การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางเพศ
การซักประวัติ หลักการซักประวัติ การซักเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นหัวใจ ของการวิเคราะห์ sexually oriented attitudes and feelings, expectation and experiences, environmental changes and practices และควรประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้ 1. Nature and development of sexual problem คือ ลักษณะของปัญหา ทางเพศ และการดำเนินของปัญหา จะมุ่งถึงความรุนแรงและผลกระทบต่อจิตใจ และสาเหตุ เช่น การที่อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้เองในระหว่างนอนหลับ หรือช่วงตื่นนอน ตอนเช้า สามารถแยกโรคทางกายออกได้ในผู้ที่มีปัญหาเรื่อง erectile dysfunction เป็นต้น 2. Family background and early childhood ได้แก่ ความเป็นอยู่และ ความสัมพันธ์ในครอบครัวตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน และประวัติความเจ็บป่วยของบุคคล ในครอบครัวรวมทั้งบุคลิกภาพของบิดามารดา 3. Early sexual development and experience ตั้งแต่การเจริญของลักษณะ ทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) ตลอดจนประสบการณ์ทางเพศ รูปแบบต่างๆ เช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง และทัศนคติต่อเรื่องนั้นๆ 4. Sexual information คือ แหล่งของข้อมูลทางเพศที่ได้รับ 5. Current relationship คือความสัมพันธ์กับคู่ครอง ทั้งความสัมพันธ์ทั่วไปและ ความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้ที่ไม่สมปรารถนาทางเพศ ในชีวิตสมรส 6. Schooling and occupation คือ ประวัติการศึกษาทั้งสถานศึกษาและ ผลการศึกษา และการประกอบอาชีพการงาน ซึ่งรวมทั้งสถานที่ทำงาน ลักษณะงานและ ทัศนคติต่องาน 7. Interests มีความสนใจในกิจกรรมอื่นๆ หรือมีงานอดิเรก ซึ่งเป็นความสนใจ ร่วมกันกับคู่ครอง 8. Religious belief ศาสนาที่นับถือและความศรัทธา 9. Medical history การเจ็บป่วยในปัจจุบันหรือในอดีต และการรักษา 10. Psychiatric history ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ และ/หรือจิตใจ และการรักษา 11. Use of alcohol and drugs (including smoking) การดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด หรือสูบบุหรี่ 12. Appearance and mood ควรประเมินบุคลิกและอารมณ์ 13. Goals and motivation ควรประเมินถึงความคาดหวังของผู้ป่วย และ สิ่งที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ความบกพร่องทางเพศ
(Sexual dysfunction)
กามตายด้านในผู้ชาย
|