การแบ่งชนิดของยาต้านการเต้นหัวใจผิดจังหวะโดยวิธีนี้
อาศัยกลไกการออกฤทธิ์หลัก (prin-ciple action) ของยาต่อ membrane ion channel
เช่น sodium channel, potassium channel หรือ calcium channel และ adrenergic
reccptor เป็นหลัก ถึงแม้ว่ายานั้นจะมีกลไกการออกฤทธิ์ในการควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้หลายตําแหน่งก็ตาม
การแบ่งชนิดของ antiarrhythmic drugs โดยวิธีนี้แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม (ตารางที่
5) โดยไม่รวม digitalis และ adeno-sine ดังนี้
MEMBRANE
EFFECT OF
ANTIARRHYTHMIC
DRUGS
|
Class |
Membrane effect |
IA |
Sodium channel
blockade ++ |
IB |
Sodium channel
blockade + |
IC |
Sodium channel
blockade +++ |
II |
Beta receptor
blockade |
III |
Potassium
channel blockade |
IV |
Calcium channel
blockade |
Digitails |
Na / K ATPase
inhibitor |
Adenosine |
Purinergic
receptor agonist |
Class I Sodium
channel blockers
ยาในกลุ่มนี้มีผลยับยั้ง
(block) การเข้าเซลล์ของ sodium ทาง fast sodium channels ใน phase 0 ของ
action potential สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
Class
1 A ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ขัดขวางการเคลื่อนตัวของ sodium ion
เข้าไปในเซลล์ ทําให้การเกิด action potential และ spontaneous diastolic
depolarization ของเชลล์ช้าลง ดังนั้นความสามารถในการให้กำเนิด impulses จึงช้าลง
(automaticity ของเซลล์ลดลง) ลดการนํา impuises ใน ventricle และ Purkinje
fiber เพิ่มระยะเวลา effective refractory period (delay repolarization)
ทําให้ระยะเวลาของ action potential ยาวขึ้นและมีผล vagolytic ต่อ SA node
กล้ามเนื้อใน atrium และ AV node ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ quinidine, procainamide
และ disopyramide
Class
1 B ยาในกลุ่มนี้นอกจากออกฤทธิ์ลดการเข้าเซลล์ของ sodium ion
พร้อมทั้งออกฤทธิ์เพิ่มการออกนอกเซลล์ของ potassium ion (menbrane K+ conductant)
ทําให้ความสามารถในการเกิด impulse ลดลง (automaticity ลดลง) มีระยะเวลา action
potential สั้นลง ยาในกลุ่มนี้มีผลต่อ conduction velocity ของเซลล์เล็กน้อย
ทำให้ระยะเวลา effective refractory period ของเซลล์สั้นลงและระยะเวลา QT
สั้นลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาของ action potential ทั้งหมดแล้ว ระยะเวลา
refractory period จะยาวขึ้น ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ lidocain, diphenylhydantoin,
tocainide และ mexilitine
Class
1 C ยาในกลุ่มนี้มีผลต่อการเคลื่อนย้ายของ sodium ion และ potassium
ion อย่างมาก ทําให้ลดการเกิด action potential และลดการนำ impulses อย่างมาก
แต่มีผลน้อยต่อระยะเวลา refrac-tory period ลดการนํา impulses ผ่าน His Purkinje
fiber ทําให้ระยะเวลา QRS complex ยาวขึ้น ระยะ PR interval ยาวขึ้น โดยไม่มีผลต่อระยะเวลา
QT ยาในกลุ่มนี้ เช่น ecainide, flecainide และ propafenone
Class II Beta
adrenergic receptor blocker
ยาในกลุ่มที่มีฤทธิ์ขัดขวางการทํางานของ
catecholamine ที่ beta adrenergic receptor ทําให้มีผล negative inotropic
และ chronotropic ต่อ sinus node และ ectopic pacemaker ทําให้เพิ่มระยะเวลา
refrac-tory period ของ AV node ลดการนํา impulses ของเซลล์ปกติและเซลล์ที่ผิดปกติ
เชื่อว่าฤทธิ์ของยาในกลุ่มนี้ยังมีผลที่ phase 4 ของ action potential โดยลดการเกิด
spontaneaus diastolic depolarization และยับยั้งการเข้าเซลล์ของ calcium
ion ใน phase 2 ยาในกลุ่มนี้ที่ใช้กันบ่อยได้แก่ propranolol, metoprolol
และ atenolol
Class III Potassium
channel blockers
ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการขัดขวางการออกนอกเซลล์ของ
potassium ion มีผลทําให้ระยะเวลา action potential และระยะ effective refractory
period ยาวขึ้น จึงทําให้ระยะเวลา QT ยาวขึ้นและยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์เฉพาะที่แตกต่างกันเช่น
amiodarone มีฤทธิ์ยับยั้งการเข้าเซลล์ของ sodium ทาง sodium channel ส่วน
bretylium มีผลเพิ่มการหลั่ง cathecholamine และ sotalol มีผลในทาง beta blocker
Class IV Calcium
channel blackers
ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ลดการเข้าเซลล์ของ
calcium ion ของ action potential จึงทําให้การเกิด impulses ของ SA node
และ AV node ลดลง รวมทั้งลดการนํา impulses ของ AV node นอกจากนี้ยาในกลุ่มนี้ยังมีผลเพิ่มการออกนอกเซลล์ของ
potassium ion ทําให้ cell membrane อยู่ในภาวะ hyperpolarized ยาในกลุ่มนี้ได้แก่
verapamil และ diltiazem
นอกจากนี้ยังมียาที่ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่ได้อยู่ในการแบ่งของ
Vaughan Williams Classification ได้แก่ digitalis ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ
enzyme Na-K ATPase และ adenosine ซึ่งออกฤทธิ์โดยการจับกับ purinergic receptor
ทำให้เกิด potassium ion ออกนอกเชลล์มากขึ้นเกิดภาวะ hyperpolarization และมีฤทธื์ต้านการทำงานของ
catecholamine (antiadrenergic effect) อีกด้วย |