Classification
การจำแนกชนิดของ myiasis สามารถจำแนกได้ 2 วิธี คือ
1. Clinical classification
2. Parasitological classification
1. Clinical classification
วิธีนี้จำแนกโดยอาศัยตำแหน่งที่หนอนแมลงวันอาศัยอยู่ในโฮสท์ การจำแนกแบบนี้ช่วยทำให้การจำแนกชนิดของหนอนแมลงวันสะดวกมากขึ้น สามารถแบ่งได้เป็น
Myiasis ที่ผิวหนัง
(Cutaneous myiasis) เป็น myiasis ที่เกิดที่ผิวหนังหรือชั้นใต้ผิวหนัง เช่น หนอนแมลงวัน การที่หนอนแมลงวันไต่ขึ้นบนโฮทส์แล้วมาดูดกินเลือด (Bloodsucking myiasis) ภาวะที่หนอนแมลงวันฝังอยู่ในผิวหนังและเกิดเป็นตุ่มฝี (Furunicular myiasis) หรือการที่หนอนแมลงวันไชไปตามผิวหนังเกิดเป็นแนวที่มันไชไป (Creeping myiasis) หรือหนอนแมลงวันบางชนิดที่ชอบอาศัยอยู่ที่บาดแผลของโฮสท์ (Wound or Traumatic myiasis)
รูปที่ 1 Myiasis ที่หนังศรีษะ
Myiasis ที่เกิดในช่องว่างในลำตัว
(Body cavity myiasis) เป็น myiasis ที่เกิดขึ้นบริเวณช่องว่างต่างๆ ของลำตัวโฮสท์ เช่น nasophalyngeal myiasis, auricular myiasis, ophthalmomyiases
รูปที่ 2 Myiasis ในช่องปาก
รูปที่ 3 แสดง Myiasis ในลูกตา
Myiasis ที่เกิดในอวัยวะภายในต่างๆ
เช่น ในทางเดินอาหาร (Enteric or Intestinal myiasis) myiasis ที่เกิดในกระเพาะปัสสาวะ (Urogenital myiasis) หรือในอวัยวะสืบพันธุ์หญิง (Vaginal myiasis)
รูปที่ 4 Myiasis ในทางเดินอาหาร
2. Parasitological classification
อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างโฮสท์กับหนอนแมลงวัน ซึ่งการจำแนกแบบนี้ทำให้เราเข้าใจชีววิทยาของแมลงวันได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการรักษาและป้องกันโรค และยังทำให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของหนอนแมลงวันได้ดีขึ้น การจำแนก myiasis แบบนี้สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มคือ
Specific หรือ Obligatory myiasis
เป็น myiasis ชนิดที่หนอนแมลงวันต้องอาศัยอยู่บนโฮสท์ตลอดระยะเวลาตัวอ่อนของมัน เช่น หนอนแมลงวัน Chrysomya bezziana จะต้องเจริญอยู่ในแผลของสัตว์เท่านั้น
รูปที่ 5 Myiasis ที่ผิวหนัง (ลูกศรชี้) เมื่อผ่าออกมาพบตัวอ่อนแมลงวัน Dermatobia hominis ซึ่งจะต้องเจริญอยู่บนโฮสท์ตลอดเวลา
Semi-specific myiasis หรือ
semi-obligatory myiasis หรือ
Facultative myiasis
เป็น myiasis ที่หนอนแมลงวันอาศัยอยู่บนโฮสท์บางช่วงชีวิตของมันเท่านั้น เช่น หนอนแมลงวัน Auchmermyia hiteola (congo floor maggot) ในอาฟริกา ซึ่งจะอาศัยอยู่ตามพื้นดินบริเวณบ้าน จะมาดูดเลือดคนขณะหลับ จากนั้นก็ทิ้งตัวลงบนพื้นดินตามเดิม
รูปที่ 6 ตัวอ่อนแมลงวัน Auchmermyia hiteola (congo floor maggot) กำลังดูดกินเลือด
Accidental myiasis หรือ Pseudomyiasis
เป็น myiasis ที่เกิดจากหนอนแมลงวันซึ่งไม่ได้เป็นปรสิตของโฮสท ์แต่เข้าไปอยู่ในตัวโฮสท์นั้นโดยบังเอิญ เช่น การรับประทานไข่หรือตัวหนอนของแมลงวันบ้าน ซึ่งอาจปะปนอยู่กับอาหารเข้าไป แล้วหนอนแมลงวันบ้านเข้าไปเจริญต่อในทางเดินอาหารของคน หรือบางครั้งเกิดจากตัวอ่อนไชผ่านทางทวารหนัก เข้าไปเจริญใน rectum
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย