วิธีการที่เหมาะสมในการตรวจฟิล์มเลือด
การตรวจฟิล์มเลือดชนิดบาง
ในการตรวจหาเชื้อปรสิตจากฟิล์มเลือดบางแต่ละครั้ง การตรวจขั้นแรกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ คือการดูด้วย low-power objective
สำหรับ microfilaria ถ้าตรวจดูไม่ทั่วฟิล์มเลือดบางอาจไม่พบเชื้อ เนื่องจากมีโอกาสน้อยมากที่จะพบเชื้อนี้ปรากฎ เป็นจำนวนมากในฟิล์มเลือดบาง ส่วนใหญ่จะพบจำนวนน้อย และบริเวณที่พบบ่อยๆ คือขอบฟิล์มเลือดบาง หรือพบที่ปลายฟิล์มเลือด ที่เป็นเช่นนี้เพราะมันจะถูกไถไปสู่บริเวณดังกล่าว ขณะที่ทำการไถเลือด
นอกจากนี้ บริเวณส่วนปลายของฟิล์มเลือด เม็ดเลือดแดงจะเรียงตัวเป็นชั้นเดียว ทำให้เหมาะกับการตรวจหาเชื้อ malaria และ trypanosomes ประกอบกับรูปร่างลักษณะ ตลอดจนขนาดของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อปรสิต (infected RBCs) จะชัดเจนที่สุด และมีข้อควรปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้องคือ หากพบสิ่งที่น่าสงสัยว่าจะเป็นเชื้อปรสิตในการตรวจฟิล์มเลือดหนา การตรวจตัวอย่างเลือดนั้นๆ ในฟิล์มเลือดบาง ควรจะต้องเพิ่มจำนวน field ที่ใช้ในการตรวจหาเชื้อปรสิตมากกว่า 200 ถึง 300 oil immersion fields

การตรวจฟิล์มเลือดชนิดหนา
ในฟิล์มเลือดหนา เม็ดเลือดแดงจะมารวมตัวกันหนาแน่นตรงกลางฟิล์มเลือด การตรวจหาเชื้อปรสิตขั้นแรก เริ่มต้นด้วยการตรวจดูด้วยกำลังขยายต่ำสุด เพื่อตรวจหา microfilaria อย่างรวดเร็ว
การตรวจฟิล์มเลือดหนาโดยทั่วไปใช้เวลา 5 ถึง 10 นาที (ประมาณ 100 oil immersion fields) การตรวจหาเชื้อ malaria และ trypanosome ที่ดีที่สุด คือการดูด้วย oil immersion len (total manification of x1000)

ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย