Regulation of osmolarity

          ค่า plasma osmolarity ขึ้นกับความเข้มข้นของโซเดียมในพลาสม่าเป็นสำคัญ เนื่องจากโซเดียมและประจุบวกอื่นๆ จะมีผลต่อ osmotic activity ในพลาสม่าถึง 90% แต่กลไกในการรักษาระดับ plasma osmolarity สัมพันธ์กับการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย  (water balance)  อาศัยกลไกดังต่อไปนี้
          I   Sensor  คือ  osmoreceptor

          II  Effector  ได้แก่  :  การกระหายน้ำ  (thirst)

                                         :  Antidiuretic homone (ADH)

       1. Osmoreceptor  อยู่ที่  hypothalamus  เมื่อถูกกระตุ้นจะทำให้มีการหลั่ง ADH มากขึ้น ตัวกระตุ้นที่สำคัญคือ  osmolarity  ในพลาสม่า โดยปกติจะมีค่า  threshold เฉลี่ยอยู่ที่ 280  mosmol/kg  โดยมีค่าคงที่ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ  plasma osmolarity  เพียงเล็กน้อย ก็จะมีผลต่อการหลั่ง  ADH
          2. thirst  (การกระหายน้ำ)  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของ  osmolarity ในพลาสม่า มากกว่า 2-3% ก็จะมีการกระตุ้นให้เกิดการกระหายน้ำ  เพื่อให้ร่างกายดื่มน้ำทดแทน เพื่อลด  osmolarity  ลงเป็นปกติ ตัวกระตุ้นอื่นของการกระหายน้ำ นอกจาก  osmolarity ในพลาสม่าแล้ว อาจถูกกระตุ้นได้จาก ความดันโลหิตต่ำ ร่างกายขาดน้ำ และ ADH   osmolarity threshold  ของการกระตุ้นการกระหายน้ำ อยู่ที่ประมาณ 295 mosmol/kg
นอกจากนั้น การกระหายน้ำยังถูกควบคุมโดยสมองส่วน cortex ซึ่งเกี่ยวกับการดื่มน้ำที่ไม่จำเป็น เช่น ดื่มน้ำในงานเลี้ยง
          3.  Antidiuretic hormone  (ADH)  อาจเรียกว่า  Arginine vasopressin หลั่งจาก posterior pituitary gland  ไปออกฤทธิ์ที่  collecting duct ของทำหน้าที่ดูดน้ำ กลับเพิ่มขึ้น

ADH  ควบคุมการหลั่งโดย
            1. Osmotic stimuli  มีบทบาทสำคัญ ในภาวะปกติ โดยอาศัย  plasma osmolarity  เป็นตัวกระตุ้น
            2. Non-osmotic stimuli
                : ปริมาณเลือดและความดันที่ลดต่ำลง พบว่า  plasma  ลดลง 10% จะกระตุ้นการหลั่ง  ADH
                : อาเจียน
                : ความเครียด
                : ยา
          จะเห็นได้ว่าการควบคุม osmolarity อาศัยการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของโซเดียมในพลาสม่า กล่าวคือ เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของ plasma osmolarity จะมีการกระตุ้นให้มีการดื่มน้ำมากขึ้น ผ่านทางการกระหายน้ำ และมีการหลั่ง  ADH  เพิ่มขึ้น ทำให้ลดการขับน้ำทางปัสสาวะ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ไตต้องดูดน้ำกลับเพิ่มขึ้น เพื่อจะลดระดับ  plasma osmolarity  ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีการลดลงของ
plasma osmolarity  การกระหายน้ำจะไม่ถูกกระตุ้น  และไตจะขับน้ำออกทางปัสสาวะมากขึ้น เพื่อเพิ่ม  plasma osmolarity  ให้กลับมาเป็นปกติ  การขับน้ำออกโดยไต จะมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกรณีที่น้ำเกิน ในขณะที่การกระหายน้ำ จะมีความสำคัญในการป้องกันและแก้ไข เมื่อเกิดภาวะขาดน้ำ (dehydration) โดยทั่วไปแล้ว การมีน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย จนเกิดภาวะ hypoosmolarity  และ hyponatremia จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อไตมีความผิดปกติในการขับน้ำ