การเจาะหลอดโลหิตแดง (Arterial Puncture)
          นิยมเจาะหลอดโลหิต Radial ที่ข้อมือ, brachial ที่ข้อพับแขน, femorol ที่ขาหนีบ ในทารกแรกเกิด สามารถใช้โลหิตที่เก็บได้จากหลอดเลือดสะดือ เพื่อตรวจวิเคราะห์ก๊าซในโลหิต (umbilical artery) ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถเจาะเก็บโลหิตจากโลหิตแดงได้ สามารถใช้ capillary blood แทนได้ในการตรวจ pH และ PCO2 โดยเจาะที่ติ่งหู และ ในทารก หรือ เด็กเล็กให้เจาะที่ส้นเท้า แต่ใช้ตรวจPO2 ไม่ได้เสมอไป ให้ระวังว่าค่าที่ใช้กับผู้ป่วย ในกรณีการไหลเวียนของโลหิตลดลงจากภาวะต่างๆ cardiac output ลดลงมาก, ความดันโลหิตต่ำ, หรือหลอดโลหิตหดตัว (vasoconstriction) ไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะผิดพลาดได้มาก

          ปัจจุบันมีการประดิษฐ์หลอดทั้งชนิดแก้วและชนิดพลาสติก ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการเจาะ Blood gas ทั้งนี้ข้อควรระวังของการเจาะ blood gas คือ
               - การเจาะพลาดเข้าอวัยวะข้างเคียง
               - การเจาะผิดเข้าเส้นเลือดดำทำให้ได้ค่าการตรวจวิเคราะห์ที่ผิด

          นอกจากนี้ ข้อควรระวังอีกประการหนึ่งสำหรับแพทย์ผู้ทำหัตถการคือ การถูกเข็มที่ใช้เจาะ blood gas ทิ่มตำ