การรักษาโดยการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ  (Autonomic intervention)
        จังหวะการเต้นของหัวใจอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งระบบประสาท sympathetic และ parasympathetic ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจ จึงสามารถให้การรักษาได้ด้วยการกระตุ้น หรือลดการทํางานระบบประสาทเหล่านี้

1. การกระตุ้นระบบประสาท parasympathetic  (vagal stimulation)
        การกระตุ้นการทํางานของระบบประสาท parasympathetic (vagal stimulation) ทําให้มีการนํา impulses ผ่านบริเวณ AV node ช้าลง ทำให้เกิด AV block เป็นผลให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง การรักษาวิธีนี้ ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ที่เกิดจากกลไก reentry ผ่านทาง AV node เช่น atrioventricular nodal tachycardia, atrioventricular tachycardia หรือใช้ในการทําให้ ventricle ตอบสนองต่อการเต้นของ atrium ที่เร็วผิดปกติให้ช้าลง ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง เช่น ในกรณี atrial fibril-lation with rapid ventricular response การทํา vagal stimulation ต้องมีการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา และมีวิธีในการทำดังนี้
               1.1 การใช้ Ice bag โดยการใช้ถุงพลาสติกที่มีน้ำแข็งบรรจุอยู่ และมีขนาดใหญ่เพียงพอ ที่สามารถคลุมหน้าผู้ป่วยได้ ปิดที่บริเวณจมูกและปากของผู้ป่วย เป็นเวลาประมาณ 15 วินาที การทำวิธีนี้ เป็นการกระตุ้นการทํางานของ diving reflex และเป็นการทําแทนการทํา facial immersion
               1.2 Carotid sinus massage โดยการนวดบริเวณ carotid sinus ซึ่งอยู่ที่ internal carotid artery บริเวณเหนือต่อ common carotid artery การหาตําแหน่งของ carotid sinus ทำได้โดยการคลําชีพจรที่บริเวณ anterior triangle ของคอทาง lateral และเหนือต่อ thyroid cartilage ควรทําการนวดครั้งละข้าง เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที
               1.3 การทำ Valsalva maneuver โดยการกดที่บริเวณท้องของเด็ก หรือให้ผู้ป่วยเป่าถุงยางที่สามารถวัดความดันได้ โดยให้ผู้ป่วยเป่าถุงยาง จนกระทั่งมีความดันมากกว่า 40 mmHg และกลั้นเอาไว้ เป็นเวลาประมาณ 15 วินาที
               1.4 โดยการใช้ยากระตุ้นให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ร่างกายจะปรับตัวโดยการกระตุ้นการทํางานของเส้นประสาท vagus ทําให้หัวใจเต้นช้าลง ยาที่ใช้ได้แก่
                        1.4.1 Phenylephrine โดยการให้ในขนาด 0.01 mg/Kg ทางหลอดเลือดดํา ถ้าความดันโลหิตไม่เพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มขนาดของยาเป็น 0.02 mg/Kg และสามารถให้ซ้ำได้ทุก 5 นาที จนกว่าความดันโลหิตจะเพิ่มเป็น 2 เท่า หรืออาจให้ยาโดยการหยดทางหลอดเลือดดําในขนาด 0.01 mg/Kg
                        1.4.2 Edrophonium โดยให้ยาในขนาด 0.2 mg/Kg แบ่งให้ครั้งแรก 0.04 mg/Kg ก่อน และถ้าภาวะ supraventricular tachycardia ไม่หาย จึงให้ต่ออีกครั้งละ 0.04 mg/Kg ห่างกัน 30-45 วินาที

2. การกระตุ้นระบบประสาท sympathetic
        ในกรณีที่หัวใจมีการเต้นช้าผิดปกติ เช่นในกรณีของ complete atrioventricular block หรือ sinus node dysfunction หรือเกิดจากการกระตุ้นเส้นประสาท vagus สามารถรักษาโดยการให้ atropine (10-40 ugm/Kg) หรือ epinephrine (0.1-1 ugm/Kg/min.) หรือ isoproterenol ทางหลอดเลือดดํา ในขนาด 0.1-0.25 ugm/Kg/min