|
close |
5. |
Lotspeoch
CA. Specimen collection and processing. In: Bishop ML, DubentVon
Laufen JL, Fody EP, eds. Clinical Chemistry: Principles, Procedures,
Correlations.1st
ed. Philadelphia: Lippincott, 1985: 3956 |
6. |
Koebke
J, McFarland E, Mein M, Slockbower JM. Venipuncture procedure.
In: tockbower M, Blumenfeld TA, eds. Collection and Handling
of Laboratory Specimens: a Practical Guide. Philadelphia:
Lippincott, 1983 : 3 - 45 |
7. |
Oxford
BS, Dovenbarger S. Specimen collection and processing. In:
Bishop ML,Duben JL,Fody EP,eds. Clinical Chemistry: principles,
procedures, correlations. 3 rd ed. Philadelphia: Lippincott,1985:
39-60 |
8. |
Gomella
LG. Bedside procedures. In: Gomella LG, eds. Clinicians Pocket
Reference. 8th ed. Connecticut : Appleton & Lange, 1997:
219-293 |
9. |
กำพล
ภานนท์ วิธีเก็บตัวอย่างเลือด ใน: โสภาค โรจนเสถียร บรรณาธิการ
ปฏิบัติการเลือดวิทยา พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ: เรืองแก้วการพิมพ์
2540: 515 |
|
close |
|
หัตถการการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำด้วยระบบสูญญากาศ[5-9] |
|
|
|
7. |
เลือกบริเวณที่จะทำหัตถการ
ซึ่งสามารถเลือกได้หลายบริเวณ แต่โดยทั่วไปนิยมเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ
median cubital ที่บริเวณข้อพับของข้อศอก (antecubital fossa)
โดยใช้สายรัดรัดเหนือบริเวณนั้นประมาณ 7.5-10 เซนติเมตร หรือ 4-6
นิ้ว แจ้งให้ผู้ป่วยกำมือไว้ |
|
|
|
|
|
8. |
ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้น
ห้ามใช้มือสัมผัสบริเวณนั้น หลังจากทำความสะอาดแล้ว |
|
|
|
9. |
ใช้มือข้างหนึ่งตรึงผิวหนังไว้
มืออีกข้างจับด้ามจับที่ติดเข็ม แล้วทำการแทงเข็มลงไป โดยหันปลายบากของเข็มขึ้น
ให้เข็มทำมุมกับผิวหนังประมาณ 1530 องศา แทงเข็มให้ผ่านผิวหนังลงไปที่เส้นเลือด |
|
|
|
10. |
ใช้มือข้างหนึ่งหยิบหลอดสูญญากาศที่เตรียมเอาไว้
แล้วดันเข้าทางปลายเปิดของด้ามจับ จัดตำแหน่งให้อยู่ตรงกลาง ดันจนปลายเข็มด้านที่ใช้แทง
เจาะเข้าสู่หลอดสูญญากาศ เพื่อมิให้เกิดการเอียงข้าง และเสียสภาพสูญญากาศ |
|
|
|
11. |
เลือดจะเริ่มไหลเข้าสู่หลอดบรรจุเลือด
ตรึงด้ามจับไว้ให้แน่นอย่าให้เลื่อน ให้สังเกตว่าแขนอยู่ในลักษณะเอียงลาดลง
ส่วนหลอดบรรจุเลือดอยู่ในลักษณะเอียงลาดตาม โดยมีส่วนของฝาจุกชี้ขึ้น
ระวังอย่าให้เลือดที่เข้าไปในหลอดแล้วสัมผัสกับฝาจุกหลอด หรือปลายเข็ม |
|
|
|
12. |
เมื่อเลือดหยุดไหลจนได้ระดับ
และหยุดไหลเข้าสู่หลอดแล้ว ให้ดึงหลอดออกได้ โดยตรึงด้ามจับไว้ให้แน่น
ในกรณีที่ใช้เข็มแบบสามารถเก็บสิ่งส่งตรวจได้หลายหลอดด้วยการเจาะครั้งเดียว
ก็สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจหลอดต่อไปได้ ด้วยวิธีการแบบเดิม โดยไม่ต้องนำเข็มออก
โดยให้ยึดลำดับการใช้หลอดเก็บตัวอย่างเลือดสูญญากาศ ตามวิธีที่แนะนำ
(ตารางที่ 4) |
|
ตารางที่
4 แสดงลำดับหลอดสูญญากาศในการเจาะเลือด
ลำดับ |
หลอดสุญญากาศ |
1 |
หลอดเก็บสิ่งส่งตรวจที่ปราศจากเชื้อ |
2 |
หลอดที่ไม่ใส่สารกันเลือดแข็ง
(จุกสีแดง) |
3 |
หลอดที่ใส่สารกันเลือดแข็ง
Citrate (จุกสีฟ้า) |
4 |
หลอดที่ใส่สารกันเลือดแข็ง
Heparin (จุกสีเขียว) |
5 |
หลอดที่ใส่สารกันเลือดแข็ง
EDTA (จุกสีม่วง) |
6 |
หลอดที่ใส่สารกันเลือดแข็ง
Fluoride (จุกสีเทา) |
|
|
|
13. |
แต่ละหลอดที่เก็บสิ่งส่งตรวจได้แล้ว
ถ้าเป็นหลอดที่ใส่สารกันเลือดแข็ง ต้องทำการผสมโดยการพลิกหลอดขึ้นลง
(inversion mixing) เพื่อให้เลือดผสมได้ทั่วถึงกัน ทำประมาณ 510
ครั้ง แต่ห้ามเขย่าแรงๆ เพราะจะเกิดฟอง และมีการแตกของเม็ดเลือดแดงเกิดขึ้น
ถ้าขาดขั้นตอนนี้ไป ผลที่ได้จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจผิดพลาดไปได้
ในบางแห่งอาจใช้เครื่องช่วยผสมเลือด (mixer) ช่วยในการผสมก็ได้ |
|
|
|