Method of treatment
วิธีการรักษา Hyperthyroidism
การรักษามี 3 วิธี คือ
        1. การใช้ยา thionamides ได้แก่ propylthiouracil (PTU), methimazole (MMI) และ carbimazole
        2. การใช้ radioactive iodine (131I)
        3. การผ่าตัดต่อมธัยรอยด์
ทั้ง 3 วิธี มีข้อดี - ข้อเสีย แตกต่างกัน (ตารางที่ 2) จึงจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย และแพทย์ควรอธิบายให้ผู้ป่วยทราบข้อดี - ข้อเสีย เพื่อให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีรักษา
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบข้อดี - ข้อเสีย ของการรักษา hyperthyroidism ด้วยวิธีต่างๆ กัน 2
Treatment
Advantage
Disadvantage
Particularly suitable for
131 I
- หายขาดจากโรค
- สะดวก ง่าย ปลอดภัย
- พบภาวะ hypothyroid ได้บ่อย ทำให้อาจต้องกิน L-T4 ไปตลอดชีวิต
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยตั้งครรภ์ และให้นมบุตร

- ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วย หรือมารดาที่ต้องดูแลทารก
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่
Antithyroid drug
- พบภาวะ hypothyroid น้อย ทำให้โอกาสที่จะต้องกิน L-T4 ไปตลอดชีวิตมีน้อย - อาจแพ้ยา
- อาจมีผลข้างเคียงจากยา

- ต้องกินยานานเป็นปี

- พบ remission rate น้อย

- ต้องมาพบแพทย์บ่อย
- ใช้ได้ในผู้ป่วยตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
- ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการรับการรักษา ด้วยRAI

- ผู้ป่วยอายุน้อย อาการไม่รุนแรง และต่อมธัยรอยด์โตไม่มาก
Surgery
- หายจากภาวะ hyperthyroid ได้รวดเร็ว
-  สามารถลดขนาดต่อมธัยรอยด์ ที่มีขนาดใหญ่มากๆ ได้
- เสียค่าใช้จ่ายสูง
- อาจเกิดผลแทรกซ้อน จากการดมยาสลบ

- อาจเกิด recurrent laryngeal nerve injury

- อาจเกิดภาวะ hypoparathyroid จาก parathyroid gland injury

- ผลการรักษาขึ้นกับ ประสบการณ์ของแพทย์ผู้ผ่าตัด

- อาจเกิดภาวะ hypothyroid ได้ ถ้าเหลือต่อมธัยรอยด์ น้อยเกินไป ซึ่งจะต้องกิน L-T4 ไปตลอดชีวิต
- ผู้ป่วยที่มีอาการ suppressive symptom เช่น กลืนลำบาก, หายใจลำบาก
- large toxic multinodular goiter ที่มี low RAI uptake