การรักษาโดยการทำ Radiofrequency ablation
        การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยการทำ radiofrequency ablation เป็นวิธีการรักษาโดยการทําลายเนื้อเยื่อหรือ pathway ที่ผิดปกติ ที่ทําให้เกิดมีความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง เมื่อคลื่นวิทยุความถี่สูง นี้ถูกเนื้อเยื่อ จะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน และทําให้เกิดการตายของเซลล์บริเวณนั้น การรักษาวิธีนี้ ใช้ได้ดีในการรักษาภาวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดขึ้นจากกลไก reentry เช่น atrioventricular nodal reentrant tachycardia (AVNRT), atrioventricular tachycardia (AVRT), atrial flutter, atrial fibrillation และ ventricular tachycardia บางชนิด

        ข้อบ่งชี้ในการรักษาโดยวิธี radiofrequency ablation ในเด็ก ได้แก่
        1. Wolff Parkinson White syndrome ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 5 ปี เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเกิด atrial fibrillation และสามารถกระตุ้นให้เกิด 1:1 ventricular tachycardia ได้
        2. Permanent junctional reentrant tachy-cardia ในเด็กอายุมากกว่า 3 ปี
        3. Incessent atrial tachycardia หรือ ventricular tachycardia ในเด็กอายุมากกว่า 3 ปี
        4. ทำการรักษาก่อนการทำผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับหัวใจในผู้ป่วย Wolff Parkinson White syndrome หรือผู้ป่วยที่มีประวัติ ของการเกิด atrioventricular nodal reentrant tachycardia มาก่อน
        5. ผู้ป่วยที่มีภาวะ suprarentricular tachy-cardia ที่มีอาการรุนแรงเช่น syncope หรือมีภาวะหัวใจล้มเหลว

        ภาวะแทรกซ้อนของการทํา radiofrequency ablation พบได้น้อยมาก โดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 0.15% ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น myocardial infarction กระตุ้นให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดใหม่ (proarrhythmia) เช่น short run nonsustain ventricular tachycardia หรืดอาจทำให้เกิด pericardial effusion, intracardiac thrombosis, pericardial temponade หรือเกิด complete AV block
        จากการศึกษาต่างๆ พบว่า การทํา radiofre-quency ablation ได้ผลในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยเฉพาะชนิด supraventricular arrhythmia ซึ่งได้ผลมากกว่า 90% โดยมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าการผ่าตัด 10-15 เท่า และน้อยกว่าการ รักษาโดยการใช้ยา ส่วนอัตราความพิการ (morbidity) พบน้อยกว่าการผ่าตัดประมาณ 70% และน้อยกว่าการรักษาโดยการใช้ยา ประมาณ 76% และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการใช้ยาประมาณ 30%