การดูแลรักษาทารกโตช้าในครรภ์ |
ในแต่ละสถาบัน
มีแนวทางในวิธีการดูแลรักษาทารกโตช้าในครรภ์ ที่แตกต่างกันไป แต่หลักการใหญ่ๆ
ก็คือ การค้นหา และลดปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้สุขภาพของทารกเลวลง, การเฝ้าระวัง
สุขภาพทารก โดยใช้ Antenatal fetal testing ในระหว่างที่รอให้ถึงอายุครรภ์ที่เหมาะสม
เพื่อให้ได้การทำงานของปอดทารกมากที่สุด, การทำให้มีสารอาหารและปริมาณออกซิเจน
สู่ทารกเพิ่มขึ้น การสืบค้นปัจจัยที่ทำให้เกิดทารกโตช้าในครรภ์ ทำได้โดยการซักประวัติของมารดา อย่างละเอียด ได้แก่ ประวัติทางพันธุกรรม การใช้ยาและสารเสพติด, การสูบบุหรี่ การตรวจเลือด เพื่อดูระดับ TORCH titer และการตรวจโครโมโซมของทารก ซึ่งอาจมีประโยชน์ ในกรณีของ ทารกโตช้าในครรภ์ชนิด symmetrical การนับจำนวนครั้งการดิ้นของทารก เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก ในการประเมินสุขภาพ ทารกในครรภ์ ทารกที่มีสุขภาพดีควรดิ้น 10 ครั้งขึ้นไปในเวลา 12 ชั่วโมงในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม การใช้คำบอกเล่าของมารดาอย่างเดียว เป็นตัวกำหนดการดิ้นของทารก อาจมีความคลาดเคลื่อน มารดาบางคน อาจไม่สามารถรับรู้การดิ้นของทารก ทั้งๆ ที่ทารกกำลังดิ้นอยู่ ปัจจุบันแพทย์สามารถใช้ คลื่นเสียงความถี่สูง แสดงการดิ้นของทารกให้มารดาเห็น เป็นการยืนยันสุขภาพของทารก และเป็นการสอนให้มารดารับรู้ความรู้สึกของ การดิ้นของทารก ได้ดีขึ้น การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ด้วย Biophysical profile และ Non-stress test เป็นวิธีมาตรฐาน ที่ใช้ในการเฝ้าระวังสุขภาพทารกในครรภ์ ความถี่ของการตรวจ ขึ้นกับ อายุครรภ์ และความรุนแรงของภาวะทารกโตช้าในครรภ์ หากทารกใกล้ครบกำหนดคลอด และมีภาวะโตช้า อย่างรุนแรง อาจตรวจติดตามสัปดาห์ละสองครั้ง ในกรณีครรภ์ก่อนกำหนด ที่พบ AEDF/REDF อาจต้องทำ Biophysical profile ทุกวัน ระยะเวลาตั้งแต่ตรวจพบ AEDF/REDF จนกระทั่งมี ความผิดปกติของ NST หรือ Biophysical profile แปรผันได้มาก ทั้งนี้ อาจขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ที่ได้รับ การตรวจวินิจฉัยครั้งแรก หากตรวจพบ AEDF/REDF ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ ก็อาจมีระยะเวลานาน กว่าที่จะมี NST ผิดปกติ นอกจากนี้ ยังขึ้นกับความรุนแรงของโรคในมารดาด้วย การใช้คลื่นเสียง Doppler ทารกโตช้าในครรภ์ที่เกิดจาก การทำงานของรกเสื่อมลง จะตรวจพบ AEDF/REDF ซึ่งแสดงถึงความต้านทานเส้นเลือดในรกสูงขึ้น ในกรณีที่ทารกดังกล่าว ครบกำหนดแล้ว ก็ควรให้คลอด แต่หากทารกยังมีอายุครรภ์น้อย แพทย์อาจตรวจติดตาม เพื่อให้ทารกมีอายุครรภ์ มากขึ้น กรณีดังกล่าว จะต้องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง Doppler ทั้งที่เส้นเลือดแดงและดำ เพื่อยืนยันให้ได้ว่า หัวใจทารกยังอยู่ในสภาวะที่ทำงานได้ ในภาวะที่ความดันเลือดสูงขึ้น และ Doppler ของเส้นเลือดดำปกติ การเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจความสมบูรณ์ของปอดทารก (Fetal lung maturity) มีที่ใช้น้อยลงมากในปัจจุบัน การกำหนดเวลาคลอด ขึ้นกับผลการประเมินภาวะที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพทารก ว่ามีมากน้อยเพียงใดเป็นสำคัญ หากตรวจพบว่า โรคของมารดา และสุขภาพทารก ในครรภ์ เลวลงอย่างรวดเร็ว ก็ควรจะต้องทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง โดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์ หรือ ความสมบูรณ์ของปอด ในทางกลับกัน หากตรวจพบว่า สุขภาพทารกยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็ควรจะ ให้การดูแลรักษาทารกในครรภ์ต่อไป แม้ว่าจะได้ตรวจพบว่า ปอดมีความสมบูรณ์แล้ว การเจาะเลือดทารก เพื่อดูความเป็นกรด ด่าง และระดับออกซิเจน ของทารก มีที่ใช้น้อย ในปัจจุบัน เนื่องจากมีวิธีอื่นที่มีความแม่นยำกว่า ในการประเมินสุขภาพทารก โดยไม่มีความเสี่ยง ต่อทารก โดยทั่วไป การเจาะเลือดทารก จะทำเมื่อสงสัยความผิดปกติของ โครโมโซม ของทารก เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดโดยไม่จำเป็น การให้มารดานอนตะแคง เป็นวิธีที่แพทย์ส่วนใหญ่มักแนะนำให้มารดาปฏิบัติ เพื่อจุดประสงค์ ให้มีปริมาณเลือดไปเลี้ยงมดลูก และทารก มากที่สุด แม้จะไม่มีหลักฐานที่ยืนยันชัดเจนว่า เป็นวิธี ที่ได้ผล การให้ออกซิเจนแก่มารดา ยังไม่เป็นที่สรุปชัดเจนว่าได้ผลหรือไม่ นอกจากนั้น การให้ออกซิเจน แก่มารดาตลอดเวลา ก็ยังเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ การให้ Aspirin ขนาดต่ำ เพื่อรักษาทารกโตช้าในครรภ์ ซึ่งมีสาเหตุจากโรคบางอย่าง ในมารดานั้น มีการปฏิบัติมาเป็นเวลานาน Aspirin เป็น Prostaglandin synthetase inhibitor ออกฤทธิ์ที่ระดับ Cyclooxygenase enzyme ทำให้มีการลดระดับ Thromboxane ซึ่งทำให้ เส้นเลือดหดตัว มากกว่า Prostacyclin ซึ่งทำให้เส้นเลือดขยายตัว และลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด หลายๆ รายงานเชื่อว่า ทำให้เพิ่มเลือดไปเลี้ยงมดลูกและทารก แต่ผลจาก CLASP study ในปี 1994 ซึ่งทำการศึกษาในสตรีตั้งครรภ์ 9,334 คน พบว่า ไม่มีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดทารกโตช้า ในครรภ์ ดังนั้นการให้ Aspirin เพื่อการป้องกัน IUGR จึงไม่มีที่ใช้ ยกเว้นในรายที่มารดามีประวัติ ครรภ์ก่อนมี Pregnancy induced hypertension ชนิดรุนแรง ซึ่งเกิดที่อายุครรภ์น้อยๆ |