Digoxin
Electrophysiologic and EKG effect
        ผลของ digoxin ในการควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะส่วนใหญ่อยู่ที่ผลของการลด AV node conduction และทำให้ ระยะเวลา refractory period ยาวขึ้น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการกระตุ้น การทำงานของเส้นประสาท vagus ของยา ยา digoxin มีผลต่อ atrium น้อย และไม่มีผลต่อ His Purkinje system และกล้ามเนื้อใน ventricular แต่ในขนาดสูงอาจจะทําให้ เซลล์เหล่านี้มีระยะเวลา action potential สั้นลง และทําให้มีการ repo-larization เร็วขึ้น ในการให้ digoxin ในผู้ป่วย ที่ไม่มีภาวะหัวใจล้มเหลว พบว่าอัตราเต้นหัวใจไม่ลดลง แต่ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะพบมีอัตราเต้นของหัวใจลดลง ซึ่งเกิดจากผลของยา ทําให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น และจากการลดการทำงานของระบบประสาท sympathetic
        ผลของ digoxin ต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบว่าทําให้มีระยะ PR interval ยาวขึ้น โดยไม่มีผลต่อระยะเวลา QRS complex แต่ทําให้มีระยะเวลา QT interval สั้นลง มีการเปลี่ยนแปลงของ ST segment และทำให้ T wave

Clinical pharmacology
        Digoxin ดูดซึมได้ดีทางระบบทางเดินอาหาร ประมาณร้อยละ 60-80 ของยาที่ให้ โดยอัตราการดูดซึมของยา ขึ้นอยู่กับอาหาร และยาถูกขับออกทางไต โดยทาง glomerular filtration โดยมี half life ประมาณ 36-48 ชั่วโมง การให้ยาโดยการให้ loading dose ทางหลอดเลือดดํา จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าภายในหัวใจภายใน 15-30 นาที และมี peak action ใน 1.5-4 ชั่วโมง ส่วนการให้ยาโดยการรับประทาน จะมี peak action ใน 4-6 ชั่วโมง

Drug interaction
        Quinidine, verapamil, propafenone และ amiodarone ทําให้ระดับ digoxin ในเลือดสูงขึ้น จึงต้องลดขนาดของ digoxin ในกรณีที่ใช้ยาเหล่านี้ร่วมด้วย

Antiarrhythmic efficacy
        Digoxin ใช้ได้ดีในการรักษาภาวะ supra-ventricular tachyarrhythmia โดยเฉพาะในผู้ป่วย atrial fibrillation ที่มีการทํางานของหัวใจผิดปกติ (systolic dysfunction) โดยทําให้อัตราการเต้นหัวใจช้าลง แต่ในขณะออกกําลังกาย พบว่า digoxin ไม่สามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจได้ ดังนั้นจึงควรให้ calcium channel blockers หรือ beta blockers ร่วมด้วย และ digoxin ไม่สามารถเปลี่ยน atrial fibrillation เป็น sinus rhythm ได้ ดังนั้นจึงใช้เป็นยานี้ใช้ในการรักษาต่อเนื่องเท่านั้น
        Digoxin สามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ supraventricular tachycardia ได้ดี แต่ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติ ของการมี pre-excitation syndrome เนื่องจาก digoxin มีผลยับยั้งการนำ impulse ผ่านทาง AV node ดังนั้นในกรณีที่เกิดมี atrial fibrillation ขึ้นอาจทําให้เกิดภาวะ ventricular tachycardia และ ventricular fibrillation ได้ และยานี้ใช้ไม่ได้ผล ในการรักษาผู้ป่วย ventricular tachycardia

Dosage regimens
        การบริหารยาทำได้โดยการคํานวน total digit-alizing dose (TDD) โดยการให้โดยการรับประทานให้ในขนาด 30-40 ug/kg โดยการแบ่งให้ 1/2 ของ TDD ใน dose แรก และให้อีก 1/4 ของ TDD อีก 2 dose โดยให้ยาทุก 8-12 ชั่วโมง และให้ต่อเนื่องต่อ ในขนาด 10-15 ug/kg/day โดยแบ่งให้ทุก 12-24 ชั่วโมง การให้ยาทางหลอดเลือดดํา ต้องลดขนาดของยาลงเหลือ 3/4 ของ ขนาดที่ให้โดยการรับประทาน นอกจากนี้ควรลดขนาดของยาลง ในผู้ป่วยทารกคลอดก่อนกําหนด ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ อักเสบ มีภาวะ hypokale-mia มีภาวะ hypoxia ได้รับยา verapamil หรือ amio-darone ร่วมด้วย

Adverse effects
        Digoxin มีผลข้างเคียงน้อยที่พบได้แก่ anore-xia, nausea, vomiting, headache, green and yellow colour vision loss สำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถพบได้ทั้ง atrial และ vertricular arrhythmia

Cardiac toxicity ของ digoxin
        องค์ประกอบที่กระตุ้นให้เกิด cardiac toxicity ได้แก่
                1. ภาวะ hypokalemia ในภาวะนี้จะมีการยับยั้งการขับ digoxin ออกทาง tubular sccretion และเพิ่มจับของ digoxin ที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
                2. ความผิดปกติทาง metabolism เช่นภาวะไตวาย ภาวะ hypoxia และ hypercapnia
                3. ภาวะ hypothyroidism ในภาวะนี้จะลด clearance ของ digoxin จากไต
        กลไกในการเกิด cardiac toxicity
                1. เกิดจากผลของ digoxin ที่ทําให้มี slow conduction และเกิดการ block ใน SA node และ AV node ทําให้เกิด sinus pause และ AV conduction ช้าลง
                2. เกิดจากการเพิ่ม abnormal automaticity ของเซลล์ โดยการเพิ่มการทํางานของระบบประสาท sympathetic
                3. เกิดจากกลไก triggered activity โดย digoxin ทำให้เกิดภาวะ calcium overload ในเซลล์ กระตุ้นให้เกิดภาวะ delayed after depolarization
        ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดขึ้นและจําเพาะกับการเกิดพิษจาก digoxin ได้แก่ accelerated junc-tional rhythm, nonparoxysmal atrial tachycardia with block, AV block, fasicular tachycardia with beat to beat variation และ junctional tachycardia with conduction alteration

การรักษาภาวะ cardiac toxicity จาก digoxin
        ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการโดยมีเพียง ectopic beat หรือ first degree AV block (PR interval ยาวมากกว่า 50% ของ baseline) ไม่จําเป็นต้องให้การรักษา ส่วนใหญ่มักหายไปเองเมื่อหยุดยา ยกเว้นในกรณีที่มีภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติมาก อาจต้องให้ atropine หรือใส่ temporary pace maker
        ในรายที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เช่น ในกรณีของ paroxysmel atrial tachycardia with block สามารถควบคุมได้ โดยการให้ phenytoin ส่วนในกรณีของ fasicular tachycardia หรือ ventricular tachycardia สามารถรักษาได้โดยการให้ lidocaine และไม่ควรทํา cardioversion ในผู้ป่วยที่มี ventricular tachycardia เนื่องจากจะเสี่ยงต่อการเกิด ventricular fibrillation แต่ถ้าจําเป็นต้องทํา ควรใช้ได้ขนาดของพลังงานในขนาดที่ต่ำกว่าปกติ
        การให้ digoxin immune Fab globolin สามารถใช้ในการรักษาภาวะแทรกซ้อนทั้งที่เป็น cardiac และ noncardiac manifestration แต่มีข้อจํากัดเรื่องราคาและ half life ของยา
        นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีภาวะพิษจาก digoxin รุนแรง มักมีภาวะ hyperklemia ร่วมด้วย จึงต้องตรวจ electrolyte เสมอ และถ้ามีภาวะนี้ร่วมด้วย สามารถให้การรักษาโดยการให้ sodium bicarbonate หรือ glucose insulin และห้ามให้ calcium โดยเด็ดขาด เนื่องจากเซลล์มีภาวะ calcium overload ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะ delayed after-depolarization และเกิด ventricular tachycardia ได้