Electrophysiologic and EKG effects
Procainamide เป็นยาใน Class
IA มีผลเพิ่ม refractory period ของ atrium และทําให้ AV node conduction
ยาวขึ้นเล็กน้อย ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบว่าทำให้ระยะ PR interval, QRS interval
และ QT interval ยาวขึ้น และการให้ขนาดยาเพิ่มขึ้น ทำให้ระยะเวลาของ QRS complex
กว้างขึ้นตามขนาดของยาที่เพิ่มขึ้น
Clinical pharmacology
Procainamide ถูกทําลายที่ตับและมี
half life ประมาณ 3-6 ชั่วโมง การให้ยาทางหลอดเลือดดําจะมี peak plasma concentration
ใน 1-2 ชั่วโมง ยานี้ถูก metabolite เป็น N acetyl procainamide ซึ่งมีฤทธิ์
potassium channel blocker
Dosage regimen
การบริหารยาโดยการให้ loading
dose ทางหลอดเลือดดําในขนาด 10-15 mg/kg และให้ต่อเนื่องในขนาด 20-50 ug/kg/min
เมื่อสามารถควบคุมอาการได้จึงให้โดยการรับประทานในขนาด 15-50 mg/kg/day โดยแบ่งให้ทุก
6-8 ชั่วโมง
Hemodynamic effects
Procainamide มีผลทําให้หลอดเลือดขยายตัว
ดังนั้นการให้ยาทางหลอดเลือดดําอาจทําให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ทำให้ pulmonary
vascular resistance และ cardiac output ลดลงได้
Antiarrhythmic effects
Procainamide สามารถใช้ในการรักษาได้ทั้ง
supraventricular tachyarrhythmia และ ventricular tachyarrhythmia ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ
ventricular tachycardia และใช้เป็น drug of choice ในการรักษา atrial fibrillation
ที่เกิดในผู้ป่วยที่มี accessory pathway ประสิทธิภาพของยาในการควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะดีขึ้น
เมื่อใช้ร่วมกับ ยาในกลุ่ม Class IB หรือยาในกลุ่ม beta blocker เนื่องจากยามีผลในการลดการนำ
impulses ผ่านทาง AV node น้อย
Adverse effects
Procainamide อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงทางระบบทางเดินอาหาร
เช่น anorexia, nausea, vomiting ซึ่งเป็น dose relate อาจทําให้เกิดอาการทางระบบประสาทเช่น
headache, insomnia, dizziness, psychosis และ hollucination และผลข้างเคียงที่สําคัญได้แก่การเกิด
lupus like syndrome โดยพบมีอาการปวดข้อ ข้ออักเสบและมี antinuclear antibody
อาจทําให้เกิด pancytopenia และ agranulocytosis และยานี้สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดใหม่
(proarrhythmia) ได้ เช่น Tosade de Pointes |