แนวทางปฏิบัติการพิจารณาสื่อการเรียนการสอนเป็นผลงานวิชาการ  
การส่งผลงาน
การประเมินสื่อการสอน
แนวทางปฏิบัติการพิจารณาสื่อการเรียนการสอนเป็นผลงานวิชาการ
เกณฑ์การประเมินผลงานสื่อการเรียนการสอน
การส่งผลงาน
 
1. รายงานการจัดทำสื่อ ประกอบด้วยหัวข้อซึ่งครอบคลุมดังนี้
  - หลักการและเหตุผลในการจัดทำสื่อ
- วัตถุประสงค์ในการจัดทำ เช่น ใช้ประกอบการสอน ใช้เป็นส่วนเสริมการเรียนรู้รายวิชา หรือใช้เรียนรู้ด้วยตนเองทั้งรายวิชา เป็นต้น
- ประเภทของสื่อ เช่น แบบทดสอบ สถานการณ์จำลอง หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น ทั้งนี้ให้อธิบายการใช้สื่อนั้นๆ ประกอบโดยสังเขป
2. บท (script) Flow chart
3. รายงานการประเมินผลสื่อที่นำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
4. รายงานการเผยแพร่สื่อ โดยระบุถึง
  - สถานที่ที่ใช้สื่อ เช่น ศูนย์การเรียนรู้ของคณะ ห้องสมุด เป็นต้น
- การเผยแพร่สื่อ เช่น มีการจัดจำหน่ายทั่วไป มีการขอทำสำเนาเพื่อไปใช้ในการศึกษาที่สถาบันอื่น หรือเผยแพร่บนเครือข่ายระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การประเมินสื่อการสอน
องค์ประกอบในการพิจารณา
 
    ในการประเมินคุณภาพของสื่อ จะพิจารณาทั้งในด้านเนื้อหาและวิธีการนำเสนอ ซึ่งควรกำหนดให้เนื้อหาและการนำเสนอสื่อ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน โดยการพิจารณา
  - เนื้อหา จะพิจารณาความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเนื้อหา
- การนำเสนอ จะพิจารณาขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การใช้เทคนิคและขั้นตอนการนำเสนอ ซึ่งจะต้องมีความน่าสนใจ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนติดตามบทเรียนตั้งแต่ต้นจนจบ ตรงตามหลักการของการนำเสนอโดยสื่อ
ผู้ประเมิน
       ในการพิจารณาสื่อการสอน จะต้องพิจารณาองค์ประกอบในด้านความถูกต้อง ปริมาณเนื้อหา และวิธีการนำเสนอ ซึ่งการประเมินทางด้านเนื้อหา ผู้ประเมินจะต้องมีความรู้ในศาสตร์สาขาวิชานั้นๆ ส่วนการประเมินวิธีการนำเสนอ ผู้ประเมินจะต้องมีความรู้ในด้านการผลิตสื่อ ดังนั้น ผู้ประเมินจึงควรประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในด้านเนื้อหาและการผลิตสื่อ ทั้งนี้ ผู้เสนอผลงานน่าจะได้มีโอกาสนำเสนอสื่อการสอนต่อคณะกรรมการ เพื่อให้การพิจารณาด้านวิธีการนำเสนอเป็นไปอย่างถูกต้องและยุติธรรม
"น้ำหนักของสื่อ มีค่าเทียบเท่ากับตำรา"
  ฝ่ายวิชาการ
12 ตุลาคม 2538
แนวทางปฏิบัติการพิจารณาสื่อการเรียนการสอนเป็นผลงานวิชาการ (มติที่ประชุม อ.ก.ม. ครั้งที่ 31/2538 วันที่ 18 ตุลาคม 2538)
       รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า ตามที่ที่ประชุม อ.ก.ม. ครั้งที่ 25/2538 วันที่ 23 สิงหาคม 2538 ได้มอบหมายให้ฝ่ายวิชาการพิจารณาผลงานสื่อการสอน ที่อาจารย์นำเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยให้เสนอแนวทางในการวัดและประเมินผลนั้น ฝ่ายวิชาการได้ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมา และได้ปรึกษาหารือแล้ว จึงเสนอแนวทางปฏิบัติการพิจารณาสื่อการเรียนการสอนเป็นผลงานทางวิชาการ เพื่อที่ประชุมพิจารณา (รายละเอียดอยู่ในเอกสารแนบท้ายรายงาน) ที่ประชุมพิจารณาแล้ว เห็นด้วยกับแนวทางปฏิบัติที่ฝ่ายวิชาการเสนอ และมีมิติให้ถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป แต่ขอให้ฝ่ายวิชาการรับไปพิจารณาเพิ่มเติม เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินสื่อการเรียนการสอน สำหรับงานระดับผ่าน ดี และดีมาก ว่าควรมีลักษณะอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการของคณะ/สถาบัน ต่อไปและขอให้ที่ประชุมกลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ ช่วยศึกษาว่า กรณีศึกษาที่เป็นการศึกษาสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น จะเข้าข่ายสื่อการเรียนการสอน หรือผลงานลักษณะใด และมีแนวทางการประเมินอย่างไร
เกณฑ์การประเมินผลงานสื่อการเรียนการสอน
  ตามที่ฝ่ายวิชาการได้เสนอแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาสื่อการเรียนการสอนเป็นผลงานทางวิชาการ ต่อที่ประชุม อ.ก.ม. ครั้งที่ 31/2538 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2538 โดยมีสาระสำคัญคือ การประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนการสอน จะต้องพิจารณาทั้งในด้านเนื้อหาและการนำเสนอ ดังนั้น ผู้ประเมินจึงควรประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในด้านเนื้อหาและการผลิตสื่อ โดยกำหนดให้น้ำหนักของสื่อมีค่าเทียบเท่ากับตำรำ ซึ่งที่ประชุม อ.ก.ม. เห็นด้วยกับแนวทางปฏิบัติที่ฝ่ายวิชาการเสนอ และมีมิติให้ถือเป็นหลักปฏิบัติต่อไป โดยขอให้ฝ่ายวิชาการรับไปพิจารณาเพิ่มเติม เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินสื่อการเรียนการสอน สำหรับงานระดับ ผ่าน ดี และดีมาก ว่าควรมีลักษณะอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการของคณะ/สถาบันต่อไป ฝ่ายวิชาการโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจ ได้พิจารณาแล้ว จึงเสนอเกณฑ์การประเมินผลงานสื่อการเรียนการสอนต่อที่ประชุม อ.ก.ม. เพื่อพิจารณาดังนี้
ระดับการพิจารณา ผ่าน ดี ดีมาก
เนื้อหา ถูกต้อง ถูกต้อง ลึกซึ้ง
และครบถ้วน
ถูกต้อง ลึกซึ้ง ครบถ้วน และอ้างอิงได้
เนื้อหาคำบรรยายแสดงถึงการค้นคว้าที่ลึกซึ้ง และสมบูรณ์
การนำเสนอ การใช้ภาพและเสียง ชัดเจน
สื่อความหมายถูกต้อง
ชัดเจน
สื่อความหมายถูกต้อง
และเหมาะสม
ชัดเจน สื่อความหมายถูกต้อง และเหมาะสม ใช้ภาพและเสียงซึ่งแสดงการจัดสรรอย่างประณีต และแสดงความคิดริเริ่ม ทำให้มีคุณภาพและคุณค่า ใช้เป็นต้นแบบได้
การเรียงลำดับเนื้อหา มีความต่อเนื่อง
และสัมพันธ์กัน
มีความต่อเนื่อง
และสัมพันธ์กัน
มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน มีกิจกรรมหลายรูปแบบที่เหมาะสม ทำให้เกิดความเร้าใจ และกระตุ้นชวนให้ติดตาม
ความยาวของสื่อ มีความเหมาะสมกับเนื้อหา มีความเหมาะสมกับเนื้อหา มีความเหมาะสมกับเนื้อหา
คู่มือ/เอกสาร มีคู่มือและเอกสาร
ประกอบการใช้สื่อ
มีคู่มือและเอกสาร
ประกอบการใช้สื่อ
มีคู่มือและเอกสารประกอบเนื้อหา และการใช้สื่อที่สมบูรณ์
   
ในการพิจารณาสื่อการเรียนการสอนที่นำมาเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ จะต้องผ่านเกณฑ์ในระดับ ดังนี้
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผลงานสื่อต้องอยู่ในระดับ ผ่าน เป็นอย่างน้อย
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ผลงานสื่อต้องอยู่ในระดับ ดี เป็นอย่างน้อย
ตำแหน่งศาสตราจารย์ ผลงานสื่อต้องอยู่ในระดับ ดีมาก เท่านั้น
<การส่งผลงาน><การประเมินสื่อการสอน><การพิจารณาสื่อการเรียนการสอนเป็นผลงานวิชาการ><เกณฑ์การประเมินผลงานสื่อการเรียนการสอน>