back

  Introduction of Lab Pathology การเรียนภาคปฎิบัติการทางพยาธิวิทยา
โดย รศ.นพ.สรรเพชญ เบญจวงศ์กุลชัย
1
กล้องจุลทรรศน์ และ class slides
2
Scan scope (ใช้คอมพิวเตอร์เรียน Class slides ผ่านอินเตอร์เน็ต)
3
ภาพสไลด์ประกอบการบรรยาย Gross และ microscopy
4
ตัวอย่างการบรรยาย พยาธิสภาพของรอยโรค

หลักการบรรยาย ชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา (ควรบรรยายด้วยตัวหนังสือภาษาอังกฤษ)

  1. บรรยายชิ้นเนื้อที่เห็นด้วยตาเปล่า (Gross description)
       
    1.1 ลักษณะภายนอก (external surface)
      1.1.1 ชั่งและวัดขนาด (measurement) fig.
        1.1.1.1 น้ำหนัก (weight) คิดเป็น กรัม (gram)
        1.1.1.2 ขนาด (dimension or size) (วัดความกว้าง ยาว และหนา) คิดเป็น เซนติเมตร์ (centimater)
        1.1.1.3 ลักษณะ (shape) เช่น กลม (round หรือ global) รี (oval) กระสวย (spindle) หรือเทียบกับของที่ใกล้เคียงกัน เช่น ขนาดไข่ไก่ ไข่เป็ด ขนาดผลองุ่น (grape-like) ขนาดผลลำไย เป็นต้น
      1.1.2 สี (color) แดง น้ำตาล เหลือง เทา (gray) ขาว หรือ ขาวปนเทา (grayish white) หรือ ขาวปนเหลือง (yellowish white)
      1.1.3 พื้นผิว (texture) มัน(shiny) ขุ่นหมอง (dull) ขุ่นขาว (cloudy) เรียบ (smooth) ขรุขระ (rough) เป็นหลุมหรือบุ๋ม (dimples) เป็นแผล (scar) ตุ่มนูนหรือเป็นปุ่ม (nodule)
      1.1.4 สิ่งปกคลุม (envelope) มีปลอกหุ้ม (capsule) มีไขมันหุ้ม (fatty tissue) ก้อนเลือดหุ้ม (blood clot) หรือปกคลุมด้วยหนอง (pus)
        1.1.4.1 ลักษณะของปลอกหุ้ม (capsule) เช่น บาง (thin) หนา (thick)
          1.1.4.1.1 การลอกของปลอกหุ้ม เช่น แคปซูลลอกง่าย (stripped easily) หรือ ลอกยาก (stripped with resistance)
          1.1.4.1.2 ปลอกหุ้มติดกับผิวในแน่น ลอกไม่ได้ (firmly attached)
        1.1.4.2 อาณาบริเวณที่ปกคลุม เช่น คลุมทั้งก้อน หรือบางส่วน (total or partial)
      1.1.5 พื้นผิวใต้สิ่งปกคลุม (subcapsular หรือ raw surface) เช่น มีลักษณะ เรียบ (smooth) หรือเป็นมัน (shiny) หรือ ขรุขระ (rough or irregular) เป็นแผล (scar or dimple)
      1.1.6 คลำ (palpation) แน่น (dense or firm) แน่นเหมือนลูกยาง (rubbery firm) นุ่ม (soft) แข็ง (hard) แข็งเหมือนก้อนหิน (stony hard)
       
    1.2 หน้าตัด (Cut surface)
      1.2.1 หน้าตัด ทึบ (solid cut surface)
        1.2.1.1 สีผิวหน้าตัด เช่น สีขาวเทาเท่ากันหมด (homogeneously gray-white) หรือไม่เท่ากัน (inhomogeously) ผิวหน้าตัดมีลักษณะเหมือนแผนที่ (map-like lesion) หรือเป็นหย่อมสีแดงกระจายทั่วไป (reddish spots)
        1.2.1.2 พบตุ่ม หรือ ก้อนเนื้อ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ แทรกบนพื้นหน้าตัด
          1.2.1.2.1 วัดขนาดของตุ่ม หรือก้อนเนื้อ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ เช่นก้อนกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ซม.
          1.2.1.2.2 ตำแหน่งที่พบ เช่น อยู่ตรงกลางหน้าตัด (central) อยู่ขอบ (border หรือ periphery)
          1.2.1.2.3 สีและลักษณะพื้นผิวของก้อน หรือพยาธิสภาพอื่นๆ เช่น พื้นเรียบเป็นมัน (smooth and shiny หรือ smooth and greasy ในกรณีที่เป็นไขมัน)
        1.2.1.3 ขอบเขตของพื้นหน้าตัด (demarcation) (อวัยวะในภาวะปกติ แตกต่างจากที่พบในขณะตรวจ) เช่น พื้นหน้าตัด ของไต (kidney) มีแนวขอบเขตที่แบ่ง cortex และ medulla (cortico-medullary demarcation)ชัดเจนดีหรือไม่ (poor or distinct)
        1.2.1.4 ถ้าเป็นก้อน ขอบเขตของก้อนชัดเจนหรือไม่ มีcapsuleหุ้มหนาหรือบาง fig.01 fig.02 fig.03 fig.04
        1.2.1.5 ลักษณะความชุ่มชื้นของผิวหน้าตัด เช่น แห้ง (dry) หรือชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ (juicy) หรือชุ่มไปด้วยฟองเลือด (frothy bloody fluid) หรือผิวหน้าตัดเป็นเมือก (mucinous)
      1.2.2 หน้าตัด เป็นหลุมหรือเป็นถุง (cystic cut surface) fig.01 fig.02
        1.2.2.1 จำนวน (amount or number)
          1.2.2.1.1 ถุงเดี่ยว (unilocular)
          1.2.2.1.2 หลายถุง (multilocular)
        1.2.2.2 ขนาด วัดเป็น ซม. (size and measurement)
        1.2.2.3 ลักษณะของ ถุงหุ้ม หรือเปลือก (cyst wall) หนา บาง เรียบ หรือขรุขระ
        1.2.2.4 สิ่งที่บรรจุภายในถุง (content) เช่น เป็นน้ำใสไม่มีสี หรือมีสีเหลืองใส หรือมีสีแดง(คล้ายเลือด) เป็นน้ำขุ่นขาว เป็นเลือด เป็นน้ำเมือก (mucinous) เป็นหนอง (pus) เป็นไขมันปะปนด้วยเส้นขน (fat with hair) หรือไม่พบอะไรเลย
      1.2.3 หน้าตัด ทึบปนถุง (solid with cystic cut surface) fig.01 fig.02 fig.03
        1.2.3.1 จำนวน (amount or number)
        1.2.3.2 ขนาด (size and measurement)
        1.2.3.3 ตำแหน่ง (location)
        1.2.3.4 สิ่งที่บรรจุภายในถุง (content)
           
  2. บรรยายสิ่งที่พบจากกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic description) (ให้ใช้หัวกำลังขยายต่ำสุด (low power) ก่อนทุกครั้ง เพื่อดูภาพมุมกว้าง จากนั้นค่อยๆใช้ กำลังขยายมากขึ้น ในจุดที่ต้องการดู)
    2.1 มาจากอวัยวะอะไร (organ) ชิ้นเนื้อที่เห็นในสไลด์ มาจากอวัยวะอะไร เช่น จากต่อมน้ำเหลือง หรือ ปอด หรือ เต้านม เป็นต้น
    2.2 สิ่งผิดปกติ ที่ตรวจพบ เป็นอย่างไร
      2.2.1 เป็นก้อน (mass or polyp)
        2.2.1.0 ก้อนที่พบมีขอบเขตชัดเจนหรือไม่ มีแคปซูลหุ้มหรือเปล่า แคปซูลบาง หรือ หนา ถ้าหนา หนาเท่ากันตลอดหรือไม่
        2.2.1.1 ตำแหน่งที่พบ (location) เช่น อยู่ชั้นผิวหนัง (epidermal) อยู่ใตัผิวหนัง (dermis) อยู่ในเนื้อเยื่อ (alveolar soft tissue) อยู่ที่เยื่อบุผิว (mucosa) หรือ (submucosa) หรือ (muscular layer) หรือ ที่ลิ้นหัวใจ (valvular endocardium) หรือ (subpleura) เป็นต้น
        2.2.1.2 การกระจายของก้อน (extension) (ถ้าพบ) เช่นกระจายไปอวัยวะข้างเคียง หรือเข้าไปในชั้นลึกลงไปของอวัยวะ หรือกระจายเข้าไปในแคปซูล หรือเข้าเส้นเลือด หลอดน้ำเหลือง หรือเส้นประสาท เป็นต้น
        2.2.1.3 ส่วนประกอบของก้อน (composition)
          2.2.1.3.1 ลักษณะของเซลล์ที่ประกอบเป็นก้อน เช่นขนาด (ขนาดเท่า lymphocyte หรือเล็กกว่า red blood cell) รูปร่าง กลม (spherical) รี (oval) ยาว (spindle1, spindle2) หรือเป็นรูปสี่เหลี่ยม (cuboidal) รูปหลายเหลี่ยม (polygonal)
          2.2.1.3.2 ลักษณะของ cytoplasm เช่น ใส เป็น vacuole หรือ เป็นเม็ด (granular) ติดสีแดง (acidophilic) หรือสีน้ำเงิน (basophilic)
          2.2.1.3.3 ลักษณะของ nucleus เช่น เล็ก ใหญ่ ติดสีน้ำเงินเข้ม หรือจาง หรือใสเป็น vesicular รวมถึงตำแหน่งที่อยู่ในเซลล์ เช่น อยู่ตรงกลาง (central) หรือ ขอบ (periphery) หรือ ใหญ่โตติดสีเข้ม (hypertrophic and hyperchromatic) อยู่ในลัษณะการแบ่งตัว (mitotic figure)
          2.2.1.3.4 ลักษณะ(หรือโครงสร้าง) การรวมตัว(หรือประกอบกัน)ของเซลล์ เช่น ประกอบกันเป็นต่อม (glandular or organoid pattern) หรือ เป็นท่อ (tubular pattern) หรือเป็นแผ่น (sheet or nest) หรือเป็นแผ่นแต่ตรงกลางกลวงเหมือนตะแกรง (cribiform pattern) หรือเป็นการยื่นออกแบบนิ้วมือ (papillary growth pattern)
          2.2.1.3.5 ถ้าเป็นมะเร็ง ก้อนเนื้อมะเร็งนั้นมีลักษณะหรือโครงสร้างเหมือนอวัยวะหรือเซลล์ดั่งเดิม (การคงรูปดั่งเดิม) หรือไม่ เช่นเหมือนเดิมมาก (well differentiated) เหมือนปานกลาง (moderately differentiated) ไม่เหมือนเดิม (poorly differentiated) เช่น Well differentiated squamous cell carcinoma หรือ Well differentiated adenocarcinoma
           
      2.2.2 เป็นการอักเสบ (Inflammation)
        2.2.2.1 ถ้าเป็นการอักเสบชนิด เฉียบพลัน (Acute inflammation)
          2.2.2.1.1 การกระจาย บริเวณที่เกิด การอักเสบ เช่น เป็นหย่อม (focal) หรือเป็นแบบกระจายทั่วไป (diffuse)
          2.2.2.1.2 ชนิดของเซลล์อักเสบ เช่น neutrophil หรือ eosinophils หรือ มีทั้ง 2 อย่าง
          2.2.2.1.3 มีการตายของเซลล์หรือเนื้อเยื่อหรือไม่ เช่น มี focal tissue necrosis หรือมีการตายของเนื้อเยื่อรุนแรง (massive tissue necrosis)
          2.2.2.1.4 เกิดฝีหนอง (abscess) (fig.1 fig.2)หรือไม่
          2.2.2.1.5 มีการคั่งของเลือด(vascular congestion)และหลอดเลือดขยายตัว(vascular dilation) ร่วมกับมีการบวบ(edema) (edema+infiltration)เกิดขึ้นหรือไม่
        2.2.2.2 ถ้าเป็นการอักเสบชนิด เรื้อรัง (Chronic inflammation)
          2.2.2.2.1 บริเวณที่เกิดการอักเสบ เช่น เป็นหย่อม (focal) หรือเป็นแบบกระจายทั่วไป (diffuse)
          2.2.2.2.2 ชนิดของเซลล์อักเสบ เช่น lymphocyte, plasma cell, macrophage, foamy histiocyte, multinucleated giant cell. (Langhan's giant cell) เป็นต้น
          2.2.2.2.3 การอักเสบเร้้อรัง ชนิด Granulomatous inflammation (หรือ granuloma)
          2.2.2.2.4 เกิดการสะสมของเยื่อพังผืดหรือไม่ (fibrosis) fig.01 fig.02
          2.2.2.2.5 มีการพอกของสารแคลเซี่ยม หรือไม่ (calcification) fig.01 fig.02 fig03
       
  3. การวินิจฉัยโรค (Diagnosis) ใช้ศัพท์แพทย์สากลนิยม (conventional medical term) ไม่ใช้ศัพท์ภาษาชาวบ้าน เช่น วินิจฉัยว่า Bronchopneumonia (ไม่ใช้คำว่า โรคปอดบวบ)
       
       

back