เอกสารต้นฉบับ
ตัวอย่างเอกสารต้นฉบับของเว็บเพจ เวิลด์ ไวด์ เว็บ พิมพ์ด้วย โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด ตั้งขนาดกระดาษ A4 ใช้ตัวอักษร AngsanaUPC ขนาด 16 พิมพ์เต็มหน้า จำนวน 4 หน้า
เวิลด์ ไวด์ เว็บ
(World Wide Web : WWW)

1. กำเนิด World Wide Web
เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบใยแมงมุมโดยใช้ระบบสืบค้นข้อมูล ที่ได้รับการประดิษฐ์คิดค้นเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี (Tim Borners-Lee) และโรเบิร์ต ไกล์เลีย (Robert Cailiau) นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเชิร์น (CERN) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Laboratory) ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การริเริ่มประดิษฐ์โปรแกรมสำหรับแสดงข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยสามารถสื่อสารข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลกราฟิก ซึ่งเป็นได้ทั้งรูปภาพและข้อความ ไฟล์ข้อมูลเสียง และไฟล์ข้อมูลวิดีทัศน์ เป็นต้น โดยอาจมีระบบการทำงาน เพิ่มขึ้นมากกว่าการรับส่งเพียงตัวอักษร ดังนั้นต่อไปนี้จึงขอกล่าวถึงคำและความหมายที่ใช้ใน เวิลด์ ไวด์ เว็บ บางส่วน ดังต่อไปนี้

2. เวิลด์ ไวด์ เว็บ เซิร์ฟเวอร์ (Word Wide Web Server)
เป็นแหล่งข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ หรือหมายถึงคอมพิวเตอร์ของศูนย์คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์บริการข้อมูล เช่น
2.1 World Wide Web Server ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://www.chula.ac.th)
รูป p01.jpg
2.2 World Wide Web Server ของหอสมุดคณะแพทยศาสตร์ (http://md3.md.chula.ac.th)
รูป p02.jpg
2.3 World Wide Web Server ของสำนักข่าว CNN (http://www.cnn.com)
รูป p03.jpg
2.4 World Wide Web Server ของบริษัทไมโครซอฟท์ (http://www.microsoft.com)
รูป p04.jpg
2.5 World Wide Web Server ของ Discovery Online (http://www.discovery.com)
รูป p05.jpg

3. รหัสการสืบค้น (URL : Uniform Resource Locator)
รหัสการสืบค้น (URL : Uniform Resource Locator) ในการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบเวิลด์ ไวด์ เว็บ ถูกกำหนดโดยรหัสสืบค้นข้อมูล หรือรหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล โดยมีชื่อเรียกว่า "รหัสสืบค้นยูอาร์แอล" โดยมีรูปแบบดังนี้
http://www.chula.ac.th/index.html

http:// รูปแบบการโอนย้ายเว็บ
www.chula.ac.th ชื่อ World Wide Web Server
index.html ชื่อไฟล์

4. เอชทีทีพี (HTTP)
ย่อมาจากคำเต็มว่า Hyper Text Transfer Protocol ซึ่งเป็นรหัสสืบค้นยูอาร์แอลเป็นรูปแบบมาตราฐานโดยกำหนดรูปแบบดังนี้ "http://" ซึ่งเป็นระบบที่สื่อสารเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลเพื่อโอนย้ายไฟล์ข้อมูลเอชทีเอ็มแอล (HTML) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้ในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ

5. โฮมเพจ (Home Page)
โฮมเพจ (Home Page) เป็นเอกสารหน้าแรกของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนจะได้เห็น เมื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ โดยผู้จัดทำจะพยายามออกแบบให้เป็นที่น่าสนใจ สวยงามแปลกตา ซึ่งอาจตกแต่งด้วยภาพกราฟิกสวยๆ ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง เป็นต้น
ภาพแสดงตำแหน่งของ Home Page รูป pic06.jpg
ตัวอย่างของโฮมเพจของแหล่งข้อมูลต่างๆ รูป pic07.jpg

6. เว็บเพจ (Web Page)
เว็บเพจ (Web Page) คือ เอกสารหน้าอื่นๆ ในเว็บไซต์ ซึ่งการจะเปิดไปหน้าอื่นๆ ได้นั้น จะต้องเป็นการสร้างจุดเชื่อมโยงหรือเรียกว่า ลิงค์ (Link) ไปยังที่นั้นๆ ตามต้องการ ซึ่งในการออกแบบเว็บเพจที่ดีนั้นไม่ควรมีเพจมากเกินไป
แสดงตำแหน่งของเว็บเพจ รูป pic08.jpg

7. เว็บไซต์
เว็บไซต์ (Web Site) คือ ตำแหน่งที่อยู่ของเว็บ ซึ่งได้จากการลงทะเบียนกับผู้ให้เช่าพื้นที่บนระบบอินเตอร์เน็ต เมื่อลงทะเบียนแล้วก็สามารถจัดเก็บเว็บเพจไว้บนระบบอินเตอร์เน็ตและผู้สนใจสามารถที่จะเข้ามาดูข้อมูลได้
แสดงตำแหน่งของเว็บไซท์ รูป pic09.jpg

8. เอชทีเอ็มแอล (HTML)
เอชทีเอ็มแอล (HTML ย่อมาจากคำว่า Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาสำหรับเขียนไฟล์ข้อมูล ซึ่งเป็นไฟล์ข้อมูลที่ใช้ในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ หรือเป็นไฟล์แสดงโฮมเพจ (Home page) ไฟล์ชนิดนี้ประกอบด้วยข้อมูลหลายประเภท ได้แก่ ข้อมูล ตัวอักษร รูปภาพ เสียง และวิดีทัศน์ เป็นต้น ตัวอย่างข้อมูลภาพ ได้แก่ ไฟล์ภาพจีไอเอฟ (GIF) และไฟล์ภาพเจพีจี (JPG) โดยไฟล์ข้อมูลเหล่านี้จะฝังตัวอยู่บนไฟล์ข้อมูลเอชทีเอ็มแอล

9. ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)
ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) เป็นคำหรือวลีพิเศษของเว็บเพจ (Web page) หรือโฮมเพจ ซึ่งเกิดจากไฟล์ข้อมูลเอชทีเอ็มแอล ไฮเปอร์เท็กซ์เป็นคำหรือวลีที่เป็นจุดเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลได้โดยใช้เมาส์คลิก (Click) ไปยังคำหรือวลีพิเศษนั้น การเชื่อมโยงข้อมูลภายใต้ไฮเปอร์เท็กซ์ มีความหมายตรงกับการเชื่อมโยงข้อมูล โดยผ่านรหัสสืบค้นข้อมูลยูอาร์แอล ไฮเปอร์เท็กซ์ จึงเปรียบเสมือนเมนูที่นำไปสู่การเชื่อมโยงแหล่งข้อมูล เพื่อโอนย้ายข้อมูลดังกล่าวมายังคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ พร้อมกับแสดงข้อมูลทางจอภาพ ภายใต้โปรแกรม เวิลด์ไวด์เว็บเบราเซอร์

10. โปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บเบราเซอร์ (WWW Browser)
โปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บเบราเซอร์เป็นโปรแกรมประเภทกราฟิก ซึ่งมีหน้าที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ หรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) การเชื่อมโยงและ การโอนย้ายข้อมูลจากแหล่งข้อมูลดังกล่าว เพื่อแสดงข้อมูลภายใต้ระบบเอชทีเอ็มแอล (HTML) โดยโปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บเบราเซอร์ที่สำคัญ และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ
1. โปรแกรมเน็ตสแคป (Netscape Navigator)
2. โปรแกรมโมเซอิค (NCSA Mosaic)
3. โปรแกรมเซลโล (Cello)
4. โปรแกรมฮอตจาวา (Hot Java)
5. โปรแกรมไมโครซอฟต์อินเทอร์เน็ต-เอ็กซ์พลอเรอร์ (MS-Internet Explorer)
6. โปรแกรมไอคอมม์ (I-comm)
รูป pic10.jpg, pic11.jpg, pic12.jpg, pic13.jpg, pic14.jpg, pic15.jpg

11. การสืบค้นข้อมูลบนเวิลด์ไวด์เว็บ
โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับระบบเวิลด์ไวด์เว็บ แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือโปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บ ภายใต้ข้อมูลประเภทข้อความ หรือเท็กซ์ (Text) และโปรแกรมภายใต้ข้อมูลประเภทกราฟิก (Graphic) คือ โปรแกรมระบบเวิลด์ไวด์เว็บประเภทข้อความได้แก่ โปรแกรมลินซ์ (Lynx) ส่วนโปรแกรมระบบเวิลด์ไวด์เว็บประเภทกราฟิก เรียกว่า โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) หรือโปรแกรมเวิลด์ไวด์เว็บเบราเซอร์ (WWW Brower)

12. การใช้เว็บไซต์ ประเภทสืบค้นข้อมูล
ผู้ใช้บริการ World Wide Web ที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลถ้าไม่ทราบที่อยู่ของแหล่งข้อมูลที่ต้องการค้นคว้า ท่านสามารถที่จะเรียก Web Site เกี่ยวกับการสืบค้นได้โดยมีตัวอย่าง Web Site สำหรับการสืบค้น ดังนี้

รหัส URL
ชื่อเว็บเซิร์ฟเวอร์
http://www.google.co.th เว็บสืบค้นกูเกิ้ล (12.1)
http://www.yahoo.com เว็บสืบค้นยาฮู (12.2)
http://www.lycos.com เว็บสืบค้นไลคอส (12.3)
http://www.infoseek.com เว็บสืบค้นอินโฟซีค (12.4)
http://www.Excite.com เว็บสืบค้นเอ็กไซท์ (12.5)
http://www.AltaVista.com เว็บสืบค้นอัลต้า วิสต้า (12.6)
http://www.LookSmart.com เว็บสืบค้นลุคสมาร์ท (12.7)

ผู้ใช้บริการ World Wide Web ที่ต้องการค้นคว้าข้อมูล ถ้าไม่ทราบที่อยู่ของแหล่งข้อมูล ที่ต้องการค้นคว้า ท่านสามารถที่จะเรียก Web Site เกี่ยวกับการสืบค้นได้ โดยมีตัวอย่าง Web Site สำหรับการสืบค้น ดังนี้