Systemic lupus erythematosus (SLE)

ตัวอย่างที่ดีที่สุดในกลุ่ม Systemic autoimmune disease คือโรค SLE พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ อัตราส่วนการเกิดโรคในเพศหญิง : เพศชาย = 10:1 ผู้ป่วยจะมี Autoantibodies ต่อ Tissue antigens หลายชนิด ได้แก่ DNA, histones, RBC, Leukocytes, platelets, clotting factors ซึ่งจะทำให้เกิดอาการหลายรูปแบบ ขึ้นกับชนิดของเนื้อเยื่อที่มี Autoantibody ไปจับอยู่ เช่น การจับของ Autoantibodies ต่อ RBC, Leukocytes, platelets สามารถกระตุ้นระบบคอมพลีเมนท์ และก่อให้เกิดการทำลายของเซลล์เหล่านี้ ทำให้เกิดอาการ ซีด ติดเชื้อง่าย หรือ เลือดออกง่าย ตามลำดับ นอกจากนี้ Autoantibodies ต่อ DNA และ Histone เรียกรวมๆ ว่าเป็น Nuclear antigens ยังสามารถประกอบเป็น Immune complex ไปสะสมบริเวณผนังเส้นเลือด กรวยไต (รูปที่ 20) หรือ ผิวหนัง (รูปที่ 21) และก่อให้เกิด vasculitis, glomerulonephritis, หรือ rash ได้

 
รูปที่ 20

ภาพการย้อม Immunofluorescence ของ renal biopsy ด้วย antibody ต่อ C1q component ของ complement แสดงให้เห็น extensive granular light green immunofluoresence ในบริเวณ glomerular capillary loops
 
รูปที่ 21

การย้อม Immunofluorescence ของผิวหนังด้วย antibody ต่อ IgG แสดงให้เห็นการสะสมของ immune complex แบบ band-like ที่บริเวณ dermal epidermal junction ของ skin biopsy ที่ได้มาจากบริเวณผื่นของผู้ป่วย SLE
 
รูปที่ 22

ลักษณะผื่นแบบ butterfly rash บริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง ซึ่งเป็น photosensitive rash เป็นลักษณะจำเพาะแบบหนึ่งของโรคนี้ (รูปที่ 22)

 

 

ภาพแสดงลักษณะผื่นแบบ scaly, malar erythema
ที่มักพบบริเวณ sun-exposed sites
ในผู้ป่วย Systemic lupus erythematosus

 
การตรวจหา Antinuclear antibodies (ANA) ต่างๆ (รูปที่ 23-25) จากซีรัมของผู้ป่วย ด้วยวิธี Indirect Immunofluorescence ใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัย นอกจากนี้ การตรวจระดับคอมพลีเมนท์อาจใช้บอกถึงความรุนแรงของโรคในขณะนั้นได้ด้วย
 
รูปที่ 23
รูปแบบ ANA แบบ homogenous pattern
โดยการย้อม Hep2 cell

รูปที่ 24
รูปแบบ ANA แบบ peripheral pattern
โดยการย้อม Hep2 cell

 
รูปที่ 25
การตรวจหา anti-ds DNA antibody ซึ่งมีความจำเพาะในโรค SLE โดยการย้อมส่วน kinetoplast ของ Crithidia