การเก็บตัวอย่างและนำส่งสิ่งส่งตรวจเพื่อการวิเคราะห์
Blood gas(9 - 10)
      เช่นเดียวกับการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อื่นโดยทั่วไป ทั้งนี้
จำเป็นจะต้องคำนึงถึงขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ก่อนการเก็บหัตถการ การเก็บ ตลอดจนขั้นตอนหลัง
การเก็บสิ่งส่งตรวจ 

ขั้นตอนก่อนการทำหัตถการ(9 - 10)
* การเตรียมผู้ป่วย
      ในการส่งตรวจ Blood gas จำเป็นต้องคำนึงถึงการเตรียมผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีหลาย
ปัจจัยที่สามารถก่อให้เกิดความแปรปรวนของผลการตรวจอย่างมากมาย    จึงจำเป็นต้องคำนึงถึง
สภาพทางสรีรวิทยา ของผู้ป่วยในรวมถึงการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับในขณะนั้น
      ในการส่งตรวจแต่ละครั้ง จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยพักชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนการทำหัตถการเก็บสิ่ง
ส่งตรวจ ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าความเครียด (stress anxiety) สามารทำให้ได้ผลการตรวจที่
ผิดพลาดได้ เนื่องจากความเครียดสามารถทำให้เกิดการหายใจเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ (hyperventilation state) ทำให้มีการขับ carbon dioxide ออกทางลมหายใจมากกว่าปกติทำให้
เมื่อตรวจจะพบค่าของ  carbondioxide ในเลือดต่ำกว่าปกติได้  โดยที่ผู้ป่วยมิได้มีการขาดสมดุล
ของกรดและเบสในร่างกาย หรือมีโรคเกี่ยวกับการหายใจแต่อย่างใด
      นอกจากนี้ควรเว้นระยะการเก็บสิ่งส่งตรวจหลังจากการเริ่มต้นรักษาด้วย oxygen ประมาณ
20 นาที จึงจะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยผู้ป่วย

* การเตรียมอุปกรณ์
        อุปกรณ์หลักในการเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ   Blood gas ประกอบด้วย  เข็ม (needle) และ
กระบอกดูด (syringe) เข็มนั้นโดยมากนิยมใช้เข็มขนาดเล็กคือ เบอร์ 24 ไม่ควรใช้เข็มที่เล็กมาก
กว่านี้ เนื่องจากจะทำให้เกิดการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงได้      ส่วนกระบอกดูดนั้นมิได้ใช้
เพื่อดูดเลือดแต่ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บเลือด        โดยอาจใช้กระบอกดูดทำจากแก้วหรือ
พลาสติกก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้กระบอกดูดที่ทำจากแก้ว   เนื่องจากกระบอกดูดที่ทำจาก
แก้วมีการเจือปน  (contamination)  จากอากาศได้น้อยกว่า แต่มีปัญหาเรื่องการแตกหักได้ง่าย
และเป็นระบบที่ใช้วิธีการล้าง      และนำมาใช้ใหม่จึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการสัมผัสสิ่งติดเชื้อ
ในเลือดเกิดขึ้นได้
        ภายในกระบอกดูดแต่ละอันจำเป็น     จะต้องเตรียมสารกันเลือดแข็งไว้ภายใน โดยให้ใช้
สารกันเลือดแข็งชนิด  heparin  โดยมากแนะนำให้ใช้ในรูป lithium heparin liquid  เนื่องจาก
มีผลความแปรปรวนต่อ electrolyte น้อย แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่สำคัญจากการใช้ คือปัญหา
การเจือจาง (dilutional effect)

ตารางที่ 1 แสดงแปรปรวนที่เกิดจากสารกันเลือดแข็ง heparin ที่ใช้ในการส่งตรวจ
               blood gas(9 - 10)
ความแปรปรวน
เหตุ
Dilutional effect
Interfering ion
Liquid heparin
Most heparin

ขั้นตอนการทำหัตถการ(11 - 13)
* ชนิดของตัวอย่างเลือดเพื่อการตรวจวิเคราะห์ Blood gas
        การส่งตรวจวิเคราะห์ blood gas สามารถใช้ตัวอย่างเลือดได้หลายชนิด ซึ่งมีข้อบ่งใช้ที่
แตกต่างกันไป โดยตัวอย่างเลือดที่สามารถใช้ได้ในการตรวจวิเคราะห์ Blood gas ได้แก่
       1. เลือดจากเส้นเลือดแดง(arterial blood) เป็นตัวอย่างเลือดที่นิยมใช้มากที่สุด สามารถ
บอกปริมาณของออกซิเจนในเลือดแดงที่แท้จริง บอกภาวะความเป็นกรดด่างของร่างกายได้
       2.  เลือดจากเส้นเลือดฝอย  (capillary blood)  เป็นตัวอย่างเลือดที่เก็บในกรณีที่เป็นผู้ป่วย
เด็กเล็ก จะมีค่าใกล้เคียงกับตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดแดง แต่จะมีค่าของ PO2 ต่ำกว่า การเก็บ
ตัวอย่างจึงจำเป็นต้องอุ่นบริเวณที่จะทำหัตถการเสียก่อน 
       3. ตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดดำ (venous blood) เป็นตัวอย่างเลือดที่ใช้ในกรณีการศึกษา
เกี่ยวกับ arteriovenous shunt แต่ส่วนใหญ่ตัวอย่างเลือดชนิดนี้ เกิดจากการการเจาะเส้นเลือด
แดงพลาดเสียมากกว่า

       นอกจากตัวอย่างเลือดแล้ว ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่นิยมตรวจ gas analysis อีกชนิดหนึ่งคือ
น้ำเจาะปอด (pleural fluid) ซึ่งนิยมส่งตรวจเพื่อหา ค่า pH 

* หัตถการการเก็บตัวอย่างเลือด
       การเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อการตรวจวิเคราะห์ blood gas นั้นกระทำได้หลายวิธีตามแต่ชนิด
ของตัวอย่างเลือดที่ต้องการใช้    แต่ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงการเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือด
แดงและเส้นเลือดฝอย ซึ่งเป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ใช้บ่อยในทางคลินิก
       1. การเจาะเลือดจากเส้นเลือดแดง(arterial puncture) เป็นหัตถการการเก็บตัวอย่างเลือด
จากเส้นเลือดแดง    ผู้เจาะจำเป็นจะต้องเป็นแพทย์เท่านั้น สามารถทำการเจาะได้จากเส้นเลือด
แดงที่อยู่ค่อนข้างตื้น คือ เป็นบริเวณที่สามารถคลำชีพจรได้
 

ตารางที่ 2 แสดงบริเวณของเส้นเลือดแดงที่สามารถทำการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดได้(11)
เส้นเลือดแดง
บริเวณที่ทำการเจาะ
1. radial
2. brachial
3. femoral
4. dorsalis pedis
ข้อมือ
ข้อพับของข้อศอก
ขาหนีบ
หลังเท้า
        แต่บริเวณที่นิยมทำการเจาะเลือดจากเส้นเลือดแดงมากที่สุดก็คือ  เส้นเลือดแดง radial ที่
บริเวณข้อมือ ไม่ควรเจาะเลือดในบริเวณที่คลำชีพจรไม่ได้ และก่อนการเจาะเลือดทุกครั้ง จำเป็น
ต้องทดสอบดูการไหลเวียนของเลือดด้วย เช่น ก่อนการเจาะเลือดที่บริเวณข้อมือจำเป็นต้องตรวจ
ด้วย Allen's test ก่อน ถ้าพบความบกพร่องของการไหลเวียนเลือดที่บริเวณนั้น ควรหลีกเลี่ยง
การเจาะเลือด 

       การทำหัตถการชนิดนี้จำเป็นต้องทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะเลือดเป็นอย่างดี เนื่องจาก
การติดเชื้อเข้าสู่เส้นเลือดแดงจะทำให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้  นอกจากนี้หลังจากเจาะเลือด
เรียบร้อยแล้ว จำเป้นต้องกดไว้จนกว่าเลือดจะหยุด หากไม่กดไว้อาจทำให้เกิดเลือดออกใต้ผิวหนัง
(hematoma) จนทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินของเส้นเลือดแดงได้  การทำหัตถการชนิดนี้จัดได้ว่า
เป็นหัตถการที่ต้องอาศัยความชำนาญมาก         ผู้ทำหัตถการมีโอกาสเสี่ยงต่อการโดนเข็มทิ่มตำ
(needle stict injury) ได้ง่าย การเตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ให้พร้อมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ข้อพึงระลึก
อีกประการหนึ่งคือ การทำหัตถการใดก็ตามจำเป็นต้องได้รับคำอนุญาตจากผู้ป่วยก่อนเสมอ

      1. การเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอย เป็นหัตถการที่ทำเฉพาะในเด็กเล็ก โดยบริเวณที่นิยม
เจาะเลือดได้แก่ บริเวณด้านข้างของฝ่าเท้า ไม่ควรเจาะบริเวณกลางฝ่าเท้า เนื่องจากจะทำให้
เกิดการติดเชื้อสู่โครงสร้างในชั้นลึกของฝ่าเท้าได้ การทำหัตถการชนิดนี้จำเป็นต้องอุ่นบริเวณที่
จะทำหัตถการก่อนเสมอ 

       ไม่ควรเจาะเลือดด้วยวิธีนี้ในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ shock เนื่องจากจะให้ผลการตรวจผิดที่
ผิดพลาดไปได้มาก อาจทำให้การตัดสินใจรักษาไม่ถูกต้อง

       หัตถการต่างๆเหล่านี้นิสิตจะได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงในการศึกษาระดับคลินิกต่อไป

ขั้นตอนภายหลังการทำหัตถการ(9 - 10)
       ภายหลังจากการทำหัตถการแล้ว จำเป็นจะต้องรีบนำส่งตัวอย่างเลือดสู่ห้องปฏิบัติการเพื่อ
ตรวจวิเคราะห์ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว สำหรับรายละเอียดของขั้นตอนนี้มีดังต่อไปนี้
* ก่อนการตรวจวิเคราะห์
      การนำส่งตัวอย่างเลือดต้องรีบกระทำอย่างรวดเร็ว    เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสารที่จะ
ทำการตรวจวิเคราะห์เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยภายหลังจากเก็บตัวอย่างเลือดได้แล้ว ให้กระทำ
ดังต่อไปนี้
      1. ผสมตัวอย่างเลือด(mix)ให้เข้ากันกับสารกันเลือดแข็งโดยการใช้ฝ่ามือหมุน (rotate) และ
พลิกกระบอกดูดขึ้นและลงเบาๆ (inversion mixing)  หากไม่ทำขั้นตอนนี้จะทำให้ตัวอย่างเลือด
แข็งตัว (clot)  และไม่สามารถทำการตรวจวิเคราะห์ได้
      2. ระวังอย่าให้มีการปนเปื้อนของอากาศจากภายนอกเข้าสู่ตัวอย่างเลือด การนำส่งจึงจำเป็น
ต้องกระทำอย่างรวดเร็ว    เนื่องจากเวลาผ่านไปโอกาสที่จะปนเปื้อนยิ่งสูงขึ้น การป้องกันที่ดีที่สุด
คือ การนำส่งห้องปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว  หลีกเลี่ยงการใช้กระบอกดูดที่หลวม และภายหลังจาก
เก็บตัวอย่างเลือดเรียบร้อยแล้วห้ามดึง (pull) ก้านดึง (plunger) ของกระบอกดูดอีก
      3. ให้นำส่งโดยเก็บหลอดดูดพร้อมตัวอย่างเลือดลงในน้ำแข็งป่น (ห้ามใช้น้ำแข็งก้อน) เนื่อง
จากจะช่วยยับยั้ง อัตราการครองธาตุของเม็ดเลือดแดงในตัวอย่างเลือดได้  ในกรณีที่จำเป็นต้อง
ทิ้งไว้นานเกินกว่า 30 นาที่ ให้เก็บไว้ในตู้เย็น (refrigerated)

* การตรวจวิเคราะห์(1 - 2)
       ปัจจุบันนี้การตรวจวิเคราะห์ Blood gas ใช้การตรวจด้วยเครื่องอัตโนมัติ สำหรับวิเคราะห์
เป็นหลัก  คุณภาพของตัวอย่างเลือดมีอย่างยิ่งต่อการตรวจวิเคราะห์ หากมีก้อนเลือดแข็ง อาจ
ทำให้เครื่องเสียได้ ซึ่งปัญหาก้อนเลือดแข็งนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะบริเวณส่วนต้นของกระบอก
ดูดเก็บตัวอย่างเลือด  ดังนั้นจึงแนะนำให้ปล่อยตัวอย่างเลือดในหลอดดูดออกไปบางส่วนก่อน
นำตัวอย่างเข้าเครื่องตรวจโดยค่อยๆ ดันกระบอกดูดให้ตัวอย่างเลือดเข้าสู่เครื่องเบาๆ   เพราะ
การดันแรงๆ     จะทำให้เกิดการแตกตัวของเม็ดเลือด (hemolysis) และ เกิดการปนเปื้อนของ
ฟองอากาศเข้าสู่เครื่องทำให้เครื่องเสียได้     นอกจากนี้ก่อนนำตัวอย่างเลือดเข้าเครื่อง แนะนำ
ให้ทำการผสมอีกครั้งก่อน ถึงแม้จะได้ผ่านการผสมมาอย่างดีแล้วก็ตาม

       สำหรับเครื่องอัตโนมัติที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์นั้น   ใช้หลักการของไฟฟ้าเคมี โดยใช้วิธี
การแยกตัวอย่างโดยมีขั้วไฟฟ้า   (electrode)  อยู่ภายใน   โดยระบบที่สำคัญได้แก่ ระบบ pH
ระบบ pCO2 และระบบ pO2 นั่นเอง สำหรับค่าของ H2CO3 นั้นหาได้จากวิธีการคำนวณตาม
สมการ Henderson Hasselbalch Equation นั่นเอง

        ดังนั้นหากต้องการทราบค่า ที่แท้จริง HCO3- จำเป็นต้องส่งตรวจ electrolyte ควบคู่ไปด้วย

* หลังการตรวจวิเคราะห์
       ภายหลังการตรวจวิเคราะห์     การติดตามผลการตรวจเป็นสิ่งที่จำเป็น     การตรวจจะไม่เกิด
ประโยชน์ หากขาดการติดตามผล ทั้งนี้เมือได้รับผลแล้วต้องประเมินผล การตรวจเพื่อการวินิจฉัย
และการรักษาต่อไป ข้อผิดพลาดที่พึงระวังทั้งในการรายงานและการแปลผลคือ อย่าอ่านสลับกัน
โดยเฉพาะ pO2 และ pCO2 และควรตรวจสอบค่าความถูกต้อง ด้วยสมการ Henderson
Hasselbalch ดังกล่าวมาแล้ว