การเป็นพิษของตะกั่วต่อไต(nephrotoxicity)
          ตะกั่วจะไปสะสมที่ไตทำให้เกิดความผิดปกติของ tubular marker หลายชนิด มากกว่าที่จะเกิดกับ Glomerular marker และแบ่งออกได้ทั้งแบบเฉียบพลัน ซึ่งเปลี่ยนแปลงกลับสู่ปกติได้ (reversible) และแบบเรื้อรัง ซึ่งถ้ามากอาจเปลี่ยนแปลงกลับสู่ปกติไม่ได้
          กรณีของ Acute lead nephropathy เนื่องจากตะกั่วจะไปจับกับส่วนต่างๆ ของเซลล์หลอดฝอยไต ทำให้มีการทำลายของเซลล์ และการทำงานของเซลล์จะเสียไป กระบวนการสร้างพลังงานที่ใช้ในการขนส่งสารลดลง ส่งผลให้โปรตีนขนส่งหลายชนิดทำงานไม่เหมือนเดิม การดูดกลับของแร่ธาตุ กรดอะมิโน กลูโคสและสารที่จำเป็นต่างๆ เสียไป เรียกว่าเกิด Fanconi syndrome เกิดภาวะ Aminoaciduria, glycosuria และ hyperphosphaturia เป็นต้น รวมทั้งสามารถตรวจพบโปรตีนที่มี origin จาก tubular cell ออกมาในปัสสาวะ (tubular-proteinuria) รวมทั้งเอนไซม์จากไลโซโซมของเซลล์หลอดฝอยไต ตัวที่ยอมรับและมีรายงานวิจัยจากหลายประเทศว่าเป็น biomarker ของ lead nephrotoxicity คือ N-acetyl glucosaminidase (NAG) ขับออกมาในปัสสาวะสูงกว่าปกติ เมื่อมีระดับ B-Pb ในช่วง 400-700 mg/L และยังพบว่าเป็น enzymes markerที่มีความสัมพันธ์กับระดับของ B Pb ของคนงานโรงงานผลิตแบตเตอรี (ในประเทศเบลเยียม เยอรมัน) ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง นอกจากนี้ยังมีรายงานพบว่า urinary marker ที่สูงกว่าปกติเป็นสารประเภท eicosanoids โดยเฉพาะ thromboxane (TXB2) , tubular antigen และ beta2 microglobulin และ sialic acid (NANA) พบทั้งในผู้ใหญ่ และในเด็ก ดัง ตารางที่2

ตารางที่ 2 แสดงการเปลี่ยนแปลงของ Urinary Markers ในผู้ใหญ่ที่สัมผัสตะกั่วและกลุ่มควบคุม
          กรณีที่เกิดพิษตะกั่วเรื้อรัง เนื่องจากตะกั่วไปสะสมที่เนื้อไต ทำให้เกิดการอักเสบในบริเวณ tubulointerstitium ของเนื้อไต ผู้ป่วยจะมีการทำงานของไตลดลง เพิ่มการดูดกลับของกรดยูริก ทำให้เกิดภาวะ hyperuricemia ก่อให้เกิด โรคเก๊าท์ได้