Placental transfer
การผ่านของสารจากเลือดมารดาไปยังกระแสเลือดทารกในครรภ์ต้องผ่าน 
          1. Syncytiotrophoblast
          2. Stroma ของ Intravillous space
          3. Fetal capillary wall

          ตลอดการตั้งครรภ์ Syncytiotrophoblast มีบทบาทสำคัญทั้ง Active และ
Passive ในการควบคุมการส่งผ่านสารต่างๆ ไปยังทารกในครรภ์ทั้งปริมาณและ
อัตราการส่งผ่าน ในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ จำนวน Langhans cells หรือ
Cytotrophoblasts ที่บุชั้นในสุดของ Villi จะลดลงและ Villous epithelium ประกอบด้วย
Syncytiotrophoblast เป็นหลัก ผนังของ Villous capillaries บางลงร่วมกับการเพิ่ม
จำนวนของเส้นเลือดจากทารก พื้นผิวของ Villi ทั้งหมดในขณะครรภ์ครบกำหนดวัดได้
ประมาณ 10 ตารางเมตร(5) การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายเหล่านี้ช่วยเสริมการส่งผ่านสาร
ไปยังทารก
การควบคุมการส่งผ่านของรก Syncytiotrophoblast เป็นเนื้อเยื่อของทารกที่เป็นรอยต่อ
ระหว่างระบบแลกเปลี่ยนของมารดากับทารกในการแลกเปลี่ยนสารผ่านรก (Placental
arm) Syncytiotrophoblast ด้านมารดามีลักษณะเป็นโครงสร้าง Microvilli ที่ซับซ้อน
ส่วนเยื่อบุเซลล์ด้านทารก (Basal) เป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดฝอยจากทารกอยู่ จึงทำหน้าที่
ส่งต่อสารผ่าน Intravillous space ไปยังทารกหรือกลับกัน
          การพิจารณาถึงประสิทธิภาพของการขนส่งสารของรกขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
          1. ความเข้มข้นของสารเมื่อเทียบกันใน Plasma ของมารดา และการจับกับสาร
ชนิดอื่น เช่น Protein ที่เป็นตัวนำ
          2. อัตราการไหลเวียนเลือดผ่าน Intervillous space
          3. พื้นที่แลกเปลี่ยนของ Villous trophoblast epithelium
          4. คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของเนื้อเยื่อที่กั้นแบ่งระหว่างเลือดใน Intervillous space
กับ Fetal capillaries ในกรณีส่งผ่านด้วยวิธี Diffusion
          5. สำหรับวิธี Active transport ขึ้นกับความสามารถทางชีวเคมีของรก เช่น
Receptor ที่เฉพาะบางตัวบน Plasma membrane ของ Trophoblast
          6. ปริมาณของสารที่ถูก Metabolized จากรกขณะส่งผ่าน
          7. พื้นที่แลกเปลี่ยนของ Fetal capillaries ภายในรก
          8. ความเข้มข้นของสารในเลือดทารก
          9. คุณสมบัติการจับกับ Carrier protein ที่เป็นตัวนำในเลือดของมารดาหรือทารก
        10. อัตราการไหลเวียนเลือดของทารกไปยัง Villous capillaries
การส่งผ่านด้วยวิธี Diffusion
          สารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กกว่า 500 Dalton สามารถผ่านเนื้อเยื่อของรกได้
อัตราการไหลผ่านขึ้นกับน้ำหนักโมเลกุลคือถ้าสารยิ่งมีขนาดเล็กยิ่งผ่านได้เร็ว
Syncytiotrophoblast ยังมี  บทบาทในการช่วยซึมผ่านของโมเลกุลขนาดเล็กบางตัว
โดยเฉพาะสารสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของทารกแต่มีความเข้มข้นในเลือด
มารดา น้อยกว่าในทารก
          สารที่ผ่านด้วยวิธี Simple diffusion ได้แก่ ก๊าซ (Oxygen, carbon dioxide),
น้ำและเกลือแร่ Electrolyte ส่วนมาก ก๊าซที่ใช้ในทางวิสัญญีก็ผ่านรกไปยังทารกในครรภ์
ด้วยวิธีนี้
          Insulin, Steroid hormone และ Thyroid hormones อาจผ่านรกได้แต่ในอัตรา
ที่ช้ามาก ฮอร์โมนที่สังเคราะห์ขึ้นในรกสามารถผ่านเข้าสู่เลือดของทั้งมารดาและทารก
แต่ในอัตราที่แตกต่างกัน เช่น ระดับของ hCG และ hPL ใน Plasma ของทารกจะต่ำกว่า
ในมารดามาก
          สารโมเลกุลใหญ่บางชนิดที่มีความสำคัญต่อทารกเช่น Immune gamma globulin
G (IgG) ส่งผ่านไปด้วยวิธีเฉพาะโดย Trophoblast receptor-mediated mechanism
ซึ่งเป็นกลไกเฉพาะจาก Receptor ที่เฉพาะเจาะจงกับสารนั้น
การแลกเปลี่ยน Oxygen และ Carbon dioxide
          รกเปรียบเหมือนปอดของทารกในครรภ์ทำหน้าที่แลกเปลี่ยน Oxygen และ
Carbon dioxide ระหว่างมารดากับทารก(6) การขับออกของ Carbon dioxide ผ่านรก
ถูกจำกัดด้วยกลการซึมผ่าน (Diffusion limited) ในขณะที่การดูดซึม Oxygen ถูกจำกัด
ได้ด้วย ปริมาณไหลเวียนเลือดผ่านรก (Blood flow limited) รกมีอัตราการไหลเวียนของ
Oxygen ประมาณ 8 มล.ของ Oxygen/นาที/กิโลกรัมของทารก เนื่องจาก Oxygen
ที่ทารกมีอยู่จะพอเพียงอยู่เพียง 1-2 นาที ดังนั้นทารกจึงต้องการ Oxygen จากเลือด
มาเลี้ยงตลอดเวลา(7) ค่าปกติของ Oxygen, Carbon dioxide และ pH ในเลือด
ของมารดาและทารกได้แสดงไว้ในตารางที่ 2(8)
ตารางที่ 2 (8) ค่าปกติของ Oxygen (O2), Carbon dioxide (CO2), and pH
ในเลือดของมารดา
          การส่งผ่านของ Oxygen จากมารดาผ่าน Intervillous space ไปยังทารกเป็นไป
ตลอดเวลา ดังนั้น ความเข้มข้นของ Oxygen ใน Intervillous space จะใกล้เคียงกับ
มารดา โดยมีค่าเฉลี่ยของ Oxygen saturation (FiO2) ประมาณร้อยละ 65-75 และ
Partial pressure (pO2) ประมาณ 30-35 มิลลิเมตร ของปรอทส่วนค่า FiO2 ของ
Umbilical vein ใกล้เคียงกันแต่จะมี Partial pressure ต่ำกว่า ถึงแม้ว่า pO2 ของทารก
ค่อนข้างต่ำแต่ทารกไม่ได้มีปัญหาการขาด Oxygen แต่อย่างใดทั้งนี้เนื่องจาก Cardiac
output ที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในช่วงหลังของการตั้งครรภ์  ความสามารถในการจับกับ
Oxygen และความเข้มข้นของ Hemoglobin ที่มากขึ้นสามารถชดเชยกับ Oxygen
tension ที่ต่ำลงได้
          การขับออกของ Carbon dioxide เป็นไปโดยวิธี Diffusion ซึ่ง Carbon dioxide
ซึมผ่านรกได้ดี และรวดเร็วกว่า Oxygen ขณะครรภ์ใกล้ครบกำหนดค่า PCO2 ใน
Umbilical arteries ประมาณ 48 มม.ปรอท สูงกว่าใน Intervillous blood อยู่ 
5 มม.ปรอท  นอกจากนี้เม็ดเลือดแดงของทารกจับกับ Carbon dioxide ได้น้อยกว่าของ
มารดาจะเสริมการส่งผ่าน Carbon dioxide จากทารกไปยังมารดา สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ
Mild hyperventilation ทำให้ PCO2 ในเลือดลดลง ซึ่งจะมีผลทำให้ทารกปล่อย Carbon
dioxide มายังเลือดของมารดาเพิ่มขึ้น
รูปที่ 6 Oxygen dissociation curves ของเลือดของมารดาและทารกขณะ pH=7.40(1)
Selective Transfer และ Facilitated Diffusion
          ถึงแม้ว่า Diffusion เป็นกรรมวิธีที่สำคัญของการส่งผ่านสารของรกแต่
Trophoblast และ Chorionic villi ก็สามารถเลือกดูดซึมเฉพาะสารที่ต้องการและทำให้
ความเข้มข้นของสาร Metabolites หลายชนิดในเลือดของมารดาและทารกแตกต่างกัน
โดยที่สารบางอย่างในเลือดทารกสูงกว่าในเลือดของมารดาหลายเท่าทั้งๆ ที่ทารก
ไม่สามารถผลิตสารนั้นขึ้นได้เอง เช่น  Ascorbic acid ที่มีน้ำหนักโมเลกุลน้อย ซึ่งควร
ส่งผ่านรกโดยวิธี Simple diffusion แต่กลับพบว่าความเข้มข้นของ Ascorbic acid
ในเลือดทารกสูงกว่าในมารดา 2-4 เท่า(6) เช่นเดียวกับการส่งผ่านธาตุเหล็กที่มี
ลักษณะเป็นทางเดียวจากมารดาสู่ทารก ทำให้ความเข้มข้นของธาตุเหล็กใน Plasma
ของมารดาต่ำกว่าในทารกทั้งๆ  ที่ความสามารถในการจับธาตุเหล็กของมารดาสูงกว่า
ในทารก
          การติดเชื้อไวรัส, แบคทีเรีย  และโปรโตซัวบางชนิดอาจผ่านรกไปทำให้ทารก
ในครรภ์   ติดเชื้อได้ เช่น หัดเยอรมัน (Rubella), อีสุกอีใส (Varicella), หัด (Measles),
คางทูม (Mumps), ไข้ทรพิษ (Small pox), โปลิโอ (Poliomyelitis), Vaccinia,
Cytomegalic inclusion disease, Coxsackie virus, Western equine encephalitis,
Parvovirus และ Human immunodeficiency virus หรือโปรโตซัว พวกซิฟิลิส
(Syphilis) จากเชื้อ Treponema pallidum, Toxoplasma, Plasmodium และวัณโรค
(Mycobacterium tuberculosis)
          การติดเชื้อจากโปรโตซัวและแบคทีเรีย  มักพบพยาธิสภาพทาง Histology
จากการตรวจรก (อาจตรวจไม่พบในไวรัส) เซลล์มะเร็งบางชนิดในมารดาสามารถกระจาย
ไปยังรกและหรือทารกในครรภ์ได้ เช่น Malignant melanoma หรือมะเร็งเซลล์เม็ดเลือด(1)