สารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม
          ตะกั่ว เป็นโลหะหนักมีน้ำหนักอะตอมเท่ากับ 207.2 ในสิ่งแวดล้อมอยู่ใน 3 แหล่งใหญ่ คือ น้ำ ดิน และอากาศ ทั้ง 3 แหล่งนี้มีความสัมพันธ์กันสามารถเปลี่ยนแปลงส่งผ่านสารตะกั่วซึ่งกันและกันได้ ถ้าแหล่งใดแหล่งหนึ่งเกิดมลพิษของตะกั่วหรือโลหะหนักอื่น ๆ (ปรอท แคดเมียม ทองแดง สังกะสี โครเมียม เป็นต้น) ย่อมทำให้เกิดปัญหามลพิษของอีก 2 แหล่งได้ รูปที่ 1 และภาวะมลพิษที่เกิดขึ้นมีโอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อคนไม่มากก็น้อย

รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ของสารตะกั่วในอุตสาหกรรมและในสิ่งแวดล้อม
          มาตรฐานของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และสำนักงานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดไว้ คือ
          ตะกั่วในอากาศ ไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะในช่วงปี พ.ศ. 2531-2532 มีรายงานการวัดสารตะกั่วในอากาศที่กรุงเทพในถนนและริมทางด่วน แห่งละ 7 วัน พบว่าบริเวณที่มีการจราจรคับคั่งพบสารตะกั่วมากที่สุดหรือมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่บริเวณถนนวงเวียนใหญ่ เยาวราช ประตูน้ำ อยู่ในระดับ 5-7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (mg/m3) ส่วนริมทางด่วนเฉลี่ยสูงสุดที่ ด่านเก็บเงินดินแดง 3 mg/m3 ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศที่กำหนดไว้ (< 10 mg/m3) และค่ามาตรฐานในสถานที่ประกอบการในปี 1989 ให้ใช้ไม่เกิน 50 mg/m3
          ตะกั่วในน้ำ กำหนดไว้ไม่เกิน 50 mg/L(0.05 mg/L) ซึ่ง WHO ให้ไม่เกิน 10 mg/L และจากการวัดน้ำประปามีน้อยกว่า 20 mg/L
          ตะกั่วในอาหาร กำหนดไว้ให้น้อยกว่า 300 mg/day และจากการวัดน้อยกว่า 20 mg/day