Megalobalstic
anemia เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์
ในไขกระดูกไม่สามารถสร้าง DNA ได้ตามปกติ แต่ยังคงสร้าง
RNA และโปรตีนได้
ทำให้เกิดความผิดปกติโดยเซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น และนิวเคลียสมีลักษณะอ่อน
ในขณะที่ไซโตพลาสซึมเจริญตามปกติ ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า
"nuclear-cytoplasmic asynchronism" นอกจากนี้เซลล์อื่นๆ
ที่มีการแบ่งตัวเร็ว
จะเกิดมีความผิดปกติที่เรียกว่า "megaloblastosis" เช่น
เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร
เป็นต้น
ลักษณะสำคัญที่จะแยกกลุ่มนี้ออกจาก
macrocytic non-megaloblastic คือ
เซลล์เม็ดเลือดจะมีขนาดใหญ่มาก โดย MCV มักจะมากกว่า
115 fL และมีจำนวนมาก เห็นได้ง่ายจากเสมียร์เลือดและมักจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระบบ
เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดร่วมด้วย รายละเอียดดังจะกล่าวต่อไป
ชนิดต่างๆ ของ Megaloblastic
anemia ตามสาเหตุ
1.
Vitamin B12 deficiency
1.1 Dietary deficiency: strict
vegetarian diets
1.2 Lack of Castle's intrinsic
factor
1.2.1
Pernicious anemia
1.2.2
Gastectomy
1.2.3
ingestion of caustic materials
1.3 Functionally abnormal intrinsic
factor
1.4 Biololgic competition
1.4.1
Small-bowel bacterial overgrowth
1.4.2
Fish tapeworm disease (Diphyllobothrium latum)
1.5 Familial selective vitamin B12
malabsorption
1.6 Drug-induced vitamin B12
malabsorption
1.7 Chronic disease of the pancreas
1.8 Zollinger-Ellison syndrome
1.9 Hemodialysis
1.10 Diseases especially affecting the
ileum
2. Folate deficiency
2.1 Dietary deficiency
2.2 Increased requirements (cirrhosis,
pregnancy, infancy eg.)
2.3 Congenital folate malabsorption
2.4 Anticonvulsants and oral contraceptives
2.5 Extensive intestinal reaction ,
jejunal resection
3. Combined folate and Vitamin B12
deficiency
4. Inherited disorders of DNA synthesis
5. Drug and toxin-induced disorders of DNA synthesis
6. Erythroleukemia
สาเหตุสำคัญของการเกิด megaloblastic anemia
เกิดจากการขาด ไวตามิน B12
และ folic acid
เมตาบอลิสึมของ
folic acid
folic acid เป็นสารสำคัญที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายอนุพันธ์คาร์บอน ซึ่งมีความสำคัญ ต่อการเปลี่ยน deoxyuridylate เป็น
thymidylate ซึ่งเป็น pyrimidine base
จึงมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์ DNA
ฉะนั้นการขาด folic acid จึงทำให้เกิด
megaloblastic anemia จากการที่ไม่สามารถสร้าง
DNA ได้ นอกจากนี้ folic acid
ยังมีความสำคัญต่อการสร้าง methionine,
glycine และ purine ในการทำงานของ foli acid นั้นพบว่าจะต้องอาศัย Cobalamin
(Cbl) การขาด Cbl จึงทำให้เกิด
megaloblastic anemia ได้
folic acid พบได้ในอาหารหลายประเภทโดยเฉพาะ
ผักใบเขียว ตับ ไข่
และนม ความร้อนจากการทำให้สุกจะทำให้ folic acid เสียไป
หรือลดปริมาณลง ร่างกายมีการดูดซึม
folic acid จากอาหารที่ลำไส้ส่วนต้นของ
jejunum และเก็บสะสมที่ตับ
ซึ่งปริมาณที่สะสมจะใช้หมดภายใน 2-4 เดือน ในภาวะ ที่ได้รับ folic acid จากอาหารไม่เพียงพอในผู้ใหญ่ปกติต้องการ
folic acid วันละ
50 mg
รูปที่ 1 การสังเคราะห์ DNA ของเซลล์เม็ดเลือดในภาวะปกติ
และภาวะที่ขาด
vitamin B12 และ
folic acid พบว่าในภาวะปกติ และภาวะที่ขาด vitamin B12
และ folic acid มีการสร้าง DNA ลดน้อยลงในระยะเวลาที่เท่ากันกับในภาวะปกติ
และมีระยะการสร้างนานขึ้น คือ มี
prolongation ของระยะ S และ G2 และเซลล์
ไม่สามารถเข้าสู่ระยะ mitosis ได้
ส่วนการสร้าง RNA เป็นปกติหรือมากขึ้น
และทำให้เกิดปรากฎการณ์ nuclear-cytoplasmic
asynchronism
เมตาบอลิสึมของไวตามิน
B12
ไวตามิน B12 เป็นสารในกลุ่ม cobalamin (Cbl) ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์
(co-enzyme) ในการเปลี่ยน homocysteine
เป็น methionine และมีความจำเป็นต่อ
การทำงานของ folic acid การขาดไวตามิน
B12 จึงทำให้เกิด megaloblastic anemia
ได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เปลี่ยน
methylmalonyl CoA เป็น succinyl CoA ซึ่งเป็น
intermediate สำคัญของ Kreb's cycle
ผู้ป่วยที่ขาดไวตามิน B12 จะมีการคั่งของ
methylmalonyl CoA ทำให้เกิดการสร้างกรดไขมันที่ผิดปกติและส่งผลให้เกิดการสร้าง
myelin ที่ผิดปกติตามมา และทำให้เกิดความผิดปกติในระบบประสาท
ไวตามิน B12
สร้างโดยเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในสัตว์
จึงพบในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์
จากสัตว์ เช่น ไข่ และน้ำปลา เป็นต้น
ถูกดูดซึมที่ลำไส้ส่วน ileum โดยรวม
เป็นสารประกอบกับ intrinsic factor(IF)
ที่สร้างจาก parietal cell ของกระเพาะอาหาร
และเก็บสะสมไว้ที่ตับ ในผู้ใหญ่ต้องการไวตามิน
B12วันละ 1 mg ในภาวะที่มี
การขาดไวตามิน B12 ร่างกายจะได้จากสัดส่วนที่สะสมไว้
ซึ่งกว่าจะหมดจะใช้เวลา
นานถึง 3 ปี ฉะนั้นจะพบภาวะการขาด
folic acid ได้บ่อยกว่า
ผลของการขาดไวตามิน
B12 และ folic acid
1
อาการจากภาวะโลหิตจาง อาการภาวะโลหิตจางพบได้บ่อยจากการขาด
ไวตามิน B12 และ
folic acid เฉพาะจากการขาดไวตามิน B12 พบได้ถึงร้อยละ
90
ของผู้ป่วย อาการมักจะเกิดขึ้นช้าๆ
ค่อยเป็นค่อยไป และจะปรากฎอาการชัดเจน
เมื่อผู้ป่วยซีดมาก ประมาณร้อยละ
10-15 มักจะมีอาการเหลืองเล็กน้อย bilirubin
มักจะไม่เกิน 4 มก/ดล ในรายที่มีอาการมากอาจมีม้ามโตเล็กน้อยปริมาณ
1-2 ซม.
ใต้ชายโครงซ้าย เข้าใจว่าเกิดจากมีการสร้างและทำลายเม็ดเลือดแดงในม้าม
ในขณะเดียวกัน นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่ขาดไวตามิน
B12 อาจจะมีอาการหัวใจโต
หัวใจล้มเหลวได้
2.
อาการทางระบบประสาท พบเฉพาะในพวกที่ขาดไวตามิน B12
และพบได้ถึง
ร้อยละ 44 ของผู้ป่วย
ตรวจพบอาการชาจาก peripheral neuropathy หรือ
polyneuritis จนถึงมีความผิดปกติของ
lateral และ posterior column
ของประสาทไขสันหลัง (subacute combined
degeneration) โดยจะมีความผิดปกติ
ทางระบบประสาท เช่น reflexไว
มีการตอบสนองของ Babinski's เป็นแบบ
extensor plantar เป็นต้น อาการเหล่านี้จะกลับเป็นปกติ
หลังการรักษาด้วย
ไวตามิน B12
3.
มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุผิว (epithelium) พบว่าร้อยละ 20
ของผู้ป่วย มีลักษณะ atrophy
โดยเฉพาะที่ลิ้นทำให้มีลักษณะเรียบ และเจ็บแสบลิ้น
เป็นๆ หายๆ (glossitis)
ส่วนที่ช่องคลอด (vagina) จะมีผิวบางลงและง่ายต่อ
การเกิดบาดแผล ถ้าตรวจดู
vaginal smear จะพบว่า squamous epithelial cells
ที่มีนิวเคลียส (nucleaus)
ใหญ่กว่าปกติ
4. การขาด folic acid ถ้ารุนแรงและเรื้อรัง จะทำให้เยื่อบุผนังภายในของลำไส้ ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้เกิด
malabsorption และถ่ายท้องหรือท้องเสีย
(diarrhea) ได้
Classical disease สำหรับ megaloblastic anemia ในคนผิวขาวนั้นคือ
pernicious anemia (PA) สาเหตุเกิดจากการขาด
IF ฉะนั้นอาการที่เกิดขึ้นจึงมีอาการ
ขาดไวตามิน B12
อย่างรุนแรง
การตรวจทางห้องปฎิบัติ
1.
PBS พบลักษณะเม็ดเลือดแดงเป็นขนาดใหญ่ติดสีปกติ (normochromic
macrocytic red cell) และลักษณะผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
เช่น
macroovalocytes พบว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงมีขนาดต่างๆ
กันได้มาก (anisocytosis)
และมีรูปร่างแบบต่างๆ (poikilocytosis)
เช่น helmet cells, tear drop และ
fragmentation ได้ สำหรับในรายที่รุนแรงจะพบ
Basophilic stippling, Howell-Jolly
bodies, Cabot's ring และ nucleated
red cells ส่วนเม็ดเลือดขาวนั้นจะพบ
hypersegmentation ของ granulocyte
การตรวจกรอง (screening) อย่างง่ายๆ คือ
การตรวจพบ
-neutrophils จำนวนตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไปที่มี lobe ณ5
lobe หรือ
-neutrophils จำนวนตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปที่มี lobe ณ6
lobe หรือ
-คำนวณหาค่าเฉลี่ยจำนวนของ lobe ของ neutrophil จำนวน 100 ตัว
มีค่ามากกว่า 3.43 ขึ้นไป (ค่าปกติ 3.17ฑ0.25)
หรือ
-คำนวณจากอัตราส่วนของ neutrophil จำนวน 100 ตัว ที่มี 5 lobe ต่อ 4 lobe
และได้ค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0.17 ขึ้นไป (ค่าปกติน้อยกว่า 0.17)
นอกจากนี้จะตรวจพบว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวมีจำนวนปกติหรือลดลงเล็กน้อย
ส่วนเกล็ดเลือดมักจะต่ำลง
การตรวจไขกระดูกจะพบลักษณะ
hypercellularity โดยเซลล์ส่วนใหญ่จะมี
ลักษณะ megaloblast คือ ทุกระยะของเซลล์จะเป็นตัวอ่อนที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติ
และแสดงลักษณะ nueclear-cytoplasmic asynchronism เช่น promegaloblast,
basophilic megaloblast, orthochromatic megaloblast, giant
band,
giant metamyelocyte
2. ในกลุ่มที่ขาด
folic acid จะพบ folic acid ใน serum น้อยกว่า 3 ng/ml
(ค่าปกติ 6.5-19.6 ng/ml) และในเม็ดเลือดแดงน้อยกว่า
100 ng/ml (ค่าปกติ
165-600 ng/ml packed cells) ส่วนในกลุ่มที่ขาดไวตามิน B12
จะพบไวตามินใน
serum น้อยกว่า 100 mg/dl
(ค่าปกติ 200 mg/dl)
3. Schiling's
test เป็นการตรวจดูการดูดซึมของไวตามิน B12
เพื่อหาว่า
การขาดไวตามิน B12 เกิดจากการขาด
intrinsic factor หรือไม่ โดยการให้รับประทาน
ไวตามิน B12 ที่ติดฉลากด้วย
57Co
0.5-2 mg จากนั้น 2 ชม. ต่อมาให้ฉีดไวตามิน
B12 ที่ไม่ได้ติดฉลากจำนวน
1000 mg เข้าเส้นเลือดดำแล้วตรวจดูปริมาณของไวตามิน
B12 ที่ติดฉลากด้วย
57Co
ในปัสสาวะที่เก็บ 24 ชม. (24 hr. Urine labeled B12)
การแปลผล |
ในคนปกติจะได้ค่าปกติ คือ ปริมาณของไวตามิน
B12
ที่ติดฉลากด้วย 57Co จะมากกว่าร้อยละ 8 ของปริมาณ
ทั้งหมดที่รับประทานเข้าไป (24 hr. Urine labeled
B12 >8) |
|
|
|
ส่วนในผู้ป่วย pernicious anemia ซึ่งเกิดจากการขาด
intrinsic factor จะพบต่ำลง คือ ปริมาณของไวตามิน
B12 ที่ติดฉลากด้วย 57Co
จะน้อยกว่าร้อยละ 2
ของปริมาณทั้งหมดที่รับประทานเข้าไป (24 hr. Urine
labeled B12 <2) |
ควรจะทำการทดสอบครั้งที่สองเพื่อยืนยันก่อนสรุปโดยที่ในครั้งที่สองให้
IF
ร่วมด้วย ถ้าพบว่าค่า 24 hr. Urine
labeled B12 สูงขึ้นเป็นปกติ
แสดงว่าผู้ป่วยเป็น
pernicious anemia แต่ถ้าค่ายังคงต่ำอยู่
แสดงว่าผู้ป่วยน่าจะเกิดปัญหา
มาจากสาเหตุที่ลำไส้ไม่ดูดซึมสารอาหาร (malabsorption)
4. การตรวจทางด้านเคมีคลินิก
จะพบลักษณะการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับ
ที่พบในผู้ป่วยภาวะโลหิตจางจากการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดง
เช่น มีการลดลงของ haptoglobin ปริมาณ LDH สูงขึ้น ระดับ indirect bilirubin
สูงขึ้น เป็นต้น
การรักษา
1. ถ้าขาด folic
acid ควรให้ folic acid 1 มก/วัน จนระดับฮีโมโกลบินเป็นปกติ
แล้วให้ต่อไปอีก 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้มีเกิดการสะสมในร่างกายให้เพียงพอ
ถ้าเกิดจาก
การขาดไวตามิน B12 ก็ให้ไวตามิน
B12 1000 mg
ฉีดเข้ากล้ามทุกสัปดาห์ จนระดับ
ฮีโมโกลบินเป็นปกติ แล้วให้ต่อไปอีก 5 สัปดาห์
เพื่อให้มีสะสมเพียงพอ ส่วนผู้ป่วย
PA จะต้องให้ยาตลอดชีวิต ให้ไวตามิน B12
1000
mg
ฉีดเข้ากล้ามเดือนละครั้ง
หรือให้รับประทาน IF ร่วมกับไวตามิน B12
ก็ได้
หลังการรักษา
2-4 วัน ไขกระดูกจะกลับมาสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ปกติ
ส่วนเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติจะกลับเป็นปกติใน 2 สัปดาห์
โดยทั่วไปค่าต่างๆ
ทางเลือดจะกลับเป็นปกติใน 6 สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยที่ขาดไวตามิน
B12 และมีอาการทางระบบประสาท
อาการต่างๆ จะกลับเป็นปกติได้อาจต้องใช้เวลา
หลายเดือนจนเป็นปี ในผู้ป่วยที่ขาดไวตามิน B12
การให้ folic acid แต่อย่างเดียว
จะทำให้อาการทางระบบประสาทเลวลงได้ |