การเตรียมฟิล์มเลือด (Preparation of Blood Film)
การเตรียมฟิล์มเลือดชนิดบาง
อุปกรณ์
- สไลด์ที่สะอาดปราศจากคราบไขมัน
- สไลด์ที่จะใช้ไถเลือด ต้องเลือกแผ่นที่มีปลายเรียบ
 
วิธีทำ
1. เจาะเลือดจากนิ้วกลาง หรือ นิ้วนาง ตรงตำแหน่งด้านข้าง
ของนิ้ว ดังภาพ
  ภาพที่ 5 แสดงตำแหน่งที่เหมาะสม
ตรงด้านข้างของนิ้ว
2. การเตรียมฟิล์มเลือด หยดเลือดจากปลายนิ้วคนไข้ลงบนสไลด์ ให้มีขนาดประมาณในภาพ โดยแตะเบาๆ ด้วยปลายสไลด์ข้างหนึ่ง
  ภาพที่ 6 แสดงการแตะเลือด
จากปลายนิ้วลงบนสไลด์
3. มือซ้ายจับสไลด์ที่มีหยดเลือด ใช้มือขวาถือสไลด์ที่เตรียมไว้
ไถเลือด โดยวางด้านที่จะใช้ไถลงบนตำแหน่งหน้าหยดเลือดเล็กน้อย
ดังภาพ
  ภาพที่ 7 แสดงตำแหน่งการวางสไลด์
ที่จะใช้ไถเลือด
4. เลื่อนปลายสไลด์ที่ใช้ไถเลือดในมือขวา ให้ย้อนกลับมาแตะหยดเลือด และรอให้เลือดไหลไปตามแนวปลายขอบสไลด์ที่ใช้ไถจนทั่ว ดังภาพที่ 8 และ 9
ภาพที่ 8 แสดงการเลื่อนสไลด์ที่ใช้ไถ
มาแตะกับหยดเลือด
ภาพที่ 9 แสดงการแผ่ของหยดเลือด
ไปตามแนวปลายขอบสไลด์ที่ใช้ไถเลือด
5. ไถสไลด์ไปทางซ้ายมือ ด้วยการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
สม่ำเสมอ
  ภาพที่ 10 แสดงการไถเลือด
ที่แผ่เต็มปลายขอบสไลด์ไปทางซ้ายมือ
6. การทำให้ฟิล์มเลือดแห้งสำคัญมาก โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ควรทำให้แห้งโดยถือสไลด์ห่างจากเปลวไฟของตะเกียงประมาณ 5 ซม. และโบกสไลด์ไปมา (ภาพที่ 11) แต่ต้องระวังไม่ให้สไลด์อยู่ในตำแหน่งเหนือเปลวไฟโดยตรงเด็ดขาด และหากมีความจำเป็นที่จะต้องระวังเรื่องแมลงรบกวน ก็ต้องเตรียมป้องกันด้วย
ภาพที่ 11 แสดงการทำให้ฟิล์มเลือดแห้ง
7. เขียนชื่อ หรือ เลขที่คนไข้ ลงบนสไลด์ บริเวณที่ไม่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย ดังภาพ
  ภาพที่ 12 แสดงฟิล์มเลือดหนา และบาง
ที่พร้อมจะทำการย้อม
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย