หลักการเลือกใช้ยาต้านการเต้นหัวใจผิดจังหวะ
        การเลือกใช้ยาต้านการเต้นหัวใจผิดจังหวะในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จําเป็นต้องวินิจฉัยชนิดของความผิดปกติ ในจังหวะการเต้นของหัวใจที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง ทราบถึงกลไกในการเกิดความผิดปกติที่เกิดขึ้น อายุของผู้ป่วย อาการและ อาการแสดง ความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น โรคพื้นฐานของผู้ป่วย (underlying disease) ยาที่ได้รับมาก่อนการเกิดภาวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือยาที่ได้รับการรักษามาก่อน และความจําเป็นรีบด่วนในการรักษา จึงสามารถเลือกกลุ่มของยาที่นํามาใช้ ในการรักษาได้อย่างเหมาะสม แนวทางในการเลือก antiarrhythmic drugs มีดังนี้

        1. การเลือกชนิดของ antiarrhythmic drugs ตามตําแหน่งของการออกฤทธิ์ของยา ในตำแหน่งที่จําเป็นต่อการที่ทําให้ การเต้นผิดจังหวะของหัวใจที่เกิดขึ้น สามารถคงอยู่ได้ (target site) เช่น ที่บริเวณ atrium, AV node หรือ ventricle
 

TARGET SITE OF ACTION
Arrhythmia Target site Effective drugs
Sinus node reentry Sinus node III, II
Atrial tachycardia Atrium IA, IC, III, II
AVNRT AV node Digitalis, III, II
AVRT AV node Digitalis, III, II
Accessory pathway IA, IC, III
Vent. tachycardia Ventricle IB, III, II
Vent. fibrillation Ventricle IA, IC, III

การเลือกใช้ยาโดยวิธีนี้ จําเป็นต้องอาศัยการวินิจฉัยชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น atrioventricular reentrant tachycardia มี AV node เป็นตำแหน่งที่สำคัญในการทำให้ความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจคงอยู่ การเลือกใช้ยาจึงเลือกยาที่มีผลลด AV node conduction จึงจะสามารถหยุดการเต้นผิดปกตินี้ได้

        2. การเลือกชนิดของ antiarrhythmic drugs ตามชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะ วัตถุประสงค์ของการรักษา และอายุของ ผู้ป่วย
 

OBJECTIVE OF TREATMENT
Arrhythmia Objective Drugs
SVT
Termination
Adenosine, Verapamil
Propafenone
SVT
Suppression
Digitalis, Beta blocker
Propafenone, Amiodarone
AT
Suppression
Disopyramide, Amiodarone
VT
Termination
Lidocaine, Amiodarone
VT
Suppression
Beta blocker, Amiodarone

ตัวอย่างเช่น atrioventricular nodal reentrant tachycardia ในเด็กอายุ 2 ปี จะเลือกใช้ adenosine ในการหยุด (termination) ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกตินี้ แต่จะใช้ digoxin, verapamil หรือ beta adrenergic blockers ในการรักษาต่อเนื่อง (suppression) เป็นต้น

        3. การเลือกชนิดของ antiarrhythmic drugs ตามกลไกการเกิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การเลือกใช้ยาโดยวิธีนี้ ยังมีข้อยุ่งยากในการนำมาใช้ในทางคลินิก เนื่องภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด ยังไม่ทราบกลไกการเกิดที่แน่นอน แต่การเลือกใช้ยาวิธีนี้ เป็นการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมมากที่สุด การเลือกใช้ยาโดยวิธีนี้มีหลักดังนี้
           3.1 ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจากการมี abnormal impulses formation
               3.1.1 Enhanced normal automaticity เช่น inappropriate sinus tachycardia ยาที่ใช้ควรมีผลในการลด การเกิด phase 4 ของ action potentral เช่น ยาในกลุ่ม Class I และ Class II
               3.1.2 Abnormal automaticity เช่น ectopic atrial tachycardia, accelerated idioventricular rhythm ยาที่ใช้ควรมีผลลดการเกิด phase 4 ของ action potential เช่น ยาในกลุ่ม class I และ Class IV
               3.1.3 Triggered activity
                       3.1.3.1 Early after-depolarizationเช่น Torsades de Points ยาที่ใช้ควรมีผลทําให้ระยะเวลาของ action potential สั้นลงหรือลดการเกิดของ early after depolarization เช่น ยาในกลุ่ม Class II, Class IV และยาที่มีฤทธิ์ vagolytic
                       3.1.3.2 Delayed after-depolarization เช่น digitalis induced arrhythmia ยาที่ใช้ควรมีผลลดภาวะ calcium overload ในเซลล์หรือลดการเกิด delayed after-depolarization เช่น ยาในกลุ่ม Class IV และ Class I
           3.2 ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจากกลไก reentry mechanism
               3.2.1 Sodium channel dependent เป็นกลไกการเกิด reentry ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเซลล์ชนิด fast respond action potential เป็นหลักในการให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถแบ่งได้ดังนี้
                       3.2.1.1 Primary impaired conduction เป็นความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจ ที่เกิดขึ้นเนื่องจาก มีความผิดปกติในการนํา impulses เป็นส่วนใหญ่ เช่น atrial flutter type I, WPW syndrome, monophasic ventricular tachycardia ยาที่ใช้ควรมีผลลด conduction velocity และ excitability ของเซลล์ เช่น ยาในกลุ่ม class I
                       3.2.1.2 Conduction encroaching on refractoriness เป็นการเกิดความผิดปกติในจังหวะการเต้น ของหัวใจ ที่เกิดขึ้นเนื่องจาก impulse มาถึงบริเวณที่ผิดปกติได้เร็วกว่าปกติ เช่น atrial flutter type II, atrial fibrillation, WPW syndromce, bundle branch reentry tachycardia, ventricular fibrillation ยาที่ใช้ควรทําให้ระยะ refractory period ยาวขึ้น เช่น ยาในกลุ่ม Class III และ Class IA
               3.2.2 Calcium channel dependent เป็นกลไกการเกิด reentry โดยอาศัยเซลล์ชนิด slow respond action potential เป็นหลักเช่น atrioventricular nodal reentrant tachycardia, atrioventricular reentrant tachycardia, verapamil sentitive ventricular tachycardia ยาที่ใช้ควรมีผลลด conduction velocity และ excitability เช่นยาในกลุ่ม class IV