitis) และฝีในตับ (liver abscesses) เป็นต้น โดยเฉพาะ ในเด็กอาจ เกิดการติดเชื้อ ascaris ในระบบ ท่อน้ำดี และตับรุนแรง (massive hepatobiliary ascariasis) ทำให้ผู้ป่วย มีอาการ ปวดท้อง ด้านขวาบน อย่างแรง พร้อมกับ มีไข้ หนาวสั่น และอาเจียร ถ้าตรวจ ด้วยภาพ คลื่นเสียง ความถี่สูง จะพบตัวแก่ ของพยาธิ ชนิดนี้ใน ท่อน้ำดี บางครั้ง ตัวแก่ที่อยู่ ในลำไส้อาจผ่าน ขึ้นมาตาม หลอดอาหารและ เข้าไปอยู่ใน ทางเดินหายใจส่วนต้น ผู้ป่วยเกิด อาการหายใจ ลำบากได้
ในระยะที่ ตัวอ่อนไช ทะลุผ่าน หลอดเลือดฝอย ในปอด อาจทำให้เกิด ปอดอักเสบ และมี เลือดออก เซลล์อักเสบ ชนิด neutrophils และ eosinophils พบได้ทั่วไป ในปอด บางราย มีพยาธิสภาพ แบบ interstitial pneumonitis โดยผนัง ของถุงลมปอด หนาขึ้น ตรวจปอด พบตัวอ่อน อยู่ตาม ถุงลมในปอด และหลอดลม ทั่วไป ผู้ป่วยมี อาการ ไข้หนาวสั่น ไอมีเสมหะ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือพบ อาการ หอบหืดได้ (asthmatic attack) และร่วมกับ เม็ดโลหิตขาว ชนิด eosinophil สูงใน กระแสโลหิต เรียกกลุ่ม อาการนี้ว่า Loeffler's syndrome ซึ่งพบได้ ไม่บ่อยนัก โดยเฉพาะใน ประเทศเมืองร้อน
ตัวแก่ ascaris ที่ชอนไช ไปที่ ตับและวาง ไข่ไว้ ไข่ของ ascaris จะทำให้ เกิดการอักเสบ แบบ granulomatous inflammation และ fibrosis ทำให้เกิด ฝีในตับ (liver abscesses) ได้ ตัวแก่อาจ พบเพียง ตัวเดียว หรือพบเป็นจำนวนมาก ชอนไชไปมา ระหว่าง ท่อน้ำดีภายนอก หรือภายในตับ พร้อมกับ นำเชื้อ บัคเตรี จากลำไส้ เข้าไปด้วย ทำให้เกิดหนองในท่อน้ำดีหรือฝีขนาดเล็กเป็นจำนวนมากในตับ ตัวแก่ เหล่านี้ อาจไช ออกจาก ตับเข้าสู่ ช่องท้อง หรือก่อให้เกิด หนองฝี ในช่องปอดขวาได้

การวินิจฉัยโรค โดยการตรวจ พบไข่ ในอุจจาระ หรือตัวอ่อน ในเสมหะ และ gastric aspiration หรือตรวจชิ้นเนื้อ ทางพยาธิ พบตัวแก่ หรือไข่ นอกจากนี้ อาจวินิจฉัย โดยดูภาพรังสี หรือคลื่นเสียง ความถี่สูง ตรวจหา ตัวแก่ใน ลำไส้ และท่อน้ำดี เป็นต้น