เมตาบอลิสมของตะกั่วเมื่อเข้าสู่ร่างกาย
          มีรายงานการศึกษาเมตาบอลิสมของตะกั่ว รูปที่3 เมื่อร่างกายมีโอกาสได้รับ 3 ทาง คือ ทางการหายใจ,
ทางการกิน หรือทางผิวหนัง ถ้าเป็นตะกั่วอนินนทรีย์จะถูกดูดซึมผ่านทางระบบหายใจหรือปอดและทางลำไส้ ส่วนตะกั่วอินทรีย์จะถูกดูดซึมผ่านทางผิวหนังได้ดี เมื่อเข้าสู่ระบบไหลเวียนของโลหิตตะกั่วจะถูกพาไปสะสมในส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกาย 3 ส่วนคือส่วนแรกร้อยละ 1 จับกับเม็ดเลือดแดง ส่วนที่ 2 ร้อยละ 4 ไปอยู่ใน soft tissues และส่วนที่3 ร้อยละ 90-95 จะสะสมอยู่ในกระดูกต่าง ๆ ที่กำลังเจริญเติบโตและฟัน จากนั้นตะกั่วในระบบไหลเวียนของโลหิตจะถูกกำจัดออกจากร่างกายเป็นไปอย่างช้า ๆ ทางเหงื่อ ผม เล็บ ปัสสาวะ และอุจจาระ ถ้าร่างกายได้รับตะกั่วมากเกินกว่าที่จะขับออกได้ทัน จะเกิดการสะสมของตะกั่วในร่างกาย
          ตะกั่วอินทรีย์จะขับถ่ายออกนอกร่างกายช้ากว่าและสามารถผ่านเข้าไปสะสมในเซลล์สมองได้มากกว่าสารประกอบอนินทรีย์ของตะกั่วด้วย ตะกั่วมีค่าครึ่งชีวิต (bioloogical half-life) ในเลือด 35 วัน นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กจะได้รับตะกั่วจากแม่ผ่านรก(placenta)ได้และพบตะกั่วเล็กน้อยในต่อมน้ำนมและนมแม่ โดยทั่วไปคนเราไม่ควรได้รับตะกั่วมากกว่า 5 mg/Kg/Day มีผู้วิเคราะห์ว่าในผู้ใหญ่ปกติที่กินอาหาร 1.5 ก.ก/วัน น้ำ 2.5 ลิตร/วัน ถ้ามีโอกาสได้รับตะกั่วในชีวิตประจำวันประมาณ 225-250 mg/day สามารถที่จะเมตาบอไลซ์และขับถ่ายออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้ามีโอกาส
ได้รับตะกั่วมากกว่านี้ ร่างกายจะขับออกไม่ทันและกระจายไปสะสมที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ คือ ไขกระดูก (เม็ดเลือดแดง) สมอง ตับ ไต และกระดูก และมีค่าครึ่งชีวิตที่ร่างกายจะใช้เวลาขับตะกั่ว (และแคดเมียม) ที่สะสมไว้ในกระดูกออกนอกร่างกายได้ครึ่งหนึ่งกินเวลาประมาณ 20 - 30 ปี (ซึ่งต่างจากอาร์เซนิคโคบอล โครเมียม และปรอท ที่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือเป็นเดือนเท่านั้น )

รูปที่ 3 แสดงเมแทบอลิสมของตะกั่วและโลหะหนักอื่นๆ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย