แนวทางในการใช้ยาเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งในด้านแนวทาง การรักษา ข้อบ่งชี้และชนิดของยาที่เลือก
มีการค้นพบยาชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง ในการควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย แต่การรักษาโดยการใช้ยา ยังมีปัญหาอยู่หลายประการ
ทั้งในแง่ compliance ประสิทธิภาพของยา และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ดังนั้นในการตัดสินใจใช้ยา
เพื่อควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จึงมีข้อที่ควรคํานึงถึงดังนี้
1. ความจําเป็นในการใช้ยา
ในการใช้ยาเพื่อควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
มีวัตถุประสงค์เพื่อทําให้จังหวะการเต้นของหัวใจกลับมาปกติ ทำให้การเปลี่ยนแปลงทาง
hemodynamic ที่เกิดขึ้น กลับมาเป็นปกติ และผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น ดังนั้นความจําเป็นของการใช้ยา
จึงขึ้นอยู่กับชนิดของความผิดปกติ ในจังหวะการเต้นหัวใจ และการเปลี่ยนแปลงทาง
hemodynamic ที่เกิดขึ้นดังนี้
1.1
Life threatening arrhythmias เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (tachycardia)
ที่มีผลทําให้ประสิทธิภาพ การทํางานของหัวใจลดลง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะ congenital
long QT syndrome มีโอกาสของการเกิด ventricular tachycardia ได้บ่อยและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด
sudden death ดังนั้นการใช้ยาในผู้ป่วยเหล่านี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทําให้จังหวะการเต้น
ของหัวใจ และประสิทธิภาพการทํางานของหัวใจ กลับมาปกติ หรือควบคุมไม่ให้เกิดความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจ
ที่อันตรายกับผู้ป่วย
1.2
Symptomatic non life threatening arrhythmias เช่น paroxysmal supraventricular
tachycardia ที่มีอาการ palpitation หรือภาวะหัวใจล้มเหลวที่ไม่รุนแรงร่วมด้วย
วัตถุประสงค์ของการรักษาในผู้ป่วยเหล่านี้ เพื่อควบคุมความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจ
เพื่อให้อาการที่เกิดขึ้นให้กลับมาเป็นปกติ
1.3
Asymptomatic non life threatening arrhythmias เช่น short run ventricular
tachycardia ที่ไม่ทำให้เกิดอาการ ไม่จําเป็นต้องให้การรักษา เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากยา
พบมากกว่าผลเสียของการเกิดภาวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
2. ชนิดของยาที่เหมาะสม
การเลือกใช้ antiarrhythmia
drugs ในการควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับความชํานาญของแพทย์
ในการใช้ยานั้นๆ ยาที่ใช้ควรมีประสิทธิภาพในการควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ดี
มีความปลอดภัยสูง สามารถออกฤทธิ์ได้นาน และออกฤทธิ์ได้เร็ว นอกจากนี้ ยังต้องคํานึงถึงเศรษฐานะ
และอายุของผู้ป่วยด้วย
3. ขนาดของยาที่ใช้
ขนาดของยาที่ใช้ในเด็กมักสูงกว่าในผู้ใหญ่
และการคํานวณขนาดของยาโดยการใช้ body surface area จะเหมาะสมกว่าการใช้น้ำหนักของผู้ป่วย
โดยเฉพาะในเด็กทารกแรกเกิดและวัยทารก ควรทราบว่ายาชนิดนั้นจําเป็นต้องให้
loading dose หรือไม่ และมีขนาดของยาที่ให้โดยการรับประทาน หรือทางหลอดเลือดดำ
อย่างไร
4. วิธีการบริหารยา
โดยทั่วไปในผู้ป่วยที่มีอาการ
หรือต้องการควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดขึ้นทันที (acute termination)
มักจําเป็นต้องให้ยาทางหลอดเลือดดํา แต่ในการรักษาเพื่อควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างต่อเนื่อง
(chronic treatment) สามารถให้ยาโดยการรับประทานได้ ยาบางชนิดมีผลในการควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ดี
เฉพาะการให้ยาทาง หลอดเลือดดํา เช่น adenosine ยาบางชนิดเมื่อให้โดยการรับประทาน
ต้องใช้ขนาดยาที่สูงกว่าการให้ทางหลอดเลือดดำ เช่น verapamil และยาบางชนิดมีในรูปของ
sustained release ทําให้สามารถให้ยาวันละครั้งได้
5. การติดตามผลการรักษา
โดยทั่วไปถือว่ายาสามารถควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ดี
เมื่อสามารถหยุดการเต้นผิดปกติของหัวใจที่เกิดขึ้นได้ และอาการเกิดขึ้นจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะของผู้ป่วยดีขึ้น
ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องทําการตรวจ Holter monitoring, exercise test หรือตรวจหาระดับยาในเลือด
โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะ ventricular tachycardia
6. ระยะเวลาในการให้ยา
ระยะเวลาในการให้ยารักษาต่อเนื่องนานเท่าใดขึ้นอยู่กับ
ชนิด ความรุนแรง และโอกาสของการกลับเป็นซ้ำ รวมทั้งอายุ ของผู้ป่วย เช่น ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะ
supraventricular tachycardia ครั้งแรก เมื่อมีอายุน้อยกว่า 1 ปี จำเป็นต้องให้ยารักษาต่อเนื่องนาน
6-12 เดือน แต่ในเด็กโตที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องในยารักษาต่อเนื่อง
7. โรคพื้นฐานของผู้ป่วย (underlying disease)
โรคพื้นฐานของผู้ป่วยที่เป็น
ก่อนการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ความผิดปกติในการทํางานของ
ตับ ไต และความผิดปกติในทาง metabolism ต่างๆ มีผลต่อการเลือกชนิดและขนาดของยา
รวมทั้งผลของการรักษา และภาวะ แทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
7.1
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว มักมีความผิดปกติในการบีบตัวของหัวใจ ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
บางชนิด มีผลทําให้ความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง (negative
inotropic effect) ทําให้ภาวะหัวใจล้มเหลว รุนแรงขึ้น เช่น disopyramide,
fecainide, sotalol และ verapamil ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้
นอกจากนี้ ในภาวะ หัวใจล้มเหลว ยังมีผลลดปริมาณโลหิตที่ไหลไปตับ (hepatic
blood flow) ทําให้การขับยาออกจากร่างกาย (clearance) หรือการทำลาย (metabolite)
ของยาที่ตับลดลง เช่น ยา lidocaine, mexilitine จำเป็นต้องลดขนาดของยาเหล่านี้ลง
และในผู้ป่วยเหล่านี้ มักพบปัญหาการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดใหม่ (proarrhythmia)
จากยาได้บ่อยกว่าผู้ป่วยที่มีการทํางาน ของหัวใจปกติ
7.2
ภาวะไตวาย (renal failure)
ภาวะไตวายทําให้มีการสะสมของยาที่ขับออกจากร่างกายทางไต และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาได้ง่ายขึ้น
เช่น ยา digitalis, procainamide, flecainide, sotalol และ disopyramide โดยเฉพาะ
procainamide ซึ่งมี active metabolite เป็น N acetyl procainamide (NAPA)
ที่มีฤทธิ์ต้านการเต้นหัวใจผิดจังหวะด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้
ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย หรือถ้าจำเป็นต้องใช้ จะต้องลดขนาดของยาลง
7.3
โรคตับ
ผู้ป่วยที่มีการทํางานของตับผิดปกติรุนแรง ทําให้ระดับยาที่ทําลายที่ตับสูงขึ้น
เช่น ยา lidocaine, quinidine และ mexilitine
7.4
ความผิดปกติในทาง metabolism
ในภาวะที่มีการขาดออกซิเจน ขาดเลือด (ishemia) ภาวะ acidosis มีความผิดปกติทาง
electrolyte หรือมีความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ภาวะเหล่านี้มีผลต่อประสิทธิภาพและภาวะแทรกซ้อน
ที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้ยาได้
7.4.1 ภาวะ acidosis และ hyperkalemia ทําให้ปริมาณ potassium ion
นอกเซลล์เพิ่มขึ้น มีผลให้การเข้าเซลล์ (influx) ของ sodium ion ลดลง และ
conduction velocity ของ impulses ลดลง ดังนั้นยาที่มีฤทธิ์ลดการเข้าเซลล์ของ
sodium ion เช่น ยาในกลุ่ม Class I จึงมีประสิทธิภาพในการควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ดีขึ้น
ส่วนในภาวะ hypokalemia มีผลทําให้การ repolarization ของเซลล์ช้าลง การเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจากการมี
long QT interval จึงเกิดได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในการใช้ยาใน Class IA
7.4.2 ภาวะที่มีการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท sympathetic
ทําให้มีปริมาณ catecholamine ในเลือดสูงขึ้น มีการเพิ่มปริมาณของ calcium
ion ในเซลล์ ทำให้เกิดภาวะ delayed after-depolarization และเกิดการเต้น หัวใจผิดจังหวะขึ้น
การมี calcium ion ในเซลล์เพิ่มขึ้น จะเพิ่มความเร็วของการเกิด depolarization
ใน SA node และ AV node ทําให้ประสิทธิภาพของยาในกลุ่ม calcium channel blockers
และ beta adrenergic blockers ลดลง
8. Drugs interaction
ในการใช้ยาต้านการเต้นหัวใจผิดจังหวะร่วมกัน
หรือใช้ร่วมกับยาอื่น จำเป็นต้องคํานึงถึงฤทธิ์ของยาที่มีต่อกัน เช่น ยาชนิดหนึ่งอาจมีผลลดหรือเพิ่มการทําลายของยาอีกชนิดหนึ่งในร่างกาย
หรือมีตําแหน่งของการออกฤทธิ์ (receptor) ที่เดียวกัน ทำให้มีการแย่งการจับ
receptor (competition for receptor sites) หรือทําให้ยาอีกชนิดหนึ่งสามารถจับกับเนื้อเยื่อของร่างกาย
มากขึ้น หรือมีผลเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นในการใช้ยาร่วมกัน จึงอาจทําให้ประสิทธิภาพของยาในการควบคุมภาวะ
หัวใจเต้นผิดจังหวะลดลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น
ยา cimetidine มีผลลดการทําลายยา
quini-dine, procainamide, lidocaine, flecainide และ propranolol ที่ตับ
ทําให้ระดับยาในเลือดของยาเหล่านี้เพิ่มขึ้น ส่วนยา phenytoin, phenobarbitol
และ rifampicin ทำให้มีการเพิ่มการทําลาย ของยา quinidine, disopyramide และ
mexilitine ที่ตับ ทําให้ระดับยาในเลือดของยาเหล่านี้ลดลง
ยา quinidine, amiodorone
และ verapamil มีผลลด clearance ของ digoxin ในเลือด ดังนั้นในการใช้ยาร่วมกัน
จำเป็นต้องลดขนาดของ digoxin ลง
ยาในกลุ่ม beta blocker และ
calcium channel blocker มีผลลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลด AV node conduction
และลดการบีบตัวของหัวใจ ดังนั้นเมื่อใช้ร่วมกับ disopyramide, flecainide
หรือ proprafenone จะมีผลเสริมฤทธิ์กัน ทําให้การบีบตัวของหัวใจแย่ลง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง |