การกระตุ้นระบบคอมพลีเมนท์ (Complement Activation)
Alternative pathway
1. สิ่งที่กระตุ้น :
ไม่ต้องอาศัยแอนติบอดีในการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา นั่นคือสามารถถูกกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาได้โดยสารหลายอย่าง เช่น
bacterial cell wall (bacterial polysaccharide), lipopolysaccharides, virus, insulin, cobra venum factor, เซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์บางชนิด
2. ขั้นตอนการกระตุ้น :
เส้นทางหลักของการกระตุ้นจะเกี่ยวข้องกับซีรั่มโปรตีน 4 ชนิด คือ C3, factor B, factorD, and properdin
การกระตุ้นเริ่มจาก C3 ซึ่งมี thioester bond ที่ไม่คงตัวจะถูกสลายด้วยน้ำ (spontaneous hydrolysis) ได้เป็น C3a และ C3b, C3b สามารถจับตัวกับผิวของ foreign antigens (เช่น bacterial cells, viral particles)
C3b ที่อยู่บนผิวของ foreign cells จะรวมตัวกับ factor B โดยต้องมี Mg2+ อยู่ด้วย ต่อมาจะถูกแยกตัวออกโดย factor D ได้เป็น Ba และ Bb, factor B จะถูกแบ่งแยกโดย factor D ได้ต่อเมื่อ factor B รวมตัวกับ C3b แล้วเท่านั้น
Ba ไม่มีหน้าที่แน่ชัดและอยู่ในกระแสโลหิต, Bb ซึ่งยังจับตัวอยู่กับ C3b เกิดเป็น
C3bBb
หรือ alternative pathway C3 convertase กลุ่มของ
C3bBb
มีคุณสมบัติไม่คงตัว โดยปกติมีช่วงครึ่งชีวิตประมาณ 5 นาที แต่ถ้ามี properdin(P) มายึดอยู่ด้วยเป็น
C3bBbP
จะยืดเวลาเป็น 30 นาที
ทั้ง
C3bBbP
และ
C3bBb
สามารถแยกสลายโมเลกุลของ C3 ตัวต่อมาให้เป็น C3a และ C3b ได้อีก, C3b อาจเข้าสู่วงจรทางสายอ้อมอีกโดยการรวมตัวกับ factor B แล้วถูกกระตุ้นด้วย factor D ทำให้เกิดการสร้างเอนไซม์ convertase มากขึ้น (feedback amplification loop)
การที่มี C3b มารวมกับ C3bBb ก่อให้เกิด (C3b)nBb ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น alternative pathway C5 convertase
วงจรดังกล่าวสรุปเป็นสมการดังนี้
ก. C3
C3a + C3b
ข. Factor B + Factor D + Mg++
Ba + Bb
ค. C3b + Bb =
C3bBb
= C3 convertase
ง. C3
C3a + C3b
จ. C3b + C3bBb =
(C3b)nBb
= C5 convertase
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย