ก่อนที่จะกล่าวถึง "การเขียนโครงร่างการวิจัย" ขอเสนอแนวคิดโดยสังเขปเกี่ยวกับหลักและวิธีวิจัย 5 ประการ คือ
วิจัยคืออะไร
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
เกณฑ์ในการพิจารณาว่ากิจกรรมใดเป็นงานวิจัยหรือไม่
ทำอย่างไรจึงจะทำให้งานวิจัยถูกต้องและเชื่อถือได้
ทำไมต้องเขียนโครงร่างการวิจัย
การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าความจริงในธรรมชาติ อย่างเป็นระบบ ระเบียบ เพื่อแสวงหาคำตอบ สำหรับคำถามที่กำหนดไว้ เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ซึ่งทำให้เกิด ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเกิดประโยน์ในทางปฏิบัติ ด้วยกระบวนการ อันเป็นที่ยอมรับ ในวิทยาการของแต่ละสาขา ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว นิยมใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพราะเชื่อว่าวิธีการนี้จะมีความถูกต้อง และเชื่อถือได้มากที่สุด
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนามาจาก การอธิบายความเป็นเหตุเป็นผลกัน ของปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ โดยวิธีการอนุมาน และอุปมาน ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การพิสูจน์สมมติฐาน และการสรุปผล ดัง ได้แสดงไว้ ในภาพที่ 1
ภาพที่ 1 ขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นที่
1 การกำหนดปัญหา
การวิจัยที่ดี
ควรจะเริ่มต้นด้วยปัญหา
หรือคำถามเสมอ
เพราะการกำหนดคำถามของการวิจัย
เป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนการวิจัย
ในขั้นต่อ ๆ ไป
ขั้นที่
2 การตั้งสมมติฐาน
เป็นการคาดการณ์
หรือทำนายความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปร ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการคาดการณ์
ถึงคำตอบที่เป็นไปได้
ของปัญหาการวิจัย ที่ได้กำหนดไว้
ขั้นที่
3 การพิสูจน์สมมติฐาน
โดยการไปเก็บรวบรวมข้อมูล
ด้วยรูปแบบการวิจัย (design)
และระเบียบวิธีวิจัย (methodology)
ที่เหมาะสม
จากนั้นจึงนำข้อมูลที่รวบรวมได้
มาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคทางสถิติที่เหมาะสม
ขั้นที่
4 การสรุปผล
ถ้าข้อสรุปนั้น
สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ก็ได้สมมติฐานใหม่
แต่ถ้าขัดแย้งกัน
ก็อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนสมมุติฐานที่ตั้งไว้เดิม
โดยความเป็นจริงแล้ว กระบวนการไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่นี้ เพราะผลจากความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้จากการวิจัย จะเป็นจุดเริ่มต้น ให้เกิดคำถามใหม่ เพื่อรอการพิสูจน์อีก วนเวียนกันไปเช่นนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด
การตัดสินว่า กิจกรรมใดเป็นงานวิจัยหรือไม่นั้น บางกรณีก็สามารถบอกได้ชัดเจนว่า เป็นหรือไม่เป็นงานวิจัย แต่มีอยู่หลายกรณี ที่ไม่สามารถระบุลงได้ชัดเจน เช่น การทบทวนวรรณกรรม (review literatures) การรายงานผู้ป่วย (case report หรือ case series) บทฟื้นฟูวิชาการ หรือบทความพิเศษ เป็นต้น
การพิจารณาว่ากิจกรรมใดเป็นงานวิจัยหรือไม่ อาจใช้เกณฑ์โดยสังเขปในการพิจารณา 4 ประการ คือ
เกณฑ์ข้อ
1
กิจกรรมนั้นมีความสมบูรณ์ของกระบวนการหรือไม่
?
หมายความว่า
กิจกรรมนั้นจะต้องใช้ทั้ง กาย วาจา
และใจ อันได้แก่
ใช้ความคิดในการกำหนดปัญหาที่เหมาะสม
มีคุณค่า เกิดประโยชน์ และน่าสนใจ
จากนั้นจึงมีการดำเนินการวิจัย
(ใช้กาย)
ในการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์
และแปลผล
แล้วจึงถึงกระบวนการขั้นสุดท้าย
คือ การเผยแพร่ผลการวิจัยนั้น
ซึ่งอาจจะกระทำโดย
เสนอในที่ประชุมวิชาการ
หรือนำลงตีพิมพ์ในวารสารที่เชื่อถือได้
และเป็นที่ยอมรับ
เกณฑ์ข้อ
2 งานนั้นมีความลึกซึ้งพอหรือไม่ ?
หมายความว่า
มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ ระเบียบ
อย่างต่อเนื่อง และยาวนานพอหรือไม่
เกณฑ์ข้อ
3 เกิดความรู้ใหม่หรือไม่ ?
หมายความว่า
งานนั้นก่อให้เกิดความรู้ใหม่
แก่วงการนั้นหรือไม่ ด้วยเหตุนี้
การศึกษาที่เลียนแบบงานวิจัยของผู้อื่น
ที่ได้ทำไว้อย่างถูกต้อง
และเชื่อถือได้แล้ว
จึงไม่อาจนับว่าเป็นงานวิจัยได้
เกณฑ์ข้อ
4
มีความถูกต้องและความเชื่อถือได้หรือไม่
?
หมายความว่า
กิจกรรมนั้น
มีกระบวนการในการป้องกัน
หรือหลีกเลี่ยงความคลาดเคลื่อน
(error) หรืออคติ (bias) ต่าง ๆ
ที่อาจจะเกิดขึ้น
จากการวิจัยหรือไม่
การวิจัย มีเป้าหมายเพื่อ ค้นหาคำตอบที่เป็นความจริง (truth) ต้องการผลิตความรู้ใหม่ ที่ถูกต้อง และเชื่อถือได้ โดยหวังว่า ความรู้ใหม่นั้น จะสะท้อนถึง ความจริงในธรรมชาติ สามารถทำนาย การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นโดยตัวของมันเอง และในบางครั้ง ผู้วิจัยก็มีการเปลี่ยนแปลง หรือควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น มีการกำหนดให้ตัวอย่าง (sample) กลุ่มหนึ่ง ได้รับปัจจัยเสี่ยง (exposure) หรือ ได้รับสิ่งแทรกแซง (intervention) ที่ต้องการทดสอบประสิทธิผล การกระทำดังกล่าว จะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า เป้าหมายของการวิจัย ต้องการค้นหาความจริง แต่ผล (result) ที่ได้จากการวิจัย มักไม่ได้ความจริง แต่สิ่งที่ได้ มักเป็น "ข้อเท็จผสมจริง" เพราะมีทั้งความจริง และความเท็จ (ความคลาดเคลื่อน) ปน ๆ กันอยุ่ ในผลของการวิจัยนั้น (ดูภาพที่ 2) โดยเราไม่มีทางทราบว่า โดยความจริงของธรรมชาติแล้ว ผลเป็นอย่างไร เช่น เราสรุปผลจากการวิจัยว่า ความชุกของโรคตับอักเสบชนิด บี ในชุมชน เท่ากับ 10 เปอร์เซนต์ หรือสรุปว่า การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยง ของโรคความดันโลหิตสูง หรือยา ก. มีประสิทธิผลที่ดี ในการรักษาโรค ข. แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่ เราไม่สามารถทราบได้แน่ชัด
ดังนั้น การพิจารณาว่า ผลของการวิจัยถูกต้อง และเชื่อถือได้หรือไม่ จึงจำเป็นต้องพิจาณาจาก " วิธีการ" หรือ "กระบวนการ" ในการไปค้นหาข้อความรู้ ของงานวิจัยนั้น ๆ ว่าถูกต้อง และน่าเชื่อถือได้ มากน้อยเพียงใด ถ้าวิธีการดังกล่าว ถูกต้องและเชื่อถือได้ เราก็หวังว่า ผลการวิจัยนั้น น่าจะใกล้เคียงความจริง แต่ถ้าวิธีการในการไปค้นหาความรู้นั้น ไม่ถูกต้อง และไม่น่าเชื่อถือ ผลที่ได้จากการวิจัยนั้น ไม่น่าจะถูกต้อง
ดังนั้น ในการทำวิจัย นักวิจัยจำเป็นต้องหามาตรการ ในการป้องกัน หรือลดค่าความเท็จ อันอาจจะเกิดขึ้น จากการทำวิจัย ให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อที่ผลการวิจัย จะใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ ของการวิจัยนั่นเอง
ความเท็จ หรือความคลาดเคลื่อน (error) ที่อาจเกิดขึ้นจากการวิจัย อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท (ภาพที่ 2) ได้แก่
1) ความคลาดเคลื่อนอย่างมีระบบ (Systematic Error) หรืออคติ (bias)
2) ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม (Random Error) หรือสิ่งรบกวน (noise) ซึ่งมักเกิดจากความบังเอิญ
ภาพที่ 2 ค่าซึ่งเป็นผลที่ได้จากการวิจัย
การป้องกันหรือลดความคลาดเคลื่อนทั้ง 2 ต้องใช้มาตรการทั้ง 3 อย่างรวมกัน คือ
ก. การเลือกใช้รูปแบบการวิจัย (research design) ที่เหมาะสม
ข. มีระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) ที่เหมาะสม
ค. ใช้เทคนิคทางสถิติที่เหมาะสม
โดยรูปแบบการวิจัย และระเบียบการวิจัยที่เหมาะสม จะช่วยหลีกเลี่ยงความเท็จ อันเนื่องมาจาก ความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ หรืออคติลงได้ ส่วนสถิติที่เหมาะสม จะช่วยลดความคลาดเคลื่อนแบบสุ่มได้ (ดูภาพที่ 3)
ภาพที่ 3 การป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการทำวิจัย
โครงร่างการวิจัย (Research proposal) เปรียบเสมือนแม่บท หรือข้อตกลง ระหว่างคณะผู้วิจัย และผู้ให้ทุน จึงควรพัฒนาขึ้น ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการวิจัย เพื่อแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการวิจัย ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อเป็นหลักประกันต่อผู้ให้ทุนว่า จะปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ในโครงร่างการวิจัยนั้น
โดยทั่วไป ผู้วิจัยมักไม่มีโอกาส ได้ชี้แจงรายละเอียด ของงานวิจัย ต่อคณะผู้พิจารณา อนุมัติทุนวิจัย จึงสมควรเขียนโครงร่างการวิจัย ให้ละเอียด มีแนวคิดที่ชัดเจนเก่ยวกับ คำถามการวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐาน รูปแบบการวิจัย และระเบียบการวิจัย ตลอดจนการบริหารโครงการวิจัยนั้น ๆ
นอกจากนี้ โครงร่างการวิจัย ยังเป็นเอกสาร ที่จะสื่อระหว่างผู้รวมวิจัย เพื่อให้เข้าใจในหลักการเดียวกัน และสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้อง ทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัย สามารถติดตาม นิเทศ ควบคุม กำกับงาน และประเมินผลการดำเนินงานใ นแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
แหล่งทุนบางแห่ง นิยมให้เสนอโครงร่างการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรก ให้เสนอเพียงแนวคิด (concept proposal) เบื้องต้น เกี่ยวกับเรื่องนั้น โดยสังเขป (บางทีเรียกว่า pre-proposal) มีความยาวเพียง 2-5 หน้า อาจประกอบได้ ชื่อเรื่อง ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ กรอบความคิด เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แนวทางการวิจัย และผลที่คาดว่าจะได้รับอย่างย่อ ๆ ทั้งนี้เพื่อ สำรวจความสนใจของแหล่งทุนนั้น ในขั้นต้น เมื่อแหล่งทุนเห็นว่า แนวคิดนั้นน่าสนใจ ก็จะขอให้คณะผู้วิจัย พัฒนาโครงร่างการวิจัย โดยละเอียด (full proposal) ในขั้นต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดเวลา และทรัพยากรที่จะใช้ และเป็นการลดความเสียง ที่จะได้รับทุนสนับสนุน
องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย จากแหล่งทุนต่าง ๆ จะมีแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไป ตามที่แต่ละแหล่งทุนจะกำหนดขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้ว หัวข้อที่กำหนดไว้ มักจะคล้าย ๆกัน
สำหรับ โครงร่างวิทยานิพนธ์ จะมีใบนำหน้า (Title page) ซึ่งประกอบไปด้วย
1. ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. ชื่อนิสิตผู้เสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์
3. ภาควิชา หรือ โครงการที่สังกัด
4. จำนวนหน่วยกิตของวิทยานิพนธ์
5. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
6. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี)
7. คำสำคัญ (Key words)
ส่วน โครงร่างการวิจัย ควรมีส่วนประกอบที่สำคัญ 22 ประการ
1. ชื่อเรื่อง (The Title)
2. ความสำคัญและที่มาของปัยหาการวิจัย (Background & Rationale)
3. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)
4. คำถามของการวิจัย (Research Question (s))
5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective (s))
*6. สมมติฐาน (Hypothesis) (ถ้ามี)
*7. กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual ramework) (ถ้ามี)
*8. ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) (ถ้ามี)
9. คำสำคัญ (Key words)
*10. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (Operational Defenition) (ถ้ามี)
11. รูปแบบการวิจัย (Research Design)
12. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)
13. การรวบรวมข้อมูล (Data Colloction)
14. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
15. ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)
16. ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)
17. ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)
18. อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข
19. การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)
20. งบประมาณ (Budget)
21. เอกสารอ้างอิง (References)
*22. ภาคผนวก (Appendix) (ถ้ามี)
* ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ
ชื่อเรื่อง มักเป็นส่วนดึงดูดความสนใจจุดแรก ของโครงร่างการวิจัยทั้งโครงการ จึงควรตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ พิจารณาแล้ว เป็นเรื่องที่วิจัยได้ (researchable topic) และควรแกการแสวงหาคำตอบ
โดยทั่วไป หลักในการตั้งชื่อเรื่อง ทำได้ดดยหยิบยกเอาคำสำคัญ (key words) ของเรื่องที่จะทำวิจัย ออกมาประกอบกันเป็นชื่อเรื่อง จะทำให้ชื่อนั้นสั้น กระทัดรัด ชัดเจน และสื่อความหมาย ครอบคลุมความสำคัญ ของเรื่องที่จะศึกษาทั้งหมด
คำสำคัญ (key words) ควรเป็นคำที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป (technical term) ในสาขาวิชาที่จะศึกษา จะช่วยให้บรรลุหลักการ ดังกล่าวข้างต้น ได้ดียิ่งขึ้น เช่น คำว่าประสิทธิผล (effectiveness), ปัจจัยเสี่ยง (risk factor), ความไว (sensitivity), ความถูกต้อง (accuracy) เป็นต้น ถ้าต้องมีทั้ง ชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ควรจะสอดคล้องไปด้วยกัน ในเชิงความหมาย
ผู้วิจัย ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา อย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทั้งทางทฤษฏี และปฏิบัติ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงเข้าสู่กรอบความคิด ของการวิจัยนี้ได้ สามารถระบุถึง ความสำคัญของปัญหา รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัย ในเรื่องนี้ อย่างมีเหตุมีผล ระบุได้ว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้ จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
ก่อนที่จะวางแผนทำการวิจัยเรื่องใดก็ตาม ควรจะมีการทบวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะทำวิจัย อย่างละเอียด และรอบคอบ เพื่อให้เข้าใจอย่างแท้จริง เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ โดยในขั้นตอนแรก ต้องแน่ใจเสียก่อนว่า เรากำลังจะศึกษาเรื่องอะไร (ภาพที่ 5)
ภาพที่ 5 ขั้นตอนการศึกษารายงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาเรื่องอะไร ? (ปัญหาการวิจัยคืออะไร ?) | ||
|
ทบทวนวรรณกรรม | ||
|
ใช้วิจารณญาณในการประเมินบทความ | ||
|
ข้อสรุปซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับการศึกษานี้ |
แหล่งที่มาของวรรณกรรมเหล่านี้ อาจรวบรวมได้มาจาก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น, ตำรามาตรฐาน ในสาขาที่จะทำวิจัย, วารสารต่าง ๆ , Current Contents ซึ่งรวบรวมสารบัญของสาขาต่าง ๆ เอาไว้, Index Medicus, Science Citation Index หรือ MEDLINE ( MEDLARS on LINE) ซึ่งเป็นระบบวิเคราะห์ จัดเก็บ และเรียกใช้ ข้อมูลทางการแพทย์ โดยอาศัยคอมพิวเตอร์มาช่วย เป็นต้น
เมื่อค้นได้รายงานงานต่าง ๆ ออกมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ ต้องแสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการใช้วิจารณญาณ ในการประเมิน บทความเหล่านั้น โดยความจะ วิเคราะห์ออกมา ใน 2 ประเด็น คือ
ก. บทความนั้นถูกต้องและเชื่อถือได้หรือไม่ ?
ข. สามารถประยุกต์ (applicable) เข้ากับเรื่องที่เราจะศึกษาหรือไม่ ?
จากผลการวิเคราะห์ ถ้าพบว่า เรื่องที่เรากำลังจะศึกษา มีผู้อื่นทำไปแล้ว ด้วยรูปแบบการวิจัย และระเบียบวิธีวิจัย ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และสามารถ ตอบคำถามของการวิจัย ของเราได้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะมาทำวิจัยซ้ำ ให้เสียทั้งเวลา และงบประมาณอีก เป็นการลดความซ้ำซ้อน ไปได้ระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่มีผู้ทำไว้แล้ว เราอาจจะทำใหม่ได้ ถ้าผลการวิเคราะห์ พบว่ารายงานที่ทำไปแล้ว ไม่ถูกต้อง หรือไม่น่าเชื่อถือ เช่น รูปแบบการวิจัย ไม่เหมาะสม ระเบียบวิธีวิจัยไม่ถูกต้อง หรือผลนั้น ไม่สามารถประยุกต์ เข้ากับประชากรของเราได้
การสรุป การศึกษารายงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง ควรสรุป วิเคราะห์ออกมาว่า รายงานทั้งหมด เกี่ยวกับเรื่องนั้น มีจำนวนเท่าไร ในจำนวนนั้น ที่มีน่าเชื่อถือได้กี่เรื่อง ที่ไม่น่าเชื่อถือมีปัญหาอะไรบ้าง และในจำนวนที่เชื่อถือได้นี้ มีที่เห็นด้วยกับสมมติฐานของเราเท่าไร และมีที่คัดค้านเท่าไร โดยสรุปออกมาให้ได้ว่า ในกรอบความรู้นั้น มีอะไรที่ทราบแล้ว และมีอะไรที่ยังไม่ทราบ โดยทั่วไป ควรจะวิเคราะห์ออกมา ในลักษณะที่ว่า ความรู้เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถตอบปัญหา การวิจัยของเราได้ จึงจำเป็น ต้องทำวิจัยในเรื่องนี้ โดยระบุว่า เมื่อทำวิจัยเสร็จแล้ว จะนำผลการวิจัย ไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง
การเขียนโครงร่าง การวิจัยในส่วนนี้ ควรบรรยายในลักษณะ การสรุปวิเคราะห์ ดังกล่าวมาแล้ว ไม่ใช่นำรายงานเหล่านั้น มาย่อ หรือยกเอาบทคัดย่อ (abstract) ของแต่ละบทความ มาปะติดปะต่อกัน เพราะจะทำให้เหตุผลต่าง ๆ อ่อนลงไปมาก
ในการวางแผนทำวิจัยนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น ก็คือ "การกำหนดคำถามของการวิจัย" (Problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหา เป็นส่วนสำคัญของการวิจัย แต่ไม่ได้หมายความว่า ปัญหาทุกปัญหา ต้องทำการวิจัย เพราะคำถามบางอย่าง ใช้ขบวนการในการวิจัย ก็สามารถตอบปัญหานั้นได้
คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวน ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question (s) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
ผู้วิจัย อาจจำเป็นต้องแสดงเหตุผล เพื่อสนับสนุนการเลือก ปัญหาการวิจัยดังกล่าว เพื่อให้โครงร่างการวิจัยนี้ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ในโครงร่งการวิจัย ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งของเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ อันเป็นสิ่งซึ่งผู้วิจัยมุ่งหวัง ที่จะทำให้การวิจัยนั้น บรรลุทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้
โดยทั่วไป วัตถุประสงค์อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
ก. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) จะกล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
ข. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใค ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง
การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหา อย่างมีเหตุผล จึงมักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระ (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) เช่น การติดเฮโรอีนชนิดฉีด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค AIDS
สมมติฐาน ทำหน้าที่เสมือน เป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
สมมติฐานที่ตั้งขึ้น ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป แต่ถัาทดสอบแล้ว ผลสรุปว่าเป็นความจริง ก็จะได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น (ดูภาพที่ 1) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชนิด ไม่จำเป็นต้องมีสมมติฐาน เช่น การวิจัยขั้นสำรวจ (exploratory or formulative research) เป็นต้น
การวิจัยในบางเรื่อง จำเป็นต้องสร้าง กรอบแนวความคิดในการวิจัยขึ้น เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วย ของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มา หรือปัจจัย ที่เป็นตัวกำหนด ในพฤติกรรมดังกล่าว
การวิจัยบางเรื่อง อาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งข้อสมมติบางอย่าง เป็นข้อตกลงเบื้องต้นขึ้น เช่น ผู้วิจัยจะเข้าไปสัมภาษณ์ คนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง อาจจำเป็นต้อง กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า "คนงานที่มาทำงาน ในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ ไม่ต่างไปจาก คนงานที่มาทำงาน ในวันปกติอื่น ๆ" อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องระวัง อย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย
ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น
ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (trms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรทีเกี่ยวกับความรู้ (ความรู้สูง, ปานกลาง, ต่ำ) ทัศนคติ (ดี-ไม่ดี), ความพึงพอใจ, ความปวด เป็นต้น
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า รูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม จะช่วยป้องกัน หรือลดอคติ หรือความคลาดเคลื่อนอย่างมีระบบ (systematic error) อันอาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยได้
รูปแบบการวิจัย เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้าน จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นกับคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เปรียบเสมือนการตกแต่งภายใน ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของบ้าน (design) ดังนั้น ในการเขียนโครงร่างการวิจัย จึงจำเป็นต้อง กำหนดรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม
การจำแนกรูปแบบการวิจัย ตามวิธีการดำเนินการวิจัย สามารถแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การวิจัยโดยการสังเกต (observational research) และการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) ขึ้นอยู่กับว่า ตัวแปรอิสระ ซึ่งอาจได้แก่ ปัจจัยเสี่ยง (risk factor หรือ exposure) หรือสิ่งที่เราต้องการประเมิน หรือทดสอบ (เช่น ยา วิธีการรักษา โครงการต่าง ๆ) ซึ่งเรียกว่า "สิ่งแทรกแซง" (intervention) นั้น ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด (assign) ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือตัวอย่างที่นำมาศึกษานั้น ได้รับปัจจัยเสี่ยงนั้นอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน หรือได้รับอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ (ที่เรียกว่า natural exposure) โดยที่ผู้วิจัย ไม่ได้เข้าไปควบคุม หรือแทรกแซงแต่อย่างใด
การวิจัยใดก็ตาม ที่ผู้วิจัยมีการ กำหนดปัจจัยเสี่ยง หรือก ำหนดสิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แล้วติดตามดูผล ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การวิจัยชนิดนี้ เรียกว่า การวิจัยเชิงทดลอง (ดูภาพที่ 6)
ภาพที่ 6 จำแนกรูปแบบของการวิจัยตามวิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยใดก็ตาม ที่ผู้วิจัยไม่มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยง หรือสิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แต่ตัวอย่างเหล่านั้น ได้รับ หรือสัมผัส กับปัจจัยเสี่ยงนั้น ๆ อยู่แล้ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเขา โดยผู้วิจัย เป็นแต่เพียงเฝ้าติดตาม สังเกตดูผลที่จะเกิดขึ้น การวิจัยที่เป็นแต่เพียง การเฝ้าสังเกตนี้ จึงได้ชื่อว่า การวิจัยโดยการสังเกต (observational research)
การวิจัยโดยการสังเกต สามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิด ขึ้นอยู่กับว่า การวิจัยนั้น มีกลุ่มควบคุม (Control group) หรือ กลุ่มเปรียบเทียบ (comparison group) หรือไม่ดังนี้p>
ก. การวิจัยโดยการสังเกตเชิงพรรณนา (Observational Descriptive Studies) เป็นการวิจัยโดยการสังเกต ที่ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด ตามเกณฑ์ลำดับเวลาที่ศึกษา คือ
(1) การวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (แบบตัดขวาง) (Cross-sectional Descriptive Studies)
(2) การวิจัยเชิงพรรณนาระยะยาว (Longitudinal Descriptive Studies)
ข. การวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ (Observational Analytic Studies) เป็นการวิจัยโดยการสังเกต ที่มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ อาจจำแนกได้เป็น 3 แบบ ตามเกณฑ์ของเวลาที่ีศึกษา (ดูภาพที่ 7)
(1) การวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดไปข้างหน้า (Prospective Analytic Studies หรือ Cohort Studies) เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ที่เริ่มศึกษาจากเหตุ ไปหาผล
(2) การวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิด(3) การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Analytic Studies) เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ที่ผลและเหตุเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ในจุดที่ทำการศึกษา ไม่ทราบว่าใครเกิดก่อน เกิดหลัง
ภาพที่ 7 การจำแนกการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์
การเลือกรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับคำถาม หรือปัญหาการวิจัย ที่ต้องการหาคำตอบ ในการศึกษา เพื่อแสวงหา คำตอบของคำถาม ควรประกอบไปด้วย กระบวนการศึกษาที่ครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่ การศึกษาขนาดของปัญหา ว่ามีมากน้อยเพียงใด (ศึกษาเกี่ยวกับทุกข์) เมื่อทราบว่าโรคนั้นเป็นปัญหา ขั้นต่อไปก็คือการศึกษา ต้นเหตุของปัญหา (สมมุทัย) การศึกษาหาต้นเหตุของปัญหา ทำให้สามารถกำหนดกลยุทธ ในการแก้ปัญหา (นิโรธ) และขั้นต่อไปก็คือ การเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา (ดู ภาพที่ 8)
ภาพที่ 8 ลำดับขั้นตอนของวิธีการคิดวิเคราะห์่เพื่อแก้ปัญหา
นอกจากนี้ เรายังอาจศึกษาเกี่ยวกับ ธรรมชาติของโรค (natural history) หรือศึกษาคุณสมบัติของเครื่องมือ ในการวินิจฉัยโรค (Diagnostic test)
การเลือกรูปแบบการวิจัย ให้สอดคล้องกับคำถามของการวิจัย ได้สรุปไว้ใน ภาพที่ 9
ภาพที่ 9 การเลือกรูปแบบการวิจัยตามคำถามของการวิจัย
คำถามหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย | รูปแบบการวิจัยที่ควรเลือก |
1. ศึกษาขนาดของปัญหา 2. ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค 3. ศึกษาคุณสมบัติของเครื่องมือในการวินิจฉัยโรค 4. ศึกษาต้นเหตุของโรค 5. ประเมินผลการให้บริการ |
การวิจัยโดยการสังเกตเชิงพรรณนา การวิจัยโดยการสังเกตเชิงพรรณนา การวิจัยโดยการสังเกตเชิงพรรณนา การวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ การวิจัยโดยการทดลอง |
การเขียนโครงร่างการวิจัย ในส่วนที่เกี่ยวกับ "ระเบียบวิธีวิจัย" นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
ก. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample)
ข. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
ถ้ารูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงส่วนที่ 3 อันได้แก่ การกำหนดสิ่งที่ต้องการทดสอบ หรือสิ่งแทรกแซง (intervention) (ดู ภาพที่ 10)
1. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample) การเขียนในส่วนนี้ต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1.1 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ประชากรและตัวอย่าง โดยมักจะกำหนด กฏเกณฑ์ในการคัดเลือก (diagnostic criteria) พร้อมทั้งมีเหตุผล ประกอบชัดเจน ในหลักเกณฑ์แต่ละข้อ ซึ่งรวมทั้ง กฏเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา (inclusion criteria) และกฏเกณฑ์ในการ ตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria) โดยกฏเกณฑ์เหล่านี้ จะมีผลต่อการขยายผล (generalize) การวิจัยไปใช้ ถ้ากฏเกณฑ์มีการจำเพาะมาก เช่น มีกฏเกณฑ์ในการตัดคนไข้ ออกจากการศึกษามากมาย การขยายผลการศึกษา ไปยังประชากรเป้าหมาย จะเป็นไปอย่างจำกัด แต่ผลการศึกษา จะมีความไว ในการตอบคำถามได้ดี
1.2 เทคนิคในการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Techniques) ให้ระบุถึง วิธีการในการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งโดยทั่วไหแล้ว ตัวอย่าง (Sample) ต้องมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับประชากรตัวอย่าง (population sampled) มากที่สุด เพื่อสามารถจะเป็นตัวแทน (representative) และทำให้สามารถนำผลการวิจัย ขยายผลไปยังประชากรเป้าหมาย (arget population) ได้
ก่อนดำเนินการสุ่มตัวอย่าง ควรมีการกำหนด หน่วยตัวอย่าง (sampling unit) และกรอบตัวอย่าง (sampling frame) ให้ชัดเจนก่อน
เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างแบ่งใหญ่ ๆ ได้เป็น 2 วิธีคือ
ก. การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Probability Sampling) ทำให้ทราบถึง โอกาสของแต่ละหน่วยตัวอย่าง ที่จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา เช่น
(i) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
(ii) การสุ่มตัอวย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling)
(iii) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
(iv) การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)
(v) การสุ่มตัอวย่างแบบหลายขั้นตอน (Muti - stage Random Sampling)
ข. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ได้อาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) การเลือกตัวอย่างแบบนี้ ผู้วิจัยไม่ทราบถึง โอกาสที่หน่วยตัวอย่าง จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา และไม่ทราบว่า ตัวอย่างแต่ละหน่วน ที่ถูกเลือกเข้ามา จะมีโอกาสถูกเลือก เท่ากันหรือไม่ ทำให้ตัวอย่างที่เลือกมา ยากที่จะเป็นตัวแทนที่ดี ของประชากรตัวอย่างได้ การขยายผลสู่ประชากร จึงมักทำไม่ได้ เช่น
(i) เลือกตามความสะดวก (Convenient Sampling)
(ii) เลือกโดยความบังเอิญ (Accidental Sampling)
(iii) เลือกโดยการกำหนดจำนวนไว้ก่อน (Quota Sampling)
(iv) เลือกโดยความจงใจ (Purposive Sampling)
1.3 การคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Determination) งานวิจัย ที่ขนาดตัวอย่าง น้อยเกินไป จะไม่สามารถ ตอบคำถามอะไรได้ แต่ถ้าตัวอย่างมากเกินไป แม้ว่าจะตอบคำถามได้ แต่ก็เป็นการสิ้นเปลือง ดังนั้น การคำนวณขนาดตัวอย่าง จึงเป็นสิ่งจำเป็น ขนาดตัวอย่าง ที่คำนวณได้ จะเป็นจำนวนตัวอย่าง ที่น้อยที่สุด ที่สามารถตอบคำถามหลัก (Primary research question) ของการวิจัยนั้น ๆ ได้
สูตรในการคำนวนขนาดตัวอย่าง จะขึ้นกับเรื่องที่จะศึกษา และรูปแบบการวิจัย ว่าเป็นการศึกษาตัวอย่าง กลุ่มเดียว สองกลุ่ม หรือมากกว่า 2 กลุ่ม
2. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement) โครงร่างการวิจัยในส่วนนี้ ควรจะกล่าวถึง
2.1 ตัวแปรในการวิจัยนี้ โดยมีการกำหนด ตัวแปรหลัก (ทั้งตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม) โดยให้คำนิยามเชิงปฏิบัติ ที่แน่นอน และชัดเจน (ดูหัวข้อที่ 7) และระบุว่า ตัวแปรอะไรบ้าง เป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการ (confounding factors) ที่ผู้วิจัย จำเป็นต้องควบคุม โดยระบุถึงวิธีในการควบคุม ตัวกวนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้มีอิทธิพล ต่อตัวแปรหลักด้วย และควรระบุลงไปว่า ตัวแปรต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นั้น จะวัดผลโดยใช้มาตร (scale) อะไร (ระดับแบ่งกลุ่ม, ระดับจัดอันดับ, ระดับช่วง หรือวัดค่าที่แท้จริง) รวมถึงหลักเกณฑ์ ในการเลือกตัวแปรเหล่านี้ด้วย
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร โดยระบุว่า จะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบบันทึก (record form), เครื่องมือในการชั่ง, ตวง, วัด หรือนับ เครื่องมือนั้น จะสร้างขึ้นใหม่ หรือใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว รวมทั้ง การควบคุมคุณภาพ ของเครื่องมือ ขณะนำไปใช้ด้วย
3. วิธีการ หรือ สิ่งแทรกแซง (Intervention) การวิจัยเชิงทดลอง จะมีการกำหนด สิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่าง ที่นำมาศึกษา ซึ่งควรอธิบาย ให้รายละเอียดว่า ใคร? ทำอะไร? ให้แก่ใคร? ด้วยวิธีอย่างไร? โดยต้องระบุให้ชัดเจน เกี่ยวกับตัวยา (formulation), ขนาดยา (dose), วิธีการในการให้ มีการปรับขนาดยาหรือไม่? อย่างไร? รวมถึงวิธีการ ในการศึกษาพิษ หรือผลข้างเคียงของยาด้วย นอกจากนี้ ควรบอกระยะเวลาในการให้ และหลักเกณฑ์ ในการเพิ่ม หรือลดขนาดยา หรือหยุดการให้ยานั้น
อคติ 3 ประการ ที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างการให้สิ่งแทรกแซง ได้แก่ contamination, co-intervention และ non-compliance จึงควรกล่าวถึง มาตรการในการป้องกัน รวมทั้งการวัด (monitor) อคติเหล่านั้นด้วย
โดยให้รายละเอียดว่า จะเก็บข้อมูลอะไร? จากแหล่งไหน? (source of data) เก็บอย่างไร? ใครเป็นผู้เก็บ? ใครเป็นผู้บันทึกข้อมูลที่เก็บได้? บันทึกลงที่ไหน? อย่างไร? และกล่าวถึง การควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
การเลือกใช้สถิติ จะต้องเหมาะสมกับคำถาม วัตถุประสงค์ และรูปแบบการวิจัย โดยสถิติจะช่วยหลีกเลี่ยง ความคลาดเคลื่อนแบบสุ่ม ในส่วนที่เกี่ยวกับ การวิเคราะห์ข้อมูล ควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1. การสรุปข้อมูล (Summarization of Data) ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ชนิดของข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitaive data) หรือข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) (ดูที่ภาพ 11)
2. การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เพื่อสื่อความหมาย ระหว่างนักวิจัย และผู้อ่านผลการวิจัย ทำให้เข้าใจได้ง่าย และเป็นการประหยัดเวลา ในการเขียนบรรยายผลที่ได้ การนำเสนอข้อมูล ต้องเลือกให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลเช่นกัน (ดูที่ภาพ 11)
3. การทดสอบสมมติฐาน (ypothesis testing) โดยระถึง สถิติที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการทดสอบสมมติฐานนั้น ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัย 2 ประการ คือ ลักษณะการเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน) และการสรุปข้อมูล (ดูภาพที่ 12)
ภาพที่ 11 ความแตกต่างระหว่างข้อมูล 2 ชนิด
ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) |
ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) |
|
1. วิธีนับหรือวัด | นับ (enumeration) | ชั่ง, ตวง หรือวัด (Measurement) |
2. ลักษณะข้อมูลที่ได้ | จำนวนเต็ม (Discrete Variables) | ค่าต่อเนื่อง (Continuous Variable) |
3. การสรุปข้อมูล (Sumarization of Data): การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง |
- อัตราส่วน (Ration) - สัดส่วน (Proportion) - ร้อยละ (Percentage) - อัตรา (Rate) |
- ค่าเฉลี่ย (Mean) - มัธยฐาน (Median) - ฐานนิยม (Mode) |
4.
การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data) |
- ตาราง (Table) - แผนภูมิวงกลม(Pie diagram) - รูปภาพ (Pictogram) - แผนภูมิแท่ง (Bar diagram) - แผนภูมิแท่งชนิดสัดส่วน (Proportional bar diagram) |
-
ฮีสโตแกรม(Histogram) - รูปหลายเหลี่ยมแห่งความถี่ (Frequency Polygon) - กราฟแสดงความถี่สะสม (Cumulative Frequency Graph) |
5. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน | - Chi - square test | t-test |
ภาพที่ 12 การเลือกวิธีการทางสถิติในการทดสอบสมมติฐาน
การเปรียบเทียบ | การสรุปข้อมูล | การทดสอบทางสถิติ |
Two independent groups | Proportions Rank ordered Mean Survival data |
Chi-square, Fishers
exact Mann Whitney U Unpaired t-test Mantel-Haenzel, Log rank |
Two related group | Proportions Rank ordered Mean |
Mc Nemar Chi-square Sign test, Wilcoxon signed rank Paired t-test |
More than two independent groups | Proportions Rank ordered Mean Survival data |
Chi-square Kruskal Wallis ANOVA Log rank |
More than two related groups | Proportions Rank ordered Mean |
Cochran Q Friedman ANOVA (repeated) |
4. ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลขาดหายไป (missing data) ตัวอย่างไม่ให้ความร่วมมือ (non-complier) ผู้ป่วยออกจากการศึกษากลางคัน หรือผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคอื่น ที่ไม่เกี่ยวกับโรคที่กำลังทำวิจัย กรณีตัวอย่างที่ยกมานี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงจำเป็นต้อง เตรียมการแก้ไข ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าจะตัดทิ้งไป หรือนำข้อมูลมาร่วมวิเคราะห์ด้วย
5. การวิเคราะห์ก่อนการวิจัยสิ้นสุด (Interim Analysis) จะทำหรือไม่ และมีเหตุผลอะไรในการกระทำเช่นนั้น จะก่อให้เกิดผลดี และผลเสียอย่างไรบ้าง
การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
การประเมินปัญหาจริยธรรม
มีแนวคิดบางประการ
ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
1.
งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่ ?
ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน
คำถามการวิจัย
รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่ ? ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผบเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ ก่อนให้ผู้ถูกทดลอง เซ็นใบยินยอม เช่น
ก. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการที่จะใช้
ข. อธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งผลข้างเคียงต่าง ๆ ความไม่สะดวกสบาย ที่อาจจะเกิดขึ้น ระหว่างการทดลองนั้น
ค. ผู้ถูกทดลอง ต้องได้รับการยืนยันว่า มีสิทธิจะถอนตัวออกจากการศึกษา เมื่อไรก็ได้ โดยการถอนตัวนั้น จะไม่ก่อให้เกิดอคติ ในการได้รับการดูแล รักษาพยาบาลต่อไป
ง. ข้อมูลทั้งหลาย จะถูกเก็บเป็นความลับ
6. ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
7. จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
8. ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่า ให้อย่างไร และเป็นจำนวนเท่าไร
โดยทั่วไป การวิจัยในมนุษย์ จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัย ให้คณะกรรมการจริยธรรม ของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณา เพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ
เป็นการย้ำ ถึงความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง
|
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่หมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้
ยกตัวอย่าง เช่น ต้องการประเมินผล ของโครงการหนึ่ง ซึ่งในแง่รูปแบบ การวิจัยที่เหมาะสมแล้ว ควรใช้ "การวิจัยเชิงทดลองแบบเต็มรูป" (full experimental design) หรือการวิจัยเชิงทดลองที่แท้จริง (true experimental design) หรือ การวิจัยเชิงทดลองแบบคลาสสิค ซึ่งมีการกำหนด (assign) ให้ตัวอย่าง (sample) ไปอยู่กลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุมโดยวิธีสุ่ม แต่บังเอิญ ในทางปฏิบัติ ทำไม่ได้ เนื่องจากปัญหาทางจริยธรรม ก็อาจจำเป็นต้อง ใช้รูปแบบการวิจัย แบบกึ่งกลางการทดลอง (quas-experimetal design) โดยอาจจะ วัดก่นอ ละหลัง การมีโครงการนี้ (before and after) หรือการออกแบบ การติดตามระยะยาว (time series design) โดยมีการวัดหลาย ๆ ครั้ง ทั้งก่อน และหลัง มีโครงการนี้
หรือในการวิจัย เพื่อประเมินประสิทธิผลของยา ผู้วิจัย พยายามจะคิดค้น หามาตรการที่จะ ทำให้ทั้งคนไข้ และผู้รักษา ไม่ทราบว่า ได้รับยาอะไร ที่เรียกว่า "วิธีบอด" (double blind) เช่น การทำให้ยา เหมือนกันทุกประการ แต่ในทางปฏิบัติ บางครั้งทำไม่ได้ ผู้วิจัย จำเป็นต้องระบุ ถึงข้อจำกัดนี้ และเสนอมาตรการ ในการแก้ไข โดยเลือกตัววัด ที่เป็นปรนัย (objective outcome) ซึ่งมีความผันแปรน้อยกว่า ตัววัดที่ได้ จากการบอกเล่า (subjective outcome) และใช้ผู้วัด ที่เป็นอิสระ (independent assessor) ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง กับการดูแล รักษาคนไข้ และไม่ทราบว่า คนไข้ อยู่ในกลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุม โดยมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ หวังว่าจะสามารถ ป้องกันอคติ อันอาจจะเกิดขึ้นจาก co-intervention ไปได้ระดับหนึ่ง
การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation)
ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสริจสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1.
วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2.
กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้
เช่น
- ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
- ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
- ติดต่อผู้นำชุมชน
- การเตรียมชุมชน
- การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
- การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
- การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
- การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
- การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
- ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
- ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล
สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก.
การจัดองค์กร (Organizing) เช่น การกำหนดหน้าที่
ของคณะผู้ร่วมวิจัย แต่ละคน
ให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหา
และการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข.
การสั่งงาน (Directing) ได้แก่ การมองหมายงาน
การควบคุม (control) เป็นต้น
ค.
การควบคุมการจัดองค์กร (Organization Control)
นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง
สำหรับการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการ
สั่งการ และควบคุม ภาพของงานต่อไป
โดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการ
(chain of command) เพื่อวางโครงสร้าง
ของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่
ตลอดจนติดตามประเมินผล
ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และ/หรือ
ทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่ (flow chart)
เช่น
ตัวอย่าง สัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบ่งกลุ่ม รับยา กลับบ้าน |
ง. การควบคุมโครงการ (Project Control) มีได้หลายวิธี เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงาน (time schedule) ซึ่งเป็น ตารางกำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัย ทำเสร็จทันเวลา ซึ่งปกติจะใช้ Gantts chart
Gantts chart จะดูความสัมพันธ์ ระหว่างกิจกรรม ที่จะปฏิบัติ และระยะเวลา ของแต่ละกิจกรรม โดยแนวนอน จะเป็น ระยะเวลา ที่ใช้ ของแต่ละ กิจกรรม ส่วนแนวตั้ง จะเป็น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ กำหนดไว้ จากนั้น จึงใช้ แผนภูมิแท่ง (bar chart) ในการแสดง ความสัมพันธ์นี้ (ดูภาพที่ 13)
ภาพที่ 13 ตารางปฏิบัติงานโดยใช้ Gantt Chart
นอกจาก Gantts chart แล้ว ยังอาจทำเป็น โครงข่ายปฏิบัติงาน (Network technique) ซึ่งเป็นการ แสดงเหตุการณ์ (event), กิจกรรม (activities) และเวลา (time) ให้เห็น เป็นโครงข่ายงาน ว่าต้องการ ให้เกิดอะไร จะทำอะไรก่อน หลัง โดยใช้ระยะเวลา เท่าไร ตัวอย่างเช่น
- PERT (Program Evaluation and Review Technique)
- CPM (Critical Path Method)
- PPBS (Program Planning Budgeting System)
- ABC (Analysis Bar Chart)
จ. การนิเทศงาน (Supervising) ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไข ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการควบคุมงาน ให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง
การคิดงบประมาณ ควรยึดแผนการดำเนินงาน และตารางปฏิบัติงาน เป็นหลัก โดยวิเคราะห์ ในแต่ละกิจกรรมย่อย ว่าต้องการทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหน ซึ่งตามปกติแล้ว ควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควร แยกออกเป็น หมวด ๆ
ก. หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
ข. หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
ค. หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิลม์ อ๊อกซิเจน เป็นต้น
ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
การคิดงบประมาณ ต้องพิจารณาเงื่อนไข ของแต่ละแหล่งทุน ว่ามีระเบียบ ในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง เพราะแหล่งทุน แต่ละแห่ง มักจะมีระเบียบต่าง ๆ กัน
ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)
การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style"
ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al
ผู้แต่ง บทความ ชื่อย่อวารสาร ปีที่พิมพ์ เดือน ; ปีที่(ฉบับที่) : หน้าแรก-หน้าสุดท้าย |
ตัวอย่างวารสาร
You CH, Lee KY, Chey RY,
Menguy R. Electrogastrographic stdy of patients with unexplained
nausea, bloating and vomiting. Gastroenterology 1980 Aug ; 79 (2)
: 311-4.
ถ้าผู้นิพนธ์เป็นคณะบุคคล
หรือ องค์กร
The Royal Marsden
Hospital Bone-marrow Transplantation Team. Failure of syngeneic
bone-marrow graft without preconditioning in post hepatitis
marrow aplasia. Lancet 1977 ; 2 : 742-4.
ถ้าไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
Coffee drinking and
cancer of the pancreas (editorial). BMJ 1981 ; 283:628.
Volume with
supplement
Magni F, Rossoni G, Berti
F. BN-52021 protects guinea-pig from heart anaphylaxis. Pharmacol
Res Commun 1988 ; 20 Suppl 5 : 75-8.
บทหนึ่งในหนังสือหรือตำรา
Weinstein L, Swartz MN.
Pathologic properties of invading microorganisms. In : Sodeman WA
Jr, sodeman WA, editors. Pathologic physiology : mechanisms of
disease. Philadelphia : Saunders, 1974 : 457-72.
Conference
proceedings
Vivian VL, editor. Child
abuse and neglect : a medical community response. Proceedings of
the First AMA National Conference on Child Abuse and Neglect ;
1984 Mar 30-31 ; chicago. Chicago : American Medical Association,
1985.
Scientific
and technical report
Akutsu T. Total heart
replacement device. Bethesda (MD) : National Institutes of
Health, National Heart and Lung Institute ; 1974 Apr. Report No.
: NIH-NHLI-69-2185-4.
Dissertation
Yossef NM. School
adjustment of children with congenital heart disease
(dissertation). Pittsburhg ) (PA) : Univ of Pittsburgh, 1988.
Unpublished
material
Lillywhite HB, Donald JA.
Pulmonary blood flow regulation in an aquatic snake. Science. In
press.
สิ่งที่นอยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
|
|