การหาระยะต่างๆ
ในวัฏจักรของเซลล์ |
วัฎจักรของเซลล์และระยะต่างๆ |
|
การหาว่าเซลล์อยู่ในระยะอะไร
ทำได้หลายวิธี เช่น เซลล์ที่อยู่ในระยะ S สามารถที่จะทดสอบได้โดยการนำสารกัมมันตรังสี
เช่น 3H มาติดฉลากบน Thymidine ซึ่งเป็นสารจำเป็นที่เซลล์ใช้สำหรับการสร้าง
DNA เป็น 3H-thymidine หรือใช้สารเคมี เช่น Bromodeoxyuridine (BrdU)
ซึ่งเป็น Thymidine analog โดยนิวเคลียสของเซลล์ที่อยู่ในระยะ S ซึ่งกำลังสร้าง
DNA และใช้ Thymidine หรือ Thymidine analog สามารถที่จะถูกตรวจพบจากการเกิด
Autoradiography หรือใช้วิธีการย้อมสีโดยใช้ Anti-BrdU antibody โดยทั่วไปแล้วเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตอยู่มักจะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอยู่อย่างต่อเนื่อง
แต่มักจะเป็นไปในลักษณะที่ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน (Asynchrony) และมักจะพบว่ามีเซลล์อยู่ในระยะ
S ประมาณร้อยละ 30 และจากสัดส่วนของเซลล์ที่ตรวจได้นี้ ยังสามารถนำมาใช้หาระยะเวลาของระยะS
ต่อวัฏจักรของเซลล์ โดยวิธีเดียวกันเราสามารถที่จะหาว่ามีเซลล์อยู่ในระยะ M
ประมาณร้อยละเท่าไร และหาระยะเวลาของระยะ M ต่อวัฏจักรของเซลล์ได้เช่นกัน และทำให้เราสามารถทราบระยะต่างๆ
ในวัฏจักรของเซลล์ได้ |
How
can one tell where a cell is in the cycle? |
Cells
in S phase can be recognized by...
supplying them with labeled molecules of thymidine |
3H-thymidine
bromodeoxyuridine (BrdU)
|
autoradiography
staining with anti-BrdU |
Typically,
in a population of growing cells, 30% of cells is in S phase. |
|
|
นอกจากนี้ยังมีการนำวิธี
Flowcytometry มาใช้ศึกษาเซลล์ (7-8) โดยการหา DNA content ในแต่ละเซลล์
เซลล์ที่ศึกษาจะถูกย้อมด้วยสีฟลูออเรสเซนต์ ลักษณะปริมาณการติดสีฟลูออเรสเซนต์ของ
DNA ในแต่ละเซลล์จะเป็นสัดส่วนโดยตรงต่อจำนวน DNA content ในแต่ละเซลล์นั่นเอง
เซลล์จะมีลักษณะปริมาณการติดสีฟลูออเรสเซนต์ของ DNA เป็น 3 ลักษณะ คือ เซลล์ในระยะ
G1 ไม่มีการเพิ่มจำนวน DNA มีลักษณะการติดสีฟลูออเรสเซนต์เป็น 1 arbitrary
unit เซลล์ในระยะ S เริ่มมีการเพิ่มจำนวน DNA เกิดขึ้น มีลักษณะการติดสีฟลูออเรสเซนต์เป็น
intermediate คืออยู่ระหว่าง 1 arbitrary unit และ 2 arbitrary unit และเซลล์ในระยะ
G2 และ M มีการเพิ่มจำนวน DNA เป็น 2 เท่า มีลักษณะการติดสีฟลูออเรสเซนต์เป็น
2 arbitrary unit (รูปที่ 3)
|
How
can one tell where a cell is in the cycle? |
Alternatively,
by the use of a fluorescence-activated cell sorter.
|
|
รูปที่
3. การศึกษา DNA content โดยวิธี Flowcytometry |
Measuring
the DNA content
 |
รูปที่
3 A
แสดง DNA content ของเซลล์ในระยะต่างๆ ในวัฏจักรของเซลล์
(click
ที่ภาพเพื่อดูภาพเคลื่อนไหว)
|
 |
รูปที่
3 B
แสดง DNA content ของเซลล์ในระยะต่างๆ เป็นรูปกราฟ เซลล์ในระยะ
G0 และ G1 ไม่มีการเพิ่มจำนวน DNA มี DNA content คิดเป็น 2C ขณะที่เซลล์ในระยะ
G2 และ M มีการเพิ่มจำนวน DNA เป็น 2 เท่า มี DNA content คิดเป็น
4C
(click
ที่ภาพเพื่อดูภาพเคลื่อนไหว)
|
 |
รูปที่
3 C
เมื่อแปลงเป็นภาพที่นำเสนอโดย Flowcytometry
(click
ที่ภาพเพื่อดูภาพเคลื่อนไหว)
|
 |
รูปที่
3 D
ภาพที่นำเสนอโดย Flowcytometry เซลล์ในระยะ G0 และ G1 มี ลักษณะการติดสีฟลูออเรสเซนต์เป็น
1 arbitrary unit (2C) เซลล์ในระยะ S มีลักษณะการติดสีฟลูออเรสเซนต์เป็น
intermediate คืออยู่ระหว่าง 1 arbitrary unit และ 2 arbitrary unit
และเซลล์ ในระยะ G2 และ M มีลักษณะการติดสีฟลูออเรสเซนต์เป็น 2 arbitrary
unit (4C)
(click
ที่ภาพเพื่อดูภาพเคลื่อนไหว)
|
|