การควบคุมการแบ่งตัวโดย MPF วัฎจักรของเซลล์ตัวอ่อน และการควบคุม
สำหรับการควบคุมการแบ่งตัวโดย MPF มีการทดลองที่สำคัญอยู่ 2 การทดลอง คือ
การทดลองที่ 1
กระทำโดยการนำเอาไซโตพลาสซึมของ Unfertilized egg ที่อยู่ในระยะ M มาฉีดเข้าไปในเซลล์ Oocyte ที่อยู่ในระยะ G2 พบว่า Oocyte จะเข้าสู่ระยะ M สารที่อยู่ในไซโตพลาสซึมของ Unfertilized egg ดังกล่าวมีคุณสมบัติทำให้ Oocyte เจริญสมบูรณ์ เรียกว่า Maturation-promoting factor (MPF) (รูปที่ 14)

รูปที่ 14 การควบคุมการแบ่งตัวโดย MPF

รูปที่ 14 A โดยการนำเอาไซโตพลาสซึมของ Unfertilized egg ที่อยู่ในระยะ M มาฉีดเข้าไปในเซลล์ Oocyteที่อยู่ในระยะ G2 พบว่า Oocyte จะเข้าสู่ระยะ M สารที่อยู่ในไซโตพลาสซึมของ Unfertilized egg ดังกล่าว มีคุณสมบัติทำให้ Oocyte เจริญสมบูรณ์ เรียกว่า Maturation-promoting factor (MPF)
(click ที่ภาพเพื่อดูภาพเคลื่อนไหว)

รูปที่ 14 B เมื่อเอาไซโตพลาสซึมจากเซลล์ที่อยู่ในระยะ Interphase มาฉีดเข้าไปในเซลล์ Oocyte ที่อยู่ในระยะ G2 พบว่า Oocyte ยังคงอยู่ในระยะเดิม
(click ที่ภาพเพื่อดูภาพเคลื่อนไหว)

การทดลองที่ 2
การ Fusion เซลล์ที่เลี้ยงไว้ (Culture cell) โดยการ fusion ระหว่างเซลล์ Mitotic cell และ Interphase cell พบว่า Interphase cell จะเข้าสู่ Mitosis โดยไม่คำนึงว่ามีการเพิ่มจำนวน DNA ขึ้นแล้วหรือยัง

เมื่อนำ Mitotic cell มา fusion กับเซลล์ระยะ G1 โครโมโซมของเซลล์ในระยะ G1 จะเกิดการ Condensation ก่อนกำหนดเวลาที่ควรจะเป็น โดยที่โครโมโซมจะยังเป็น Single chromatids อยู่ แต่จะถูกกระตุ้นให้รูปร่างเปลี่ยนเป็นยาวขึ้น

เมื่อนำ Mitotic cell มา fusion กับเซลล์ระยะ S โครโมโซมในของเซลล์ในระยะ S จะเกิดการ Condensation ก่อนกำหนดเวลา โดยที่โครโมโซมจะยังไม่มีเสถียรภาพ และเกิดการแตกกระจาย (Pulverization) อยู่ในไซโตพลาสซึม

เมื่อนำ Mitotic cell มา fusion กับเซลล์ระยะ G2 โครโมโซมของเซลล์ในระยะ G2 จะเกิดการ Condensation โดยที่โครโมโซมซึ่งแม้ว่าจะมี Double chromatids แล้วก็ตาม แต่จะมีลักษณะยาวกว่าปกติ เนื่องจากเกิดขึ้นก่อนกำหนดเวลาที่ควร

สารที่อยู่ในไซโตพลาสซึมของ Mitotic cell ดังกล่าวมีคุณสมบัติทำให้ Interphase cell เกิดการแบ่งตัว จึงเรียกว่า M-phase-promoting factor

สรุป การศึกษาต่อมาพบว่า Maturation-promoting factor ที่พบในการทดลองที่ 1 นั้น เป็นสารชนิดเดียวกันกับ M-phase-promoting factor ที่พบในการทดลองที่ 2 ในปัจจุบัน MPF จึงหมายถึง Maturation-promoting factor หรือ M-phase-promoting factor หรือ Mitosis-inducing protein kinase

เนื่องจากคำเรียก MPF นี้ เป็นคำเรียกรวมๆ ของสารที่ประกอบขึ้นด้วย CDK1 (CDC2) จับกับ Mitotic cyclin ได้แก่ Cyclin A, หรือ B1, หรือ B2 ซึ่งอยู่ในไซโตพลาสซึมของเซลล์ระยะ Mitosis (รูปที่ 15) MPF เป็นสารที่พบว่าทำหน้าที่สำคัญในระยะ M เช่น ทำให้เกิด Chromosome condensation, ทำให้เกิดการสร้าง mitotic spindle และการสลายของผนังนิวเคลียส เป็นต้น โดยผ่านการทำงานของ Kinase ซึ่งทำให้เกิด Phosphorylation กับโครงสร้างสำคัญๆ ของเซลล์ และสรุปหน้าที่ที่สำคัญได้ 2 ประการ ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น คือ

          1. กระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ (M-phase-promoting factor)
          2. กระตุ้นให้เซลล์เกิดการเจริญเติบโต (Maturation-promoting factor)

รูปที่ 15
วัฏจักรของเซลล์ดำเนินไปด้วยสารที่ประกอบขึ้นด้วย CDK ชนิดต่างๆ จับกับ Cyclin ชนิดต่างๆ สารประกอบที่เกิดขึ้นในระยะต่างของวัฏจักรของเซลล์ จะทำหน้าที่ต่างๆ กันไป
MPF ยังสามารถทำให้เกิด Phosphorylation กับ Histone ซึ่งทำหน้าที่รวบ DNA เข้า Nucleosomes แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดนัก แต่ก็เชื่อว่า MPF สามารถทำให้เกิดกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินไปของวัฏจักรของเซลล์ โดยการผลักดันให้เกิด Phosphorylation ไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม แก่โปรตีนที่มีบทบาทสำคัญๆ ในการทำงานในวัฏจักรของเซลล์ การเข้าสู่ Mitosis เกิดจากการทำงานของ MPF ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่าง Cyclin และ CDK ดังกล่าวแล้วนั้น ในทางกลับกันการทำลาย Cyclin ช่วยให้เซลล์สามารถออกจากระยะ Mitosis ได้ โดยการทำลายด้วยเอนไซม์ Ubiquitin ซึ่งเป็น Proteolysis ในระยะระหว่าง Metaphase และ Anaphase