Gastrointestinal bleeding แนวทางการแก้ปัญหาเลือดออกในระบบทางเดินอาหารในเด็กคล้ายกับในผู้ใหญ่ คือ ให้การรักษาเบื้องต้น ในรายที่เลือดออกเฉียบพลัน วินิจฉัยหาสาเหต ุและรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ แนวทางในการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้การวินิจฉัย ควรพิจารณาจาก |
||||||||
|
||||||||
สาเหตุที่พบบ่อยในกลุ่มทารกแรกคลอด ได้แก่ |
||||||||
|
||||||||
สาเหตุในกลุ่มทารก 1 เดือน ถึง 2 ปี ได้แก่ |
||||||||
|
||||||||
สาเหตุในเด็กอายุ 2 ถึง 8 ปี ได้แก่ |
||||||||
|
||||||||
สาเหตุในเด็กอายุ 9-14 ปี ได้แก่ |
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
อาการและอาการแสดงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกับถ่ายเป็นเลือด เช่น |
||||||||
|
||||||||
การประเมินผู้ป่วยเพื่อการวินิจฉัย ยังต้องพิจารณาถึงพื้นฐานโรคเดิม หรือโรคประจำตัวของผู้ป่วย ทั้งโรคทางโลหิตวิทยา ซึ่งอาจมีผลทำให้เลือดออกง่าย หรือโรคอื่นๆ ที่อาจมีปัญหาสืบเนื่องให้มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร การประเมินผู้ป่วยยังต้องรวมไปถึง การประเมินปริมาณเลือดที่ออก และความรุนแรงของโรคด้วย โรคบางโรค เช่น โรค Peutz-Jeghers เป็นกลุ่มอาการของโรคที่มีเนื้องอก polyp ในลำไส้เล็ก ซึ่งทำให้มีเลือดออก อาจตรวจพบอาการแสดงที่มี discoloration ของริมฝีปาก ช่วยบ่งชี้โรคนี้ได้โดยง่าย ![]() |
||||||||
|
||||||||
![]() ![]() |
||||||||
พบบ่อยในเด็ก 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นทารกแรกคลอดที่มีปัญหา เช่น มี asphyxia หรือ anoxia ระหว่างคลอด หรือหลังคลอดใหม่ๆ หรือมี stress จากภาวะติดเชื้อ หรือความพิการต่างๆ กลุ่มที่สอง เป็นเด็กอายุ 1-3 เดือน ที่ถ่ายเป็นเลือด หลังจากมีอาการท้องเสียรุนแรง อุจจาระในเด็กทั้ง 2 กลุ่ม มีลักษณะเหลว มีมูกปนเลือดสีคล้ำ กลิ่นเหม็น เลือดมักจะออกพร้อมๆ กับอาการท้องอืด ผู้ป่วยซึมลง และอาจมีไข้สูง ถ้าโรคดำเนินต่อไป ลำไส้อาจจะเน่าตาย และทะลุ ทำให้เด็กเสียชีวิตจากการติดเชื้อรุนแรง ภาวะ NEC ในทารกแรกคลอดนั้น ยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า การขาดเลือดไปเลี้ยงระบบทางเดินอาหารในช่วงระยะหนึ่ง การเพิ่มเชื้อแบคทีเรีย และ endotoxin และการให้อาหารที่มีความเข้มข้นสูง เข้าไปในลำไส้ อาจเป็นปัจจัยสำคัญ ภาพรังสีของช่องท้องในระยะแรก
มักจะเห็นเฉพาะ ileus ของลำไส้ทั่วๆ
ไป ในระยะต่อมา อาจสังเกตเห็น ลำไส้ที่ขยายตัว ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิม (fixed
dilated bowel loop) และต่อมาจะเห็น เงาอากาศแทรกในผนังลำไส้ (pneumatosis
intestinalis) Treatment |
||||||||
|
||||||||
หลักของศัลยกรรมคือ ตัดเอาลำไส้ส่วนที่เสียหรือเน่าออก แล้วเปิดปลายลำไส้ออกทางผนังหน้าท้อง (enterostomy) ก่อน ไม่ควรต่อลำไส้ในระยะนี้ เพราะมีโอกาสรั่วสูง เมื่อสภาพเด็กสมบูรณ์ขึ้น และสามารถเตรียมลำไส้ได้สะอาด จึงนัดมาผ่าตัดต่อลำไส้ในภายหลัง | ||||||||
![]() |
||||||||
เป็นสาเหตุให้เกิดเลือดออกจากการมี
ectopic gastric mucosa ใน diverticulum ![]() ![]() ![]() |
||||||||
![]() ![]() |
||||||||
Polyp
เป็นสาเหตุของการถ่ายเป็นเลือดในเด็กอายุระหว่าง 2-8 ปี ส่วนมากมักพบในตำแหน่ง
rectum ในเด็กส่วนมากเป็นประเภท
juvenile การรักษา คือ ตัด polyp ออก โดยผูก หรือใช้ไฟฟ้าจี้ที่ขั้ว ในรายที่ polyp อยู่ลึกที่ควรทำ endoscopic polypectomy สำหรับ
polyp ที่พบจำนวนมากอยู่ตลอดลำไส้ในเด็ก มักจะอยู่ในกลุ่ม familial polyposis
coli |
||||||||
![]() ![]() |
||||||||
การอักเสบของลำไส้เล็กเป็นช่วงๆ พบได้บ่อยในเด็กไทย แต่พบน้อยมากในประเทศตะวันตก เด็กส่วนหนึ่งมักจะได้รับการวินิจฉัยผิดพลาด ว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ผู้ป่วยส่วนมาก มีประวัติปวดท้อง ร่วมกับถ่ายอุจจาระเหลว โดยมีมูกและเลือดปน การตรวจร่างกาย อาจไม่พบตำแหน่งที่ปวดท้องแน่นอน ภาพรังสีช่องท้อง มักจะเห็นเป็นลักษณะ ileus และผนังลำไส้มีลักษณะบวมหนา ควรรักษาโดยใช้วิธีไม่ผ่าตัดก่อน โดยงดอาหารและน้ำทางปาก และให้น้ำเกลือร่วมกับยาปฏิชีวนะ ทางหลอดเลือดดำ ควรผ่าตัด ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือเลวลง หรือไม่แน่ใจในการวินิจฉัย เมื่อพบลำไส้อักเสบเป็น segmental enteritis ที่มีผนังลำไส้เน่าตาย หรือทะลุ แนะนำให้ตัดออกเป็นช่วงๆ |
||||||||
![]() ![]() |
||||||||
แผลฉีกขาดที่ผิวหนังปากทวารหนัก
เป็นสาเหตุของการถ่ายเป็นเลือด ที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก ถ้ารวมเด็กทุกกลุ่มอายุ
สาเหตุส่วนมาก เกิดจากท้องผูก ซึ่งทำให้อุจจาระแข็ง และเป็นก้อนใหญ่ เมื่อขับถ่ายออกมาจะครูด
และบาดผิวหนังปากทวารหนักให้ฉีกขาด มักพบบริเวณขอบปากทวารหนักด้านหลัง |
||||||||
|
||||||||
References | ||||||||
|
||||||||
Copyright (c) Chulalongkorn University
|