วิธีการในการแสวงหาความรู้

นับจากอดีต มาจนปัจจุบัน มนุษย์พยายามแสวงหา ความรู้ ด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อพยายาม อธิบายเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้น วิธีการ ในการแสวงหา ความรู้ ของมนุษย์ ได้พัฒนา มาเป็นเวลานาน ซึ่งพอจะ จำแนกได้ เป็น 5 วิธี (จรัส สุวรรณเวลา 2529) คือ

1. วิธีเชื่อต่อ ๆ กันมา (Method of Tenacity) โดยเชื่อ คำบอกเล่า หรือเชื่อตาม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิธีปฏิบัติ ที่บอกต่อ ๆ กันมา โดยมีผู้ทำมาอย่างไรในอดีต ก็เชื่อตามนั้น
2. วิธีเชื่อผู้ที่มีอำนาจ (Method of Authority) โดยเรียนรู้ จากผู้มีอำนาจ หรือผู้เหนือกว่า เช่น อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่สอนไว้อย่างไร ก็เชื่อตามนั้น โดยไม่ได้ใช้วิจารณญาณ ไตร่ตรองถึงความถูกต้องเสียก่อน
3. วิธีสัญชาตญาณ (Method of Intuition) หมายความว่า ใช้สัญชาตญาณ หรือลางสังหรณ์ เป็นเกณฑ์ เช่น มีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น ก็เชื่อว่า ต่อไปจะเป็นอย่างโน้น อย่างนี้ ตามลางสังหรณ์นั้น
4. วิธีลองผิดลองถูก (Method of Trial and Error) เช่น เคยใช้ยาอย่างนี้ แล้วคนไข้หาย ต่อไป ก็จะใช้ยาตัวนี้อีก ถ้าคนไข้มา ด้วยอาการคล้าย ๆ กัน
5. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Method of Science) เป็นวิธีการ ที่รวมเอาหลักการ และวิธีการ ที่สำคัญ ของการ อนุมาน (Deduction) ซึ่งเป็นการ หาเหตุผล โดยนำหลักการ ของข้อเท็จจริงใหญ่ หรือข้อสรุปที่กว้าง ซึ่งเป็นเหตุผล ที่เป็นจริง ในกรณีทั่วไป ทุกกรณี ไปอธิบายข้อเท็จจริงย่อย หรือกรณีเฉพาะ เช่น ถ้าประโยคอ้าง ซึ่งเป็นกรณีทั่วไป เป็นจริง กรณีเฉพาะที่แคบ ก็มีเหตุผลเชื่อถือได้ ว่าเป็นจริง ร่วมกับการอุปมาน (Induction) ซึ่งเป็นการ รวบรวมข้อเท็จจริงย่อย จากกรณีเฉพาะ มาสรุปรวม เป็นข้อเท็จจริงใหญ่ คือข้อสรุป ที่กว้าง เป็นเหตุผลที่เป็นจริง ในกรณีทั่วไป การแสวงหา ความรู้ โดยวิธีทาง วิทยาศาสตร์นี้ เป็นวิธีที่น่าเชื่อถือได้ กว่าวิธีการอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว เพราะเป็นการค้นคว้า อย่างมีระบบ และมีเหตุผล

วิธีในการ แสวงหาความรู้ทั้ง 5 วิธีนี้ วิธีที่นำมาใช้ เพื่อการวิจัย เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีการ และขั้นตอน ในการแสวงหา ความรู้ที่เป็นระบบ ประกอบด้วย หลักตรรกศาสตร์ และเหตุผล อันน่าจะมีความเชื่อถือได้ มากกว่าวิธีอื่น ๆ ซึ่งขั้นตอน ของกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์นี้ จะได้นำมาอธิบายในหัวข้อต่อไป

 

หลักเบื้องต้นในการวิจัย HOME ขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์