GLIAL  CELLS
        เซลล์ที่ค้ำจุนในระบบประสาท ประกอบด้วย Neuroglia หรือ glial cells ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
      1. Glial  cells  ในระบบประสาทส่วนกลาง
      2. Glial  cells  ในระบบประสาทส่วนปลาย


Glial  cells  ในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)
        ในระบบประสาทส่วนกลางจะพบว่ามีเซลล์ค้ำจุนแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ประสาท เดิมคิดว่าเป็น amorphous intercellular substance รอบๆ เซลล์ประสาทจึงเรียกว่า glia ซึ่งแปลว่า glue (กาว) เพราะคิดว่าเป็นสารที่เชื่อมอยู่ ระหว่างเซลล์ประสาท จากการศึกษาโดย electronmicroscope จึงพบว่าเป็นเซลล์อีกพวกหนึ่งนอกเหนือจากเซลล์ประสาท ซึ่งมีจำนวนมากกว่า เซลล์ประสาทถึง 10 เท่า
ใน CNS  พบ glial cell  4  ชนิดได้แก่  (รูปที่ 42)
Click for Big Picture
รูปที่ 42



Astrocytes
        เป็นเซลล์ที่รูปร่างคล้ายดาว แทรกอยู่ระหว่างเซลล์ประสาท  แบ่งเป็น 2 ชนิด คือprotoplasmic astrocytes และ fibrous astrocyte
        Protoplasmic astrocyte (รูปที่ 43 ) พบใน gray matter ส่วน fibrous astrocytes (รูปที่ 44 ) พบใน white matter จาก electronmicroscope พบว่ามี fibril ขนาด 8-9 nm เป็นจำนวนมากคล้าย neurofilament และมี polymerized strand ที่เรียกว่า glia fibrillary acidic protein (GFAP) และพวก vimentin         GFAP  พบใน mature astrocyte ส่วน vimentin พบใน immature astrocyte นอกจากนี้ยังพบ acidic Ca++ binding protein ชื่อ S-100 protein เช่นเดียวกับเซลล์อื่นๆ ในระบบประสาท
Click for Big Picture
รูปที่ 43
Click for Big Picture
รูปที่ 44
        Astrocyte จะแทรกตัวอยู่ใน extraneuronal space มี process ยาว และไปโอบรอบ boutons, dendrites และ cell body บริเวณที่ astrocyte ติดกับ astrocyte ตัวอื่น หรือ oligodendrocyte จะมี gap junction เกิดขึ้น นอกจากนี้ astrocyte ยังไปโอบรอบ capillaries (v) (รูปที่ 45) และที่บริเวณผิวของสมอง astrocyte จะคลุมอยู่เป็นชั้น หนาหลายไมโครมิเตอร์ แทรกระหว่างเนื้อสมองและ pia mater เรียกว่า glial limiting membrane
Click for Big Picture
รูปที่ 45
บทบาทและหน้าที่ของ Astrocyte
        1. Astrocyte ทำหน้าที่เป็น structural support ของเนื้อเยื่อระบบประสาท ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก astrocyte มี filament เรียงตัวกันเป็น bundle เป็นปริมาณมากพอสมควรทำให้เซลล์ค่อนข้างแข็ง นอกจากนี้เนื่องจาก astrocyte ยังเกาะติดกันด้วย gap junction และไปยึดติดกับหลอดเลือดด้วย จึงทำให้ astrocyte ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นโครงกระดูกของ CNS
        2. มีบทบาททางด้าน trophic role ต่อเซลล์ประสาท โดยการปล่อย metabolites ไปสู่เซลล์ประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เซลล์ประสาทมีความต้องการ metabolites สูง เช่นในขณะที่มี activity เพิ่มมากขึ้นและนาน นอกจากนี้พบว่ามีการส่ง RNA หรือ nucleotide รวมทั้ง growth factor จาก glial cell ไปสู่เซลล์ประสาทด้วย
        3. ในช่อง development ของระบบประสาท radial glial cell ใน embryo จะทำหน้าที่ชี้ทิศทางให้เซลล์ประสาท migrate ไป เช่นใน neural tube      radial glial cell จะสร้าง process ยื่นจาก central canal ไปสู่ผิวและทำร่างแหให้ neuroblast สามารถ migrate ไปได้ทันที่ที่ neuroblasts ไปถึงจุดหมาย radial glial cells ก็จะปรับเปลี่ยนตัวเอาไปเป็น mature astrocyte
        4. Astrocyte ทำหน้าที่เป็น ionic homeostasis ของ neuronal environment ในขณะที่มี neuronal ctivity จะพบว่ามี K+ astrocyte เพิ่มมากขึ้นบริเวณรอบๆ เซลล์ประสาท astrocyte จะทำหน้าที่เก็บ K+ ที่เกินไป แล้วส่งถ่ายไปยังบริเวณที่มี K+  ต่ำได้  และยังสามารถเก็บสะสม K+  ภายใน astrocyte ได้ในรูปของ KCL
        5. Astrocyte มีบทบาทในเรื่องของ blood-brain barrier หลอดเลือดฝอยในระบบประสาท จะมี astrocytic sheath ล้อมรอบ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการสร้างและการคงไว้ของ tight junction ระหว่าง endothelial cells
        6. บทบาทของ astrocyte เมื่อมีการทำลายเนื้อเยื่อระบบประสาทส่วนกลาง จะพบว่า astrocyte จะเปลี่ยนแปลง ตัวเองเป็น reactive astrocyte ซึ่งจะมีการแบ่งตัวแบบ mitosis เพิ่ม glycogen ภายในเซลล์ และพบว่ามีความสามารถ ในการ phagocytosis พวกเนื้อเยื่อที่เสื่อมสลายไปได้บ้าง ทั้งนี้เนื่องจากพบ myelin fragments และ dense body ภายใน reactive astrocyte บางคนเชื่อว่าเซลล์พวกนี้ทำหน้าที่เก็บกินสิ่งต่างๆ ที่สลายตัวอยู่ ต่อมา reactive astrocyte จะเพิ่มขนาดและเพิ่มประมาณของ filament รวมทั้ง golgi apparatus ด้วย ในที่สุด astrocyte พวกนี้จะไปอยู่ในบริเวณที่ มีการสูญเสียเซลล์ประสาทไป เกิดเป็น neuroglial scar ซึ่งอาจจะขัดขวางการงอกใหม่ของเซลล์ประสาท องค์ประกอบสำคัญของ intermediate filament ใน reactive astrocytes คือ glial fibrillary acidic protein (GFAP)



Oligodendrocytes
        เป็น glial cell ขนาดเล็ก มี process ไม่มาก (รูปที่ 46 ) ส่วนใหญ่จะพบใน white matter ของ CNS แต่ก็พบได้ใน gray matter    ใน white matter จะเรียงตัวเป็นแถว ท่ามกลาง เส้นใยประสาทจึงเรียกว่า interfascicular oligodendrocyte    ส่วนใน gray matter จะอยู่ร่วมกับ กลุ่มของเส้นใยประสาท หรืออยู่บนผิวของ body ของเส้นประสาท  ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่า satellite  oligodendrocyte     Glial cell ชนิดนี้จะไม่มีการฟอร์ม end-feet บนผนังของหลอดเลือด
Click for Big Picture
รูปที่ 46
        ใน electronmicroscope (รูปที่ 47) จะพบว่ามี granular endoplasmic reticulum () เป็นจำนวนมาก มี cisternae สั้นๆ เรียงตัวเป็นชั้นๆ และมี free polysomes จำนวนมากกว่าใน astrocytes แต่ glycogen granules ไม่ค่อยพบ Golgi apparatus เจริญดี และ mitochondria มีรูปร่างปกติ พบ filament น้อย แต่ microtubules พบเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็พบมากใน process ด้วย (รูปที่ 48) (p)
Click for Big Picture
รูปที่ 47
Click for Big Picture
รูปที่ 48

บทบาทและหน้าที่ของ Oligodendrocytes
        1. Oligodendrocyte   ทำหน้าที่สร้าง myelin ใน CNS      ในขณะที่ Schwann cell จะสร้าง myelin sheeth ใน PNS    โดย Schwann cell 1 ตัวจะสร้าง 1 internode  และหลายๆ axon ด้วย  แต่ละ internode จะสร้างโดย process ของ oligodendrocyte   เคยมีรายงานว่า  oligodendrocyte  1 เซลล์สามารถสร้างได้ถึง 60 internodes  ส่วนประกอบของ  central  และ  peripheral  myelin   ที่เป็น  lipid  นั้นจะต่างกันที่ปริมาณ  กล่าวคือ ใน central myelin จะมี galactocerebroside สูง แต่ phosphotidylcholine  และ  sphingomyelin  ต่ำกว่า peripheral  myelin     สำหรับองค์ประกอบที่เป็นโปรตีนจะต่างกันมาก  ใน  central  myelin   จะเป็น  PLP (proteolipid  protein,  molecular weight  25,000)   MBP (myelin basic protein,  molecular weight 18,500) และ DM20 (intermediate protein, molecular weight 20,500)  ใน central myelin  พบ PLP โปรตีนประมาณ 50% และ MBP โปรตีน 30-35%         MBP โปรตีนเป็น antigen ที่ชักนำให้เกิดโรค autoimmune ได้
        2. Oligodendrocytes  และ  central myelin  ประกอบด้วย membrane protein  ซึ่งมีผลขัดขวางการงอกของ axon  จึงทำให้การงอกใหม่ของ axon ใน white matter ถูกจำกัด




Microglial  Cells
        Microglia เป็นเซลล์ขนาดเล็ก มี process เป็นรูปกระสวยจำนวนเล็กน้อย (รูปที่ 49 ) พบได้ทั้งใน gray และ white matter ในสภาวะปกติมีจำนวนประมาณ 5-10% ของจำนวน glia ทั้งหมด และไม่ active แต่ถ้ามีการบาดเจ็บหรือมีการอักเสบของเนื้อสมอง เซลล์นี้จะ active และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งเคลื่อนตัว ไปสู่ตำแหน่งที่มีการบาดเจ็บของสมอง เพื่อจะทำหน้าที่ เก็บกินเศษเซลล์ myelin fragments (รูปที่ 50 [) และเซลล์ประสาทที่บาดเจ็บ จึงเรียกเซลล์พวกนี้ว่า phagocyte
Click for Big Picture
รูปที่ 50
Click for Big Picture
รูปที่ 49
        นอกจากจะมี microglia ที่ทำหน้าที่เป็น phagocyte แล้ว ในขณะที่เนื้อเยื่อสมองมีการอักเสบหรือบาดเจ็บ จะมีการสูญเสีย blood brain barrier ซึ่งทำให้ macrophages จากเลือดเคลื่อนตัวเข้ามาในเนื้อสมองได้ และทำหน้าที่เช่นเดียวกับ microglia



Ependymal  Cells
        เป็นเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นเยื่อบุผิวด้านในของช่องว่างที่เจริญจากท่อของ neural tube   ได้แก่ central canal ของไขสันหลังและ ventricles ของสมอง

รูปร่างและความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์
        Ependymal cell จะมีรูปร่างอย่างไรขึ้นกับ ตำแหน่งที่อยู่ โดยอาจจะมีรูปร่างแบน cuboid หรือ columnar ก็ได้ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะมีความสูงอยู่ใน ระหว่าง 0.2-15 mm บนผิวเซลล์ด้านที่หันเข้าสู่ช่องว่างจะมี microvilli เสมอ และอาจจะมี cilia ด้วย (รูปที่ 51 ) Microvilli จะช่วยเพิ่มพื้นที่ผิว มักจะมีความยาวและ เส้นผ่านกลางที่แตกต่างกัน และเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ     Cilia พบเป็นจำนวนมากในบางบริเวณ เช่น ส่วนบนๆ ของ third ventricle ในขณะที่บริเวณส่วนล่างจะไม่พบ cilia    บทบาทของ cilia คือ ทำให้มีการเคลื่อนที่ของน้ำหล่อเลี้ยง ไขสันหลังอย่างต่อเนื่อง ผนังทางด้านข้างของเซลล์จะพบว่า มีส่วนยื่นคล้ายนิ้วมือประสานกันระหว่างเซลล์ที่ติดกัน บริเวณใกล้ๆ กับ apex จะมี intercellular junction (รูปที่ 52 [) ที่เรียกว่า terminal bars ซึ่งประกอบด้วย adherent และ gap junctions บางบริเวณจะพบ tight junction ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันการซึมผ่านของสาร ระหว่างน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังและเนื้อเยื่อประสาท
Click for Big Picture
รูปที่ 51

รูปที่ 52



Glial  cells  ในระบบประสาทส่วนปลาย (PNS)
        ในระบบประสาทส่วนปลายจะพบว่ามี Schwann cells  เป็น supporting cell  ซึ่งจะทำหน้าที่หลักเช่นเดียวกับ glial cell ทั้งสามชนิดใน CNS ได้แก่ แทรกตัวไปในระหว่าง unmyelinated axon และเซลล์ประสาท (รูปที่ 53) เช่นเดียวกับ astrocyte ทำหน้าที่เป็น phagocyte เช่นเดียวกับ microglia และสร้าง myelin (รูปที่ 54 ) เช่นเดียวกับ oligodendroglia
Click for Big Picture
รูปที่ 53
Click for Big Picture
รูปที่ 54
         Schwann  cells   ทำหน้าที่สร้างโปรตีน laminin,  fibronectin  และ collagen  ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของ basal lamina  ของเซลล์ประสาทและ extracellular matrix
        นอกจาก Schwann cells แล้ว เซลล์ประสาทใน ปมประสาทจะมี satellite cells ล้อมรอบอยู่ (รูปที่ 55 ) ซึ่งเดิมเคยคิดว่าเป็น supporting cell อีกพวกหนึ่ง แต่ในปัจจุบันพบว่า satellete cell นั้น ไม่ได้มีความ แตกต่างไปจาก Schwann cell เลย  ดังนั้น satellite cell หรือ Schwann cell ที่ล้อมรอบเซลล์ประสาทในปมประสาท จะเรียงตัวรอบๆ เซลล์ประสาทเพียงชั้นเดียว ทำหน้าที่ แยกเซลล์ประสาทออกจาก extracellular environment ซึ่งเป็นหน้าที่เดียวกันกับ astrocyte  ช่องว่างระหว่าง เซลล์ประสาทและ Schwann cells จะลดลงเหลือประมาณ 20 nm. การที่ Schwann cell ล้อมรอบ ganglion cell จะแผ่ขยายไปถึง axon ด้วย    โดยเฉพาะ axon ที่มี ขนาดใหญ่ โดยการสร้าง myelin หุ้ม  นอกจากนี้ Schwann cell จะโอบรอบ unmylinated axon เป็นกลุ่มๆ ทำให้ axon ทั้งหมดถูกแยกตัวจาก extracellular environment
Click for Big Picture
รูปที่ 55


Myelin
        Myelin   สร้างโดย  oligodendrocyte  ใน CNS  และ Schwann cell ใน PNS   โดยที่เซลล์เหล่านี้จะม้วนตัวรอบๆ axon เป็นชั้นๆ (รูปที่ 56)   Myelin จะเรียงตัวเป็นท่อนๆ ตามความยาวขอ axon  ซึ่งจะแยกกันโดย nodes of  Ranvier (รูปที่ 57 )     Myelin ใน CNS และ PNS จะมีความแตกต่างกันเนื่องมาจากวิธีการสร้างที่ต่างกัน
Click for Big Picture
Click for Big Picture
รูปที่ 56
รูปที่ 57
         Peripheral  myelin ซึ่งสร้างโดย  Schwann cell นั้น   1 Schwann cell จะสร้าง myelin 1 ปล้องของ axon 1 เส้น เท่านั้น   โดย Schwann cell จะโอบรอบ axon แล้วส่วนชั้นนอกของ cell membrane จะมาประชิดกันรวมเป็น mesaxon แล้วขอบที่มาประชิดกับด้านหนึ่งจะเลื่อนเข้ามาอีกด้านหนึ่งเกิดเป็น inner และ outer lip   ส่วน outer lip จะประกอบด้วย nucleus และ cytoplasm เป็นส่วนใหญ่    ส่วน inner lip จะไปพันรอบๆ axon เป็นชั้นๆ ดังนั้น จะมีการประชิดกันของ outer surface ของ cell membrane และช่อง inner surface (cytoplasmic face) ของ cell membrane เกิดเป็นชั้น สีอ่อนและเข้ม ตามลำดับ มีชื่อเรียกว่า intraperiod line และ major dense line  ในภาพ electron micrograph ทำให้เห็นว่า myelin มีลักษณะเป็นชั้นๆ
        สำหรับ Central myelin  ซึ่งสร้างโดย oligodendrocyte  ซึ่งยื่น process ไปสู่หลายๆ axon  โดยจะสร้าง myelin segment 1 segment  ดังนั้น oligodendrocyte 1 เซลล์ สามารถสร้าง myelin 1 segment บน axon จำนวน 20-60 axon  จำนวนชั้นของ myelin ที่พันรอบ axon ใน CNS จะน้อยกว่าใน PNS

โครงสร้างทางเคมีของ Myelin
        Myelin  ประกอบด้วย lipid ประมาณ 70% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Cholesterol และ Cerebroside ส่วนโปรตีนมีหลายชนิด ที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ myelin basic protein (MBP), proteolipid protein (PLP) และ protein zero (Po)
        MBP  พบทั้งใน central และ peripheral myelin โดยพบว่ามีปริมาณ 30% และ 18% ของโปรตีนทั้งหมดใน central และ peripheral myelin ตามลำดับ พบที่ cytoplasmic face ของ cell membrane  โมเลกุลของ MBP สร้างจากโปรตีน 7 ชนิด ซึ่งควบคุมโดย gene เดี่ยว  MBP มีบทบาทสำคัญในการเกาะติดของ CNS myelin ที่ major dense line
        PLP เป็นโปรตีนที่ membrane พบเฉพาะใน central myelin  มีปริมาณ 50% ของโปรตีนทั้งหมด  ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ extracellular side ของ membrane     PLP มีบทบาทสำคัญในการเกาะติดของ myelin ที่ intraperiod line  พบว่าถ้ามี mutation ของ PLP gene จะเกิดโรค Pelizaens-Merzbacher disease ซึ่งในโรคนี้จะไม่พบ CNS  myelin เลยแต่ peripheral myelin ปกติ
        Po เป็น membrane glycoprotein พบเฉพาะที่ peripheral myelin มีจำนวนประมาณกี่งหนึ่งของ protein ทั้งหมด ใน peripheral myelin มีบทบาทหน้าที่เช่นเดียวกับ PLP ใน central myelin แต่โครงสร้างต่างกับ Po เป็น homophilic cell adhesion protein และมีบทบาทสำคัญในการเกาะยึดของ myelin membrane ที่ intraperiod line แต่ก็ยังมีบทบาท ในการสร้าง major dense line ด้วย   ทั้งนี้เนื่องจากว่า peripheral myelin  จะยังคงปรากฎเป็นปกติ   แม้ว่า  MBP จะผิดปกติยังไม่พบว่ามี genetic disease  ที่ associate กับ mutation ของ Po gene
        นอกจาก  Pelizaeus - Merzbacher  disease  แล้ว  ยังมีกลุ่มโรคของ  myelin  รวมเข้าด้วยกันเรียกว่า leukodystrophies  ซึ่งเป็น progressive neuronal diseases ที่เกิดจากความผิดปกติทางเมตาบอลิกของ myelin มี hypomyelination
        โปรตีนใน myelin เป็น antigens ที่แรง    Multiple sclerosis เป็น autoimmune disease ที่มีการต้าน central myelin   ส่วน Guillian Barre’ syndrome เป้น autoimmune disease ที่มีการต้านต่อ peripheral myelin


<HOME><Main Menu><Top of Page><References><MD.CU.>