Electrophysiologic and EKG effect
Adenosine เป็น intermediate
cellular metabolism พบที่ cell membrane และ cytosol ของเชลล์ โดย adenosine
เกิดจากการ dephosphorylate ของ adenosine monophosphate (AMP) โดย enzyme
5' nucleotidase และเกิดจากการ สลาย S-adenosyl homocystein (SAH) โดย enzyme
SAH hydrolase
Adenosine ออกฤทธิ์โดยการจับที่
adeno-sine receptor (Purinergic A1 receptor) ของเซลล์หัวใจซึ่งมีอยู่ที่
SA node, AV node และกล้ามเนื้อใน atrium มีผลกระตุ้นให้มีการเพิ่ม potassium
conductance โดยการเพิ่มการออกนอกเชลล์ของ potassium ion ทําให้เกิดภาวะ hyperpolarization
ของเซลล์ ทําให้ action potential duration สั้นลง ลดอัตราการเกิดของ spon-taneous
sinus node discharge ลด automaticity ของเซลล์ และลดการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ positive vagal effect และ antiadrenergic effect
ผลของ adenosin ที่ SA node,
atrium และ AV node ทําให้มี sinus rate ช้าลง และ AV conduction ช้าลง ทําให้เกิด
AV block
Clinical pharmacology
การให้ ademosine ต้องให้โดยทางหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็ว
(rapid intravenous bolus) โดยการในเวลาไม่เกิน 10 วินาที เนื่องจากยานี้มี
half life สั้น
Hemodynamic effect
เนื่องจาก adenosine มีฤทธิ์
antiadrenergic effect โดยการกระตุ้น enzyme adenyl cyclase ทําให้ลด c AMP
ในเซลล์ ทําให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด และเกิดภาวะ hypotension ได้ นอกจากนี้ผลของการกด
sinus rate ทําให้มีการกระตุ้น autonomic reflex ทำให้เมื่อหมดฤทธิ์ของ adenosine
อาจพบว่าเกิด sinus tachycardia ได้ในภายหลัง
Antiarrhythmic efficacy
Adenosine ใช้ได้ผลดีในการรักษา
supraขventricular tachyarrhythmia ชนิดที่เป็น AV node dependent เช่น atrioventricular
nodal reentrant tachycardia และ atrioventricular reentrant tachy-cardia
โดยการ block AV node conduction สามารถหยุด tachycardia ได้ในเวลา 20-30
วินาทีหลังจากให้ยา ปัจจุบันการให้ adenosine ถือเป็น treatment of choice
และใช้แทนการทำ cardioversion ในผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ และมีอาการหนัก ในกรณีของผู้ป่วยที่มีภาวะ
atrial tachycardia, atrial flutter และ atrial fibrillation ยา adenosine
ไม่สามารถหยุดหัวใจเต้นผิดปกติได้ แต่ในระหว่างการให้ยา อาจจะสามารถสังเกตุเห็น
atrial activity ได้ชัดเจน จึงมีประโยชน์ในการวินิจฉัยแยกชนิดของ tachycardia
ในผู้ป่วยที่มี wide QRS
complex tachy-cardia สามารถใช้ adenosine ในการวินิจฉัยแยกโรคได้ระหว่าง
ventricular tachycardia กับ supraventricular tachycaxdia with bundle branch
block หรือมี aberrant conduction ได้ แต่ต้องระวังว่า adenosine อาจกระตุ้นให้เกิด
atrial fibrillation ได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่ม pre-excitation syndrome
(WPW syndrome) เนื่องจากอาจทําให้เกิด ventricular tachycardia ได้ ภาวะ
ventricular tachycardia ที่ตอบสนองต่อ adenosine ได้แก่ ภาวะventricular
tachycardia ที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นโดยภาวะ stress หรือจากการทํา exercise
และมีจุดกําเนิด มาจาก right ventricular outflow tract
Dosage regimen
การบริหารยาโดยการให้ยาทางหลอดเลือดดํา
ในขนาด 0.1-0.2 mg/kg ในเวลาอันรวดเร็ว และต้องมี normal saline สําหรับฉีดหลังจากให้ยาด้วย
ในผู้ป่วยที่ได้รับ theophylline มาก่อน อาจจะไม่ได้ผลจากการให้ยานี้ และในผู้ป่วยที่ได้รับ
dipyridamole ซึ่งยามีผลยับยั้งการนำ adenosine เข้าเซลล์ จึงต้องลดขนาดของยานี้ลง
Adverse effect
Adenosine ทําให้เกิด bronchoconstriction
จึงต้องระวังในการใช้ในผู้ป่วย asthma นอกจากนี้ จะพบอาการหน้าแดง เจ็บหน้าอก
คลื่นไส้ อาเจียร ปวดศีรษะ หรือชักได้ ภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจ ได้แก่ การมี
isolate หรือ repetitive ventricular premature contraction, sinus pause,
sinus bradycardia, AV block และ atrial fibrillation ในผู้ป่วย long QT syndrome
อาจเกิด Torsade de Pointes ได้ |