การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และพยาธิสรีรวิทยาในวัยหมดระดู... |
การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์
และทางเดินปัสสาวะ เนื้อเยื่อของอวัยวะสืบพันธุ์ และระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะ (urethra) และ ส่วน trigone ของกระเพาะปัสสาวะเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียงกัน และเจริญเติบโตมาด้วยกัน ตั้งแต่ระยะเอ็มบริโอ (embryo) นอกจากนี้ยังพบ ตัวรับเอสโตรเจน (estrogen receptor) ใน เนื้อเยื่อของอวัยวะทั้งสองระบบ ดังนั้นการลดลงของระดับเอสโตรเจนในวัยหมดระดู จึงอาจมี ผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและอาการต่างๆ ดังนี้ (3,15) 1. ผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ ระดับเอสโตรเจนที่ลดต่ำลงในวัยหมดระดู จะมีผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ ตอบสนองต่อเอสโตรเจนดังนี้คือ 1.1 ปากช่องคลอด (vulva) ปากช่องคลอดจะมีการสูญเสียส่วนของคอลลาเจน (collagen) เนื้อเยื่อไขมันและ ความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ต่อมของเซลล์บุผิว (epithelial gland) จะมีการ ฝ่อลีบและบางลง สารคัดหลั่งจากต่อม sebaceous ลดลง จึงอาจทำให้มีอาการเจ็บ แสบร้อน คัน หรือรู้สึกแห้งบริเวณปากช่องคลอดได้ ในส่วนของหนังหุ้มปลาย (prepuce) ของคลิตอริส (clitoris) จะฝ่อลีบมากกว่าส่วนหัว (glans) ทำให้คลิตอริสได้รับการเสียดสีและระคายเคืองได้ ง่ายขึ้น 1.2 ช่องคลอด (vagina) ผนังช่องคลอดเป็นเยื่อเมือก (mucosa) ซึ่งมีต่อมที่จะสร้างสารคัดหลั่ง การทำงาน ของต่อมเหล่านี้จะขึ้นกับฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่อมีระดับของเอสโตรเจนต่ำ ต่อมเหล่านี้จะไม่ สามารถสร้างสารคัดหลั่งได้เพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการช่องคลอดแห้ง (vaginal dryness) การหลั่งสารหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ช้าลง และตามมาด้วยอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ (dyspareunia) การขาดเอสโตรเจนทำให้ผนังช่องคลอดบางลง ซีด ยืดหยุ่นน้อยลง รอยย่นของ ผิวด้านในช่องคลอด (rugae) หายไป ช่องคลอดจะสั้นและแคบลง ผิวด้านในของช่องคลอด เปื่อยยุ่ยง่าย อาจมีจุดเลือดออก (petechiae) หรือมีแผลเกิดขึ้นและมีเลือดออกได้ง่าย เกิดการ ยึดติด (adhesion) ของช่องคลอดได้ง่ายโดยเฉพาะรายที่ไม่ค่อยมีเพศสัมพันธ์ สารคัดหลั่งที่สร้างจากต่อมบริเวณเยื่อเมือกของผนังช่องคลอด ประกอบด้วย polysaccharide ซึ่งจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียที่ชื่อว่า lactobacilli ไปเป็นกรดแลคติค (lactic acid) ทำให้ช่องคลอดมีสภาพเป็นกรด (pH 3.5-4.5) ซึ่งจะยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ แบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดโรคได้ ในสภาวะที่ขาดเอสโตรเจนต่อมบริเวณเยื่อเมือกไม่สามารถสร้าง polysaccharide ได้ จึงทำให้ช่องคลอดมีสภาพเป็นด่าง (pH 6-8) ซึ่ง lactobacilli ไม่สามารถ เจริญเติบโตได้ดี จึงทำให้เชื้อแบคทีเรีย ชนิดอื่นๆ ได้แก่ streptococci, enterococci และ esterichia coli เจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่ ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย จึงอาจทำให้มีอาการ เจ็บแสบและคันได้ 1.3 มดลูก (uterus) จากการบางลงของเนื้อเยื่อของอวัยวะสืบพันธุ์ อันเป็นผลมาจากการขาดเอสโตรเจน จึงพบว่าปากมดลูกเป็นแผลได้ง่ายและอาจมีลักษณะของ erosion ต่อมภายในคอมดลูก (endocervix) จะสร้างสารคัดหลั่งลดลง จึงมีส่วนทำให้ช่องคลอดแห้งมากขึ้นสำหรับการหย่อน ตัวของมดลูก (uterine prolapse) กระเพาะปัสสาวะ (cystocele) และผนังของไส้ตรง (rectocele) พบว่าน่าจะเป็นผลมาจากอายุที่มากขึ้นทำให้ความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อลดลง รวมถึง ปัจจัยที่เป็นอันตรายต่อผนังช่องคลอด เช่น การคลอดที่ไม่ถูกวิธีมากกว่าเป็นผลจากการขาด เอสโตรเจนโดยตรง
2. ผลต่อทางเดินปัสสาวะ (3,15,16)
|