Parathyroid glands

Parathyroid glands มีหน้าที่ผลิต parathyroid hormone ซึ่งมีหน้าที่หลัก 4 ประการคือ
1. เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหาร
2. กระตุ้น osteoclastic cells ในกระดูก ทำให้มีการนำแคลเซียมและฟอสเฟตออกจากกระดูก
3. หยุดการดูดซึมกลับของฟอสเฟตที่ proximal renal tubules ทำให้เกิด phosphaturia
4. เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมกลับของ renal tubules
การมีก้อนเนื้องอกที่ต่อม Parathyroid จะทำให้การผลิต parathyroid hormone เพิ่มขึ้นจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือ hypercalcemia จาก hypocalciuria และ hypophosphatemia จาก hyperphosphaturia, bone disease, renal stones, peptic ulcer, pancreatitis หรือ pseudogout
เอกซเรย์ธรรมดา (plain radiograph) จะช่วยให้ข้อมูลการวินิจฉัยโรคของกระดูกที่เกิดจาก hyperparthyroidism ได้ ดังแสดงในรูปที่ 8 เช่นการมี subperiosteal resorption ที่ radial aspect ของกระดูกข้อนิ้วของมือ การมี trabecular resorption ที่ diploe ของกระโหลกศีรษะ กระดูกบางทั่วไป หรือมี brown tumor, มี dense vertebral end-plates หรืออาจมี periarticular soft tissue หรือ arterial calcification การส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยด้วยภาพที่บริเวณคอจะทำก็ต่อเมื่อต้องการหาตำแหน่งของเนื้องอกก่อนการผ่าตัด (preoperative localization) ซึ่งอาจตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หรืออัลตร้าซาวด์ หรือ MRI

รูปที่ 8 ภาพเอกซเรย์ธรรมดาแสดงความผิดปกติซึ่งวินิจฉัยได้ว่าเป็น hyperparathyroidism ในผู้ป่วยหญิง อายุ 21 ปี

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
รูป A. ภาพเอกซเรย์มือแสดง subperiosteal resorption ที่ radial aspect ของนิ้วมือ (ลูกศร) และการมีหินปูนเกาะตามหลอดเลือดมากผิดปกติ รูป B. ภาพเอกซเรย์บริเวณกระดูกสันหลังด้านข้าง แสดง dense vertebral end-plates
การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ที่นิยมใช้ มี 2 เทคนิคคือ
1. 201Thallium/99mTc pertechnetate subtraction technique (201TI/99mTc subtraction)
2. Double-phase 99mTc-MIBI technique
1. 201Thallium/99mTc pertechnetate subtraction technique
อาศัยหลักการที่ 201TI จะถูกจับโดยต่อมธัยรอยด์และ parathyroid adenoma ส่วน 99mTc จะถูกจับโดยต่อมธัยรอยด์ แต่ไม่ถูกจับโดย parathyroid adenoma เมื่อนำภาพทั้งสองมาลบกัน (subtraction) จะลบภาพการจับตัวของสารเภสัชรังสีต่อมธัยรอยด์ไปหมด ดังนั้นถ้ามี parathyroid adenoma จะสามารถเห็นการจับตัวของสารเภสัชรังสีเฉพาะในก้อนเนื้องอกได้ยกเว้นเนื้องอกที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 กรัม(8) การตรวจด้วยวิธีนี้อาจมีผลบวกปลอม (false positive) ได้จากสาเหตุต่างๆดังนี้(9)
สาเหตุที่พบได้บ่อย
Thyroid neoplasm
Colloid goiter
Focal Hashimoto, s thyroiditis
สาเหตุที่พบได้ไม่บ่อย
Metastatic carcinoma
Lymphoma
Sarcoidosis
2. Double-phase 99mTc-MIBI technique
99mTc-MIBI (methoxyisobutyl isonitrile) เป็น lipophilic cationic complex จะถูกจับโดย mitochondria ดังนั้นเซลล์ที่มี mitochondria มาก จะมีการจับของสารเภสัชรังสีมากกว่าเซลล์ที่มี mitochondria น้อย
การตรวจโดยวิธี Double-phase จะถ่ายภาพเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 15 นาที (early image) และระยะที่ 2-3 ชั่วโมง (late image) หลังฉีดยา เมื่อ 99mTc-MIBI เข้าสู่กระแสเลือดมันจะถูกจับโดยต่อมธัยรอยด์ และ parathyroid adenoma อย่างรวดเร็ว เห็นได้ในภาพ early image ต่อมาในภาพ late image การจับตัวของสารเภสัชรังสีในต่อมธัยรอยด์จะน้อยลง สามารถเห็นก้อนเนื้องอกได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากปริมาณสารเภสัชรังสีในต่อมธัยรอยด์ลดลงเร็วกว่าในก้อนเนื้องอกของ parathyroid gland ดังนั้นการแปลผล ถ้ายังคงเห็นบริเวณที่มีสารเภสัชรังสีจับตัวสูงใน late image แสดงว่าน่าจะเป็น parathyroid adenoma ดังรูปที่9 การตรวจด้วยวิธีนี้มีรายงานพบความไวเท่ากับ 90%(10)

รูปที่ 9 ภาพ Parathyroid scintigraphy (Double-phase 99mTc-MIBI) ในผู้ป่วย parathyroid adenoma

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
รูป A. early หรือ immediate image แสดงต่อมธัยรอยด์ข้างขวาใหญ่ขึ้น รูป B. late image แสดงบริเวณที่ยังคงมีการจับตัวของสารเภสัชรังสีอยู่บริเวณใต้ต่อมธัยรอยด์ข้างขวา (ลูกศรเล็ก) ผลการผ่าตัดพบเป็น parathyroid adenoma;
ในคนปกติอาจเห็นสารเภสัชรังสีในกล้ามเนื้อได้ (ลูกศรใหญ่)
การตรวจอัลตร้าซาวด์และการตรวจด้วย MRI ส่วนใหญ่จะใช้ในการติดตามผลการรักษา MRI จะมีประโยชน์ในการตรวจหา adenoma ใน mediastinum ซึ่ง 85% ของผู้ป่วยจะมี signal intensity เป็นสีขาวในภาพ T2