พยาธิกำเนิด
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าโรคภูมิแพ้ชนิด Atopic dermatitis เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยมีความผิดปกติของยีนหลายๆ ตำแหน่ง ที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกัน โดยร่างกายมีแนวโน้มในการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันเป็นแบบ Th2 response และผิวหนังผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ชนิด Atopic dermatitis เสียความสามารถในการเป็นตัวขวางกันสารจากภายนอกร่างกาย พบว่าระดับ ceramide ที่ผิวหนังลดลง ขณะเดียวกันการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง (transepidermal water loss) เพิ่มขึ้น เมื่อมีปัจจัยจากภายนอกร่างกายมากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน จึงทำให้การตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันเป็นแบบ Th2 response แต่เมื่อการดำเนินโรคเรื้อรัง มีการแกะเกาผิวหนังเรื้อรัง จะมีการตอบสนองแบบ Th1 response ร่วมด้วย โดยพบว่าผิวหนังปกติและผื่นในระยะเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคนี้ จะมีระดับ IL-4, IL-5, IL-13 ซึ่งเป็น Th2 ไซโตไคน์ (cytokine) มากกว่าปกติ แต่ในผื่นระยะเรื้อรังจะพบทั้ง IL-4, IL-5, IL-13 และ IFN-
g
, IL-12 ซึ่งเป็น Th1 ไซโตไคน์เพิ่มขึ้นด้วย (รูปที่8) พบความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกันดังนี้
1.
ปริมาณ IgE ในซีรั่มเพิ่มขึ้น และพบ IgE ที่ตอบสนองต่อแอนติเจนที่จำเพาะเพิ่มขึ้น
รูปที่ 8
2.
B cell และ monocyte เพิ่มการแสดงออกของ low affinity IgE receptor (CD23)
3.
มีระดับ Eosinophil ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น
4.
Basophil หลั่ง histamine เพิ่มขึ้น
5.
เสียการตอบสนองแบบ delay-type hypersensitivity
6.
เพิ่มการหลั่ง IL-4,IL-5 และ IL-13 โดยเซลล์ชนิด Th2
7.
ระดับของ soluble IL-2 receptor ลดลงในซีรั่ม
8.
ระดับของ monocyte CAMP-phosphodiesterase, IL-10 prostaglandin-E2 เพิ่มขึ้น
สำหรับปัจจัยภายนอกร่างกายที่กระตุ้นให้เกิดโรค
ได้แก่
อาหาร ได้แก่ นม ข้าวสาลี ถั่วลิสงและถั่วเหลือง เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคในผู้ป่วยอายุน้อย โดยมีรายงานที่แสดงว่าการงดอาหารที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรค สามารถทำให้โรคดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคปานกลางหรือรุนแรง มักให้ผลบวกต่อการทดสอบ immediate skin test ต่ออาหาร และพบระดับ IgE ที่จำเพาะต่ออาหารชนิดนั้นๆ เพิ่มขึ้นในซีรั่มอีกด้วย
ไรฝุ่น (house dust mite) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Dermatophagoides pteronyssinus มีการศึกษาโดยนำผู้ป่วยที่เป็นโรค มาทำ bronchial challenge ด้วยไรฝุ่น พบว่าทำให้โรคเป็นมากขึ้น และอาการของโรคจะลดลง หากผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงไรฝุ่นได้
สารระคายเคือง (irritants) เช่น เสื้อผ้าเนื้อสาก สบู่ ผงซักฟอก
สารจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น endotoxin, superantigen สามารถตรวจพบเชื้อ
S.aureus
ได้มากกว่า 90% ของผื่นของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ atopic dermatitis นอกจากนี้ยังพบว่าการรักษาผู้ป่วยด้วยยาปฏิชีวนะร่วมกับคอติโคสเตอรอย์ ได้ผลดีกว่าการใช้คอติโคสเตอรอย์เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัส herpes และเชื้อรา
P. ovale
ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคได้
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า แอนติเจนของผิวหนังผู้ป่วยเอง เช่น รังแค (human skin dander) ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคได้
จากพยาธิกำเนิดของโรค สามารถแบ่งกลุ่มผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ชนิด Atopic dermatitis ได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1.
Extrinsic from
พบได้ 70-80% ของผู้ป่วย ในกลุ่มนี้การเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับระดับ IgE
2.
Intrinsic form
พบได้ 20-30% ของผู้ป่วย ในกลุ่มนี้การเกิดโรคไม่มีความสัมพันธ์กับระดับ IgE แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการสร้าง IL-4 และ IL-13 น้อยกว่ากลุ่ม Extrinsic from
พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีระดับ Eosinophil ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นเหมือนกัน
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย