พยาธิวิทยาโรคข้ออักเสบติดเชื้อ
(Infective arthritis)

เรียบเรียงโดย รศ.นพ.สรรเพชญ เบญจวงศ์กุลชัย
 

โรคข้อติดเชื้อ ส่วนมาก มาจาก การติดเชื้อ ในเลือด (hematogenous dissemination) นอกจากนี้ ยังสามารถ ติดเชื้อ ลุกลามจาก เนื้อเยื่อ ข้างเคียง ที่เป็น หนองฝี หรือจากไขกระดูกอักเสบ (osteomyelitis) แล้วลาม เข้าข้อ หรือ จากการติดเชื้อ เข้าข้อโดยตรง (direct innoculation) เชื้อที่ติด ส่วนมากได้แก่ เชื้อบักเตรี (bacteria) สำหรับเชื้อไวรัส โรคไวรัสบางชนิด ทำให้เกิด การติดเชื้อ ในข้อกระดูก หรือ ทำให้เกิด การปวดข้อได้ (arthralgia) สำหรับเชื้อรา พบ การติดเชื้อ รา ในข้อ น้อยมาก โรคข้ออักเสบติดเชื้อ ถือเป็น โรคที่มี ความสำคัญมาก สามารถ ทำให้ เกิดการทำลาย ข้อกระดูก อย่างรวดเร็วและเรื้อรัง ทำให้ ข้อ ผิดรูป ผิดร่างได้
โรคข้ออักเสบติดเชื้อบักเตรี (bacterial infective arthritis) ทำให้เกิด ข้ออักเสบ เป็นหนอง (acute suppurative arthritis) ส่วนมาก เชื้อบักเตรี ที่ทำให้เกิด ข้ออักเสบติดเชื้อ มาตามกระแสโลหิต (bacteremia)
เชื้อที่พบบ่อยและมีความสำคัญทางคลีนิดได้แก่
ในกรณีที่เกิด ไขกระดูกอักเสบ เด็กมีโอกาส เกิดข้ออักเสบ ติดเชื้อ มากกว่าผู้ใหญ่ สาเหตุ ที่แท้จริงยัง ไม่แน่ชัด ส่วนใหญ่ ติดเชื้อจาก staphylococcus หรือ streptococcus. สำหรับเชื้อ pneumococci และ เชื้อ gonococci ชอบ ติดเชื้อ เข้าข้ออยู่แล้ว เมื่อเชื้อทั้งสอง ชนิดนี้มาตาม กระแสเลือด (bacteremia) หรือ ทำให้ เลือดเป็น พิษ (septicemia) สำหรับเชื้อ haemophilus influenzae ชอบทำให้ เกิดข้ออักเสบ ติดเชื้อ ในเด็ก โดยเฉพาะในเด็ก ที่อายุ ต่ำกว่า 2 ขวบ ในผู้ป่วย ติดยาเสพติด เมี่อเกิด ข้ออักเสบ ติดเชื้อ พบว่าเชื้อส่วนใหญ่ เป็นบักเตรีแกรมลบ (gram negative bacteria) ผู้ป่วย ที่เป็น เบาหวาน ข้ออักเสบ รูมาตอย (rheumatoid arthritis) และ ผู้ที่ได้รับ ยากด ภูมิต้านทาน (immunosuppressive treatment) มีโอกาส ที่จะเกิด ข้ออักเสบ ติดเชื้อ ได้ง่าย ในขณะ เดียวกัน การรักษาโรคข้ออักเสบ บางรายที่ ฉีดยา corticosteroids เข้าข้อ มีโอกาส อย่างมาก ที่จะเกิด ข้ออักเสบติดเชื้อ
ข้ออักเสบติดเชื้อโกโนเรีย (gonococcal arthritis) พบบ่อย ในสตรี เพศ และพวกชาย รักร่วมเพศ (homosexual male) โดยมี การติดเชื้อ ในอวัยวะเพศ ด้วย มักจะเป็น หลายข้อ ส่วนมาก เป็นที่ ข้อกระดูกมือ (hands) ข้อมือ (wrists) และข้อเข่า (knees) ในสมัยหนึ่ง ข้ออักเสบ ติดเชื้อ โกโนเรีย จัดเป็น การติดเชื้อเข้า ข้อ ที่พบ บ่อยที่สุด ในหมู่วัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว (young adults) แต่การเพาะ หาเชื้อ จากน้ำหล่อเลี้ยงข้อ ไปตรวจ พบได้น้อย
ข้ออักเสบติดเชื้อในเด็กแรกเกิด (Acute septic arthritis of infancy) ส่วนมาก มี สาเหตุ มาจาก การอักเสบ ที่ สายสะดือ ทำให้เกิด การลาม ไปตาม กระแสเลือด หรือ เมื่อเกิดไขกระดูกอักเสบ (osteomyelitis) ใน เด็กแรกเกิด บริเวณ metaphysis การอักเสบติดเชื้อ จะลาม ผ่านทะลุ epiphysis เข้าไปอักเสบติดเชื้อ ในข้อกระดูก ได้ ส่วนมาก เกิดกับ ข้อสะโพก และข้อเข่า (hip and knee joints) เชื้อส่วนใหญ่ ได้แก่ staphylococcus, streptococcus และ haemophilus influenzae
ข้ออักเสบติดเชื้อวัณโรค (tuberculous arthritis) พบประมาณ 1 % ของ ผู้ที่ ติดเชื้อวัณโรค ที่เกิด ข้ออักเสบ ติดเชื้อ วัณโรค ทำให้เกิด พยาธิสภาพ ของ caseating granuloma ที่ synovial membrane และ periarticular tissue (เนื้อเยื่อ รอบๆ ข้อกระดูก) และ ทำให้เกิด การทำลาย พื้นผิว ข้อกระดูกอ่อน (articular cartilage) ข้อที่ พบบ่อย ได้แก่ ข้อสะโพก และข้อเข่า (hip and knee joints) ในเด็ก สำหรับ การติด เชื้อวัณโรค ในข้อกระดูกสันหลัง (vertibral column) มักเกิด กับผู้ใหญ่ เชื้อนี้ จะทำลาย ไขกระดูกสันหลัง ทำให้ ข้อกระดูกสันหลัง ยุบตัวลงมา เป็นรูปลิ่ม (wedging) หรือ เกิดการยุบทั้ง ข้อกระดูกสันหลัง ที่เรียกว่า Pott’s disase ส่วนใหญ่เกิดที่ ข้อสันหลัง บริเวณ thoracic และ lumbar จากนั้นเชื้อจะ ลามไปตาม ช่องระหว่างเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ psoas muscle ทำให้เกิดเป็น หนองฝี ที่บริเวณนี้ เรียกว่า psoas abscess ข้ออักเสบ ติดเชื้อวัณโรค มักเป็น เรื้อรัง ค่อยเป็น ค่อยไป พร้อมกับ อาการปวดข้อ เมื่อข้อถูก ทำลายนาน และเรื้อรัง จะเกิด การซ่อมแซมแผล ทำให้เกิด การสะสม ของเยื่อพังผืด และทำให้ข้อ ขยับไม่ได้ หรือลำบาก เรียกว่า fibrous ankylosis
ข้ออักเสบจากโรคไลม (Lyme arthritis) เกิดจากเชื้อ บักเตรี ชนิด spirochete ชื่อว่า Borrelia burgdorferi เชื้อชนิดนี้ จะติดเชื้ออักเสบ ที่ผิวหนัง จากนั้น หลายวันหรือ หลายอาทิตย์ จะลามไปที่ อวัยวะอื่นๆ รวมทั้งที่ ข้อกระดูกด้วย พบครั้งแรก ทางภาคตะวันออก ของสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ.1970 ต่อมาได้มี รายงานการระบาด เป็นครั้งคราว ในที่ต่างๆ และพบว่า แมลง (ticks) ในตระกูล genus Ixodes เป็น พาหะนำเชื้อ ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย ที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการ ทางข้อกระดูก ภายใน 2 สัปดาห์ถึง 2 ปี อาการทาง ข้อกระดูก จะเป็นๆหายๆ และ บางราย หายจาก ข้อหนึ่ง ไปเป็นอีกข้อหนึ่ง (migratory joint pain) ส่วนมาก จะเป็น ข้อกระดูกใหญ่ เช่น ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อศอก และข้อเท้า อาจเป็น ครั้งละมากกว่า หนึ่งข้อ และอยู่นานเป็น สัปดาห์ หรือเป็น เดือน เยื่อหุ้มข้อ (synovium) ให้พยาธิสภาพ แบบ chronic papillary synovitis with synoviocyte hyperplasia พร้อมกับ มีการสะสม ของสาร fibrin และเซลล์อักเสบ นิวเคลียสเดี่ยว (mononuclear cell) และ ผนังเส้นเลือดหนา วนเป็นวง (onionskin thickening)

 หนังสืออ้างอิงและแนะนำให้อ่านเพิ่มเติม

1. Rosenberg AE. Skeletal System and Soft tissue Tumors. In: Cotran RS, et al. (Eds.): Robbins Pathologic Basis of Disease. 5th ed. Philadelphia: W.B. Saunders, 1994, 1213-1271

2. Hough AJ. Joints. In: Damjanov I and Linder J. (ed): Anderson's Pathology 10th ed. St. Louis: C.V. Mosby, 1996, 2612-2652

3. Gallagher PJ. Osteoarticular and connective tissues In: Underwood JCE (ed.) : General and Systemic Pathology. Churchill Livingstone 701