Pneumonia
คือ การติดเชื้อของเนื้อปอด มี 3 แบบ คือ
รูปที่ 2 ภาพของ acute pneumococcal pneumonia ใน
right lower lobe (ลูกศร) ; รูปซ้าย-ท่า PA, รูปขวา-ท่า lateral
|
รูปที่ 3 ภาพของ air bronchograms
(ลูกศร)ใน alveolar pneumonia
|
1) Air-space หรือ alveolar pneumonia เช่น streptococcus pneumoniae เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปถึง
peripheral airspaces ของปอด แล้วเกิดการอักเสบ ซึ่งจะหนอง (Pus) และเม็ดเลือดขาว
(WBC) เข้ามาอยู่ใน alveoli แล้วขยายวงออกไป เป็นลักษณะ homogeneous density
แต่เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Bronchial tree จึงทำให้เกิด Air-Bronchogram
ขึ้น ปอดที่เป็นโรค มักจะไม่แฟบ ดังรูปที่ 2 และ 3
รูปที่ 4 ภาพของ acute bronchopneumonia ใน
right lower lobe(ลูกศร); รูปซ้าย-ท่า PA, รูปขวา-ท่าlateral
|
2) Bronchopneumonia เช่น Staphylococcus aureus เกิดการอักเสบในทางเดินอากาศ
(conducting airways) และเนื้อปอด
รอบ ๆ เกิดเป็นลักษณะ segmental distribution เนื่องจากมีการอุดตันของ
Bronchial tree จึงทำให้เกิดปอดแฟบขึ้น (Atelectasis)
ดังรูปที่ 4
รูปที่ 5 ซ้าย-acute mycoplasma pneumonia
ในปอดทั้ง2 ข้าง, ขวา-ภาพขยาย
|
3) Interstitial pneumonia เช่น เชื้อไวรัส และ mycoplasma มักจะเกิดการอักเสบใน
interstitial issue เกิดเป็นลักษณะเหมือน
ร่างแห (fine reticular pattern)
Pulmonary tuberculosis คือ วัณโรคปอด
1) Primary pulmonary tuberculosis
รูปที่ 6 ซ้าย-minimal tuberculosis ใน right upper lobe, ขวา-tuberculosis
ใน right upper lobe ซึ่งมากขึ้น
|
รูปที่ 7ซ้าย-primary tuberculosis ใน right upper lobe และ atelectasis,
ขวา-หลังได้รับการรักษา
|
รูปที่ 8 ซ้าย-minimal tuberculosis ที่ด้าน lateral ของ second anterior
intercostal space, ขวา-ภาพขยาย
|
รูปที่ 9 ซ้าย-primary tuberculosis ใน left upper lobe, ขวา-หลังได้รับการรักษา
เหลือเป็น fibrosis เล็กน้อย
|
ส่วนใหญ่มักจะเกิดในเด็ก
เป็นลักษณะ air space consolidation มักพบใน upper lobes บ่อยกว่าใน lower
lobes จะเป็น homgeneous density ที่มีขอบไม่ชัดเจน ไม่ค่อยมีการเกิดโพรง
(cavitation) มักมีต่อมน้ำเหลืองโตที่บริเวณ hilar หรือ paratracheal
2) Postprimary tuberculosis (Reactivation) ดูรูปที่ 10, 11
รูปที่ 10 ซ้าย-advanced bilateral pulmonary
tuberculosis, ขวา-ภาพ tomogram แสดง
ให้เห็น cavitation ที่ upper lobe ทั้ง 2 ข้าง
|
รูปที่ 11ซ้าย-far advanced pulmonary
tuberculosis, ขวา-หลังการรักษา 9 เดือน
|
ไม่ค่อยมีต่อมน้ำเหลืองโต มักเกิดที่ apical และ posterior segments ของ upper
lobes หรือ superior segment ของ lower lobes ลักษณะทาง x-rays จะเป็นบริเวณที่มี
mottled density ซึ่งมีขอบเขตไม่ชัดเจน อาจจะเกิดเป็นโพรง (cavity) ซึ่งมีผนังหนา
พอประมาณ และมีขอบด้านในที่เรียบ ถ้าได้รับการรักษา ความหนาของผนังจะบางลง
3) Miliary tuberculosis
เกิดจากการแพร่ของเชื้อวัณโรคโดยกระแสเลือด
ลักษณะทาง x-rays จะเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ ในปอด ซึ่งกระจายอย่างกว้างขวางและสม่ำเสมอทั่วทั้ง
2 ปอด ดังรูปที่ 12
ถ้าได้รับการรักษา ก็จะหายได้เร็วและสมบูรณ์
รูปที่ 12 ภาพขยายของ miliary tuberculosis
|
Tuberculoma
คือ lesion ที่มีลักษณะกลม หรือ รูปไข่ ดังรูปที่ 13 มักจะพบใน upper lobes
ข้างขวาบ่อย กว่าข้างซ้าย ขนาด 0.5 ถึง 4 ซม. อาจมี calcification แบบเปลือกไข่
หรือ วงแหวน (shell หรือ ring calcification) มักจะไม่เปลี่ยนแปลง Tuberculoma
อาจเกิดจาก primary infection หรือ reinfection |
รูปที่ 13 ภาพของ calcified tuberculoma ที่ right upper lobe(ลูกศร)
และ calcified hilar nodes
|
Healing คือ การซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ อาจจะหายโดยสมบูรณ์ ถ้าเป็น acute disease
เพราะเป็น exudative infiltrates
แต่ถ้ามีการพัฒนาไปถึงเนื้อตาย (necrosis) มักจะมี fibrosis with contraction
ของ scar ทำให้ปริมาตรของปอดลดลง อาจมี calcification ใน nodules และกลายเป็นโพรง
(cavity)
รูปที่ 14 ภาพของ pulmonary tuberculosis
ที่มีทั้ง cavitations และ fibrosis
|