การรักษาโดยการทำ DIRECT CURRENT COUNTER SHOCK
        การทํา direct current counter shock (DCC) หรือที่เรียกว่า cardioversion หรือ defibrillation เป็นการรักษาฉุกเฉิน ที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดชิวิตได้ (life saving) กลไกในการหยุดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ เชื่อว่าเกิดจากการหยุดการเกิด reentrant depolarization และทําให้เกิด sinus rhythm ขึ้นมา การรักษาวิธีนี้ จึงมีประโยชน์ในการรักษาภาวะหัวใจเต้น ผิดจังหวะ ที่เกิดขึ้นจากกลไก reentry เช่น atrial flutter, atrial fibrillation, supraventricular tachycardia, ventricular tachycardia หรือ ventricular fibrillation แต่จะไม่มีประโยชน์ ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ที่เกิดจากกลไกที่เพิ่ม automaticity ของเชลล์ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจาก digitalis toxicity
        ข้อบ่งชี้ของการทํา direct current counter shock ได้แก่ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต (life threatening) มีการเปลี่ยนแปลงทาง hemodynamic เกิดขึ้น เช่น ภาวะ shock หรือภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือมีข้อห้ามในการใช้ยา
        ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ใช้ ขึ้นอยู่กับชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยทั่วไปใช้ขนาด 0.5-2 J/Kg (Watt-second/Kg) ในผู้ป่วย supraventricular tachyardia หรือ ventricular tachycardia ควรเริ่มใช้ในขนาด 0.5 J/Kg แล้วจึงค่อยเพิ่มขนาด ของกระแสไฟฟ้าขึ้น ส่วนในผู้ป่วย ventricular fibrillation ควรเริ่มในขนาด 2 J/Kg และสามารถเพิ่มขึ้นเป็น 4 J/Kg ได้
        ในผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี ก่อนการทํา cardioversion ควรให้ยานอนหลับ เช่น valium หรือ ketamine แก่ผู้ป่วย ในกรณีที่ คลื่นไฟฟ้าหัวใจมี QRS complex ชัดเจน ควรใช้ synchronized mode กับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อป้องกันการทํา cardioversion ในช่วงระยะเวลาตรงกับ T wave เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะ ventricular tachycardia ได้ ในผู้ป่วยที่ได้รับ digitalis มาก่อน ควรหลีกเลี่ยงการทำ cardioversion แต่ในกรณีที่จำเป็นสามารถทำ cardioversion ได้ แต่ขนาดของไฟฟ้าที่ใช้ ควรให้ในขนาดเริ่มต้น 0.5 J/Kg ก่อน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิด ventricular tachycardia หรือ ventricular fibrillation
        ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ การไหม้ของผิวหนัง เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดใหม่ เช่น complete heart block หรือ bradycardia สามารถแก้ไขได้โดยการให้ atropine หรืออาจเกิด ventricular tachycardia, atrial tachycardia หรือ ventricular fibrillation และจำเป็นอาจต้องทำ cardioversion หรือ defifrillation อีกครั้ง นอกจากนี้อาจพบมีกล้ามเนื้อหัวใจ อักเสบ หรือเกิดการแข็งตัวของเลือด (thrombosis) เป็นต้น
        ภายหลังจากทำ cardioversion และจังหวะการเต้นของหัวใจกลับมาเต้นปกติ ในผู้ป่วยที่มีภาวะ ventricular tachycardia ควรให้การรักษาต่อด้วย lidocain ทางหลอดเลือดดำ และให้ procainamide, quinidine หรือ disopyramide โดยการรับประทานต่อไป และในผู้ป่วย atrial fibrillation หรือ atrial flutter ควรให้การรักษาต่อด้วย quinindine หรือ digitalis