หลักการแปลผลการตรวจวิเคราะห์ Blood gas(1 - 2 14 - 17)
      การแปลผลการตรวจวิเคราะห์เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ  เนื่องจาก
หากแปลผลไม้ได้การตรวจนั้นย่อมไร้คุณค่าดังนั้นนิสิตจึงจำเป็นต้องแปลผลการตรวจได้

      ในใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์   blood gas โดยทั่วไปนั้นจะประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ
ดังต่อไปนี้คือ
      1. pH  บอกถึงสภาวะของกรดและเบสในร่างกาย  ปกติมีค่า 7.35 - 7.45 ถ้ามีค่าต่ำกว่าปกติ
เรียกว่า acidemia    ถ้ามีค่าสูงกว่าปกติเรียกว่า alkalemia ค่านี้สามารถวัดได้จากเครื่องอัตโนมัติ
โดยตรง

      2. pO2  ปกติมีค่า 80  -100 mmHg ถ้ามีค่าต่ำกว่าปกติเรียกว่า hypoxemia    ค่านี้สามารถ
วัดได้จากเครื่องอัตโนมัติโดยตรง

      3. pCO2 ปกติมีค่า 35 - 45 mmHg ค่านี้ช่วยบ่งบอกถึงภาวะการหายใจได้โดยตรง หากค่านี้
ต่ำกว่าปกติเรียกว่า hyperventilation หากค่านี้สูงกว่าปกติเรียกว่า hypoventilationค่านี้สามารถ
วัดได้จากเครื่องอัตโนมัติโดยตรง

       4. % O2 saturation คือร้อยละของฮีโมโกลบินที่รวมตัวกับออกซิเจน อธิบายความสัมพันธ์
ได้ตาม oxygen dissociation curve   พบว่าภาวะดังต่อไปนี้ pH ต่ำลง 2,3 DPG เพิ่มขึ้น และ
อุณหภูมิเพิ่มขึ้น     จะทำให้เกิดเกิดการจับออกซิเจนที่ไม่ดีแต่มีการปล่อยออกซิเจนที่ดี เรียกว่ามี
ภาวะ Shift to the right

       5. Base excess(BE) คือ เบสที่เกิน ค่าปกติอยู่ระหว่าง - 2 ถึง + 2 กรณีที่ base excess มากกว่าปกติบ่งบอกถึงภาวะ metabolic alkalosis กรณีที่มีภาวะ base excess น้อยกว่าปกติ
บ่งบอกถึงภาวะ metabolic acidosis

    ในการวิเคราะห์ผล blood gas นั้นนอกจากจะดูใบรายงานผลแล้วยังจำเป็นจะต้องพิจารณา
ประวัติ การตรวจร่างกาย ตลอดจนการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นร่วมด้วย      จึงจะช่วยในการ
วินิจฉัย ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความผิดปกติของ blood gas มี 2 สาเหตุคือ

       1. สาเหตุจากการหายใจ (respiratory cause)
       2. สาเหตุจากการครองธาตุ (metabolic cause)

       โดยความผิดปกตินั้นอาจเป็นแบบเดียวหรือหลายแบบก็ได้
 

ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่างสาเหตุของการเสียดุลยภาพกรดและเบสในร่างกาย(2,15 - 17)
ชนิด
สาเหตุ
1. Simple
    1.1 metabolic cause
             * acidosis
             * alkalosis
    1.2 respiratory cause
             * acidosis

            * alkalosis

2. Mixed
     2.1 Metabolic acidosis and
           respiratory acidosis
     2.2 Metabolic acidosis and
           respiratory alkalosis 

เบาหวาน,โรคไต,ท้องเสีย,เมทานอล
อาเจียน,ยาขับปัสสาวะ

สารเสพติด,ภาวะอุดกั้นของปอดอย่างเรื้อรัง
(chronic obstructive lung disease)
กลุ่มอาการหายใจเร็วผิดปกติ
(hyperventilation syndrome), ปอดบวม
(pneumonia)
 

หัวใจหยุดเต้น(cardiac arrest)

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด(sepsis)

        สำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการชนิดอื่นที่มีความสำคัญในการวินิจฉัยผล     blood gas
ได้แก่ ผลการตรวจ electrolyte      เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับภาวะกรดและเบสในร่างกาย โดย
จากผลการตรวจ  electrolyte  สามารถนำมาหาค่าของ  anion gap  ได้ โดยค่าของ  anion gap
ได้จากผลต่างของประจุบวกทั้งหมดลบด้วยประจุลบทั้งหมด ซึ่งปกติมีค่าไม่เกิน 25 mEq/L
        ค่า anion gap นี้สามารถใช้วินิจฉัยแยกโรค metabolic acidosis ได้ โดยกรณีที่มีค่า anion
gap ปกติพบได้ในภาวะที่มีการสูญเสีย bicarbonate ไป เช่น ท้องเสีย , proximal tubular
acidosis เป็นต้น ส่วนกรณีที่พบ anion gap สูงกว่าปกติ     พบได้ในภาวะที่ได้รับกรดเกินทั้งจาก ภายในร่างกาย  (เช่น lactic acidosis   จากการขาดออกซิเจน ketoacidosis จากเบาหวาน หรือ
ขาดอาหาร) และภายนอกร่างกาย   (เช่น เมทานอล, เอทิลีนไกลคอล, ซาลิไซเลต) หรือภาวะที่ไต
ไม่สามารถขับกรดได้ เช่น ไตวาย

       นอกจากการตรวจหาระดับ electrolyte แล้วการตรวจที่มีความสำคัญอื่นๆ เช่น การตรวจ
ระดับ  glucose  ในเลือด  การตรวจระดับ lactate   ในเลือดสามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ใน
บางกรณี

        สำหรับการพิจารณาผลการตรวจวิเคราะห์ blood gas ในใบรายงานผลนั้นให้ทำตามลำดับ ขั้นตอนต่อไปนี้
        1.1 วิเคราะห์ค่า pH
        1.2 วิเคราะห์ค่า bicarbonate สำหรับสาเหตุทาง metabolic
        1.3 วิเคราะห์ค่า pCO2 สำหรับสาเหตุทาง respiratory
        1.4 สรุปผลการวิเคราะห์ โดยให้ยึดหลักว่า pH ย่อมเปลี่ยนไปตามสาเหตุหลัก   ส่วนความ
ผิดปกติที่เป็นสาเหตุรองนั้นเป็นกลไกชดเชย   (compensatory mechanism)   และพึงระลึกว่า
การชดเชยนั้นมีได้หลายระดับ ในกรณีที่เรื้อรัง (chronic) การชดเชยย่อมเกิดขึ้นได้มากกว่ากรณี
ฉับพลัน (acute) อย่างไรก็ตามการชดเชยย่อมไม่อาจเกินค่าปกติไปได้ (limitation) กรณีที่พบว่า
เกินกว่าค่าปกติให้คิดถึงสาเหตุร่วม (mixed) มากกว่าสาเหตุเดี่ยว (simple)
 

ตารางที่ 4 แสดง กฎ Rule of thumb สำหรับการแปลผลการตรวจวิเคราะห์ blood gas(17)
ชนิด
กลไกการชดเชย
1. metabolic acidosis              ..
2. metabolic alkalosis              ..
3. acute respiratory acidosis     ..
4. acute respiratory alkalosis     ..
5. chronic respiratory acidosis   ..
6. chronic respiratory alkalosis   ..
pCO2 fall = 1.5 x HCO3-fall
pCO2 rise = 0.5 x HCO3-rise
HCO3- rise = 1 x pCO2 10 rise
HCO3-fall = 2 x pCO2 10 fall
HCO3-rise = 4 x pCO2 10 rise
HCO3-fall = 5 x pCO2 10 fall
       นิสิตจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ blood gas โดยขอให้ทำการ
ศึกษาในตัวอย่างผู้ป่วยที่จะได้อภิปรายในชั่วโมง เพื่อประยุกต์ใช้ในชั้นคลินิกต่อไป 

       นอกจากประเด็นเกี่ยวกับการเสียดุลยภาพกรดและเบสในร่างกายแล้ว ผลการตรวจวิเคราะห์ blood gas ยังมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยอาการเขียว(cyanosis) ได้ด้วย โดยหลักการพิจารณา
มีดังต่อไปนี้
       1. กรณีที่ตรวจพบว่ามีค่า pO2 ต่ำร่วมกับมีค่า pCO2 สูงกว่า 45 mmHg  สาเหตุของการ
เขียวน่าจะเกิดจาก hypoventilation หรือ มีภาวะ diffusion defect อย่างรุนแรง

       2. กรณีที่พบ pO2 ต่ำ ร่วมกับ pCO2 ต่ำหรือปกติ ให้คิดถึงสาเหตุจาก ventilation
perfusion defect และ right to left shunt defect      ซึ่งสามารถแยกออกจากกันได้โดยการทำ hypoxia test กรณีที่เป็น ventilation perfusion defect ค่า pO2 จะเพิ่มขึ้น ถ้าเป็น right to left
shunt defect ค่า pO2 จะไม่เพิ่มขึ้น 

       นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งชนิดของ right to left shunt defect ได้ด้วยการเจาะเลือด จาก
preductal เทียบกับ postductal  หาก preductal มีค่า pO2 มากกว่าให้คิดถึง coarctation of
aorta หาก preductal มีค่า pO2 น้อยกว่า ให้คิดถึง transposition of aorta หาก preducatal
มีค่า pO2 เท่ากับ postductal ให้คิดถึง intracardiac shunt